อายุรับประกันภัย : 30 วัน – 74 ปี
ระยะเวลาคุ้มครอง : ถึงอายุ 81 ปี
ระยะเวลาชำระเบี้ย : ชำระเบี้ยได้ถึงอายุ 80 ปี
เงื่อนไข : ต้องมีสัญญาหลักก่อน (เลือกสัญญาหลัก)
New Health Standard มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ คืออะไร?
New Health Standard มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ เป็นการปรับปรุงเนื้อหาและเงื่อนไขของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพหรือค่ารักษาพยาบาลที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จัดทำขึ้นใหม่หรือปรับปรุงใหม่ในเรื่องของหมวดตารางความคุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองอื่นๆ ในกรมธรรม์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม (คลิ๊ก)
แผนนี้คุ้มครองอะไรบ้าง
- โรคระบาด โรคร้ายแรงทุกระยะ โรคทั่วไป โรคโควิด 19 การแพ้วัคซีน โควิด 19 เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
- เสียชีวิตจากการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ และโรคร้ายแรง
แผนนี้เหมาะกับ
- ลูกค้าที่มีงบจ่ายเบี้ยไม่สูง
- ลูกค้าที่เข้าโรงพยาบาลต่างจังหวัดที่ค่ารักษาไม่แพง
- ลูกค้าที่สวัสดิการประกันกลุ่มอยู่แล้วต้องการเป็นตัวเสริม
ความคุ้มครองประกันสุขภาพแยกค่าใช้จ่าย (H&S) ตามมาตรฐานประกันสุขภาพใหม่
ข้อจำกัด
- ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาลน้อยเกินไป
- ค่าแพทย์ รักษาพยาบาล ค่าผ่าตัดน้อยเกินไปอาจไม่พอต่อการรักษาแต่ละครั้ง
- วงเงินตรวจก่อนเข้ารักษาและติดตามอาการหลังออกจากโรงพยาบาลน้อยเกินไป
- อาจจะต้องจ่ายส่วนเกินในบางหมวด
แก้ไขข้อจำกัด
- อัพเกรดเป็นแผน ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ดีเฮลท์ พลัส (D Health Plus)
- อัพเกรดเป็นแผน ประกันสุขภาพเหมาจ่าย อีลิท เฮลท์ พลัส (Elite Health Plus)
- Top Up ด้วยสัญญาเพิ่มเติม เอ็กซ์ตร้าแคร์ พลัส ที่ได้ค่าห้องเพิ่มสูงสุด 4,000 บาทต่อคืนโดยไม่มีเงื่อนไข และได้ค่ารักษาพยาบาลหมวดที่ 2.1-2.3, หมวดที่ 3, 4, 5 เพิ่มให้อีก 500,000 บาทต่อครั้งเมื่อมีค่ารักษาพยาบาลในครั้งนั้นๆรวมเกิน 20,000 บาท
-
- ตัวอย่างลูกค้าเลือก H&S แผน 2 ค่าห้อง 2,000 บาท + เอ็กซ์ตร้าแคร์ พลัส แผน 2 ค่าห้อง 4,000 บาท จะได้ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาลรวม 6,000 บาทต่อคืน และได้ได้ค่ารักษาพยาบาลหมวดที่ 2.1-2.3, หมวดที่ 3, 4, 5 เพิ่มให้อีก 200,000 บาท
เบี้ยประกันสุขภาพแยกค่าใช้จ่าย (H&S) (เฉพาะส่วนของสัญญาสุขภาพไม่รวมสัญญาหลัก)
แผนแนะนำอื่นๆ
- ดูรีวิวลูกค้า
- ประกันสุขภาพเอ็กซ์คร้าแคร์ พลัส (Top Up ค่าห้อง, ค่ารักษาพยาบาลฯ)
- ประกันสุขภาพเหมาจ่าย อีลิท พลัส (Elite Health Plus)
- ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ดีเฮลท์ พลัส (D Health Plus)
- ประกันสุขภาพเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า
เอกสารที่ใช้สมัคร/ช่องทางการชำระเงิน
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ขอทำประกัน
- จ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือโอนเงินเข้าบัญชีบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
- ซื้อประกันออนไลน์กับตัวแทนด้วย Digital Face to Face อยู่ที่ไหนก็สมัครได้
ช่องทางการสมัคร/ติดต่อตัวแทน
คำถามที่พบบ่อย
1. อายุรับประกัน และระยะเวลาคุ้มครองถึงอายุเท่าไหร่
– สามารถทำรับประกันได้ตั้งแต่อายุ 30 วัน-74 ปี และจะได้รับความคุ้มครองถึงอายุ 81 ปี
2. สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ประกันชีวิต (สัญญาหลัก) หรือไม่
– สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพดังกล่าวต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ประกันชีวิต
3. ซื้อแล้วคุ้มครองเลยไหม
– หากเป็นการเจ็บป่วยจะเริ่มคุ้มครองหลังจากวันที่สัญญาเริ่มมีผลความคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ไปแล้ว 30 วัน
– อาการเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ จะเริ่มคุ้มครองหลังจากสัญญาเริ่มมีผลความคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ผ่านไปแล้ว 120 วันหรือหลังจากต่ออายุ (Reinstatement) เมื่อไม่ได้จ่ายเบี้ยภายในกำหนด
- เนื้องอก
- ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด
- ริดสีดวงทวาร
- ไส้เลื่อนทุกชนิด
- ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก
- การตัดทอนซิล หรืออดีนอยด์
- นิ่วทุกชนิด
- เส้นเลือดขอดที่ขา
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
4. เบี้ยประกันภัยของสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพจะปรับเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยหรือไม่
– เบี้ยประกันภัยจะปรับตามช่วงอายุของผู้เอาประกันภัย
5.สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ คุ้มครองค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการในโรงพยาบาลต่อวัน สำหรับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู.) ด้วยหรือไม่
– คุ้มครอง และสูงสุดไม่เกิน 15 วัน เมื่อรวมกับผลประโยชน์ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการในโรงพยาบาลต่อวันแล้วไม่เกิน 120 วัน โดยจะจ่ายให้เป็นจำนวนสองเท่าของผลประโยชน์ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการในโรงพยาบาลต่อวัน
6. ผู้เอาประกันภัยจะต้องตรวจสุขภาพก่อนซื้อสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ หรือไม่
– การตรวจสุขภาพเป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ (ปกติไม่ตรวจยกแว้นมีโรคประจำตัวหรือโรคที่เป็นมาก่อน)
7. สัญญาเพิ่มเติมดังกล่าว สามารถแนบ บันทึกสลักหลัง OPD ได้หรือไม่
– ไม่สามารถแนบบันทึกสลักหลัง OPD ได้ค่ะ
8. สัญญาเพิ่มเติมดังกล่าว สามารถลดหย่อนภาษี ได้หรือไม่
– สามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 315