อายุรับประกันภัย :  6 – 80 ปี
  ระยะเวลาคุ้มครอง : ถึงอายุ 99 ปี (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของสัญญาหลัก)
  ระยะเวลาชำระเบี้ย : ชำระเบี้ยได้ถึงอายุ 98 ปี
  เงื่อนไข : ต้องมีสัญญาหลักก่อน (เลือกสัญญาหลัก)

วันนี้อยากจะมาแชร์ประสบการณ์ การใช้ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกของตัวเอง ที่ได้สมัครไว้ ตั้งแต่ 4 ปีที่แล้วมาจนถึงตอนนี้ บางปีใช้คุ้มค่ามากเงินเบี้ยประกันที่จ่ายไป บางปีใช้แค่เพียง 1-2 ครั้ง แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะไม่ได้อยากป่วยและไปหาหมอ การมีประกันสุขภาพไว้ก็อุ่นใจกว่าเพราะ เมื่อเกิดฉุกเฉินหรือไม่สบายขึ้นมาก็สบายใจที่ไม่ต้องมาเสียเงินเองทั้งหมด

หลายคนคงจะไม่ชอบถ้ามีประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) แล้วต้องมานั่งสำรองจ่ายทุกครั้งเมื่อไปหาหมอ เพราะใครๆ ก็อยากให้ทางโรงพยาบาลเรียกเก็บกับทางบริษัทเลยหรือเที่เรียกว่า แฟกซ์เคลม เลย แม้ว่าจะไม่ใช้เงินเยอะเท่าไหร่ ถ้าจะให้สำรองจ่ายก็ไม่ได้ติดปัญหาอะไร แต่ที่ปวดหัวคือต้องมาเตรียมเอกสารส่งให้บริษัท รอตรวจสอบ รอการเบิกจ่ายเอีก อาจจะใช้เวลา 1-2 อาทิตย์ บางครั้งเราก็อาจจะงานยุ่งจนไม่มีเวลานำเอกสารไปส่ง การเลือกประกันสุขภาพผู้ป้วยนอก (OPD) แบบไม่ต้องสำรองจ่าย (แฟกซ์เคลม) น่าจะเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องการ

ข้อดีของแผนสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) จากเมืองไทยประกันชีวิตคืออะไร ??

ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD) และประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) ของเมืองไทยประกันชีวิตจะแยกกัน ไม่ได้มีเงื่อนไขว่าถ้าเลือกผู้ป่วยใน (IPD) ค่าห้องแผน 2,000 จะได้ ผู้ป่วยนอก (OPD) แค่ 500 บาทต่อครั้ง หรือถ้าอยากได้ ผู้ป่วยนอก(OPD) ที่สูงขึ้นจะต้องเลือกผู้ป่วยใน (IPD) สูงขึ้นทำให้ลูกค้ามีทางเลือกที่จำกัด แต่การแยกทั้งสองออกจากกันมีข้อดี คือทำให้ลูกค้าสามารถเลือกความคุ้มครองทั้งสองแบบตามความต้องการได้ หรือเลือกเฉพาะตัวประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) อย่างเดียวก็ได้ก็ได้

มีประกันอยู่แล้วไม่อยากซื้อใหม่ทำยังไงดี

สำหรับลูกค้าที่มีประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD) แบบประกันกลุ่มของบริษัท หรือซื้อเพิ่มเองของที่อื่นแล้ว ไม่อยากได้ค่ารักษา ก็สามารถเลือกซื้อเฉพาะค่ารักษาพพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) อย่างดียวก็ได้ เพราะแผนนี้ของกับเมืองไทยประกันชีวิตไม่ได้มีข้อบังคับว่าต้องซื้อกับประกับสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD) ถึงจะซื้อประกันสุขภาพผู้ปวยนอก (OPD) ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้นและได้ประโยชน์มากขึ้น

คำแนะนำ

สุดท้ายนี้หลายคนอาจจะมองว่าการมีประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยใน (IPD) ไม่คุ้มเพราะไม่ได้ใช้ ซื้อแบบผู้ป่วยนอก (OPD) คุ้มกว่าเพราะป่วยเล็กๆ น้อยๆ บ่อย แต่ผมอยากให้มองอีกมุมนึงว่าประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ความสำคัญเพราะไปหาหมอก็ไม่ต้องสำรองจ่าย ป่วยเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ใช้ แต่ประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยใน (IPD) ก็สำคัญเหมือนกันเพราะถ้าป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล เช่นผ่าตัด เป็นไขหวัด หรือป่วยแบบหนักๆ ก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ถ้าเราไม่ได้มีประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยใน (IPD) อาจจะต้องจ่ายเอง

อย่ามองว่าสุขภาพแข็งแรงไม่เคยนอนโรงพยาบาล ไม่จำเป็นต้องมีเพราะถ้าเจ็บป่วยทีค่ารักษาอาจจะหลายหมื่นถึงหลายแสนบาทได้ มีประกันสุขภาพไว้แล้วไม่ได้ใช้ ดีกว่าวันที่จำเป็นต้องใช้แล้วไม่มีครับ

ความคุ้มครอง

ตารางเบี้ยประกัน OPD (ไม่รวมสัญญาหลัก)

  • เบี้ยประกันชีวิตสัญญาหลัก
  • ตัวอย่างคุณเอ็ม เพศชายอายุ 35 ปีต้องการซื้อความคุ้มครอง ผู้ป่วยนอก OPD แผน 3,000 บาท
    • สัญญาหลักแผนสมาร์ทโพรเทคชั่น ทุนประกัน 200,000 บาท (เริ่มต้น) เบี้ย 4,860 บาท
    • สัญญาเพิ่มเติมผู้ป่วยนอก OPD เบี้ย 7,803 บาท
      รวมเป็น 12,663 บาท

เอกสารที่ใช้สมัคร/ช่องทางการชำระเงิน

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • โอนเงินเข้าบัญชีบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
  • จ่ายผ่านบัตรเครดิต
  • ซื้อประกันออนไลน์ได้ง่ายๆ ด้วยวิธี Digital Face to Face

ช่องทางการสมัคร/ติดต่อตัวแทน

   

 

เงื่อนไขความคุ้มครอง

– ไม่คุ้มครองการเจ็บป่วยใดๆที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่ วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมนี้หรือตามการต่ออายุครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นหลังสุด

– คุ้มครองอาการเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ หลังจากต่ออายุ (Reinstatement) หรือทำสัญญาเพิ่มเติมนี้ไปแล้ว 120 วัน

  • เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด
  • ริดสีดวงทวาร
  • ไส้เลื่อนทุกชนิด
  • ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก
  • การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์
  • นิ่วทุกชนิด
  • เส้นเลือดขอดที่ขา
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

–  คุ้มครองอาการเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ หลังจากต่ออายุ (Reinstatement) หรือทำสัญญาเพิ่มเติมนี้ไปแล้ว 180 วัน

  • โรคต่อมไทรอยด์
  • โรคลมบ้าหมู
  • โรคเบาหวาน
  • โรคภูมิแพ้
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจ
  • โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร