บทที่ 1 เป้าหมายชีวิต = เป้าหมายการเงิน

การจัดการทางการเงินเริ่มจากมองหาเป้าหมายของชีวิตที่เราต้องการ เนื่องจากเป้าหมายในชีวิตที่เราต้องการนั้นสัมพันธ์กับการเงินเพราะในแต่ละช่วงชีวิตของเราล้วนต้องใช้เงิน เป้าหมายชีวิตของแต่ละคนและในแต่ละช่วงก็แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะสั้น 0-2 ปี เช่นท่องเที่ยว ระยะกลาง 2-5 ปี เช่น สร้างครอบครัว ดาวน์รถ/คอนโค/บ้าน ระยะยาว 5 ปีขึ้นไปเช่น เกษียณ

การบริหารจัดการเงิน
– แบบ 1 รายได้ = รายจ่าย
– แบบ 2 รายได้ = ค่าใช้จ่าย + ออม
– แบบ 3 รายได้ = ค่าใช้จ่าย + ออม + ลงทุน
– แบบ 4 รายได้ < ค่าใช้จ่าย

อย่างน้อยวันนี้ทุกคนวัย 20 ควรจะอยู่ในรูปแบบที่ 2 หรือ 3 คือการเริ่มออมเงินและลงทุนโดยการออมที่ดีควรจะออมเป็น % ของสัดส่วนรายได้ มากกว่าการออมแบบคงที่ มาดูตัวอย่างกันว่า “ออมก่อน รวยกว่า”เป็นยังไง?

– ตัวอย่าง A เริ่มออมตอนอายุ 25 ปี ออมเดือนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 30 ปี และเกษียณตอนอายุ 55 ปี คาดการณ์ผลตอบแทน 6% จากเงินออม 1,800,000 ล้านบาทจะเป็นเงิน 4,743,491 บาท

– ตัวอย่าง B เริ่มออมตอนอายุ 35 ปี ออมเดือนละ 10,000 บาท ระยะเวลา 20 ปี และเกษียณตอนอายุ 55 ปี คาดการณ์ผลตอบแทน 6% จากเงินออม 2,400,000 ล้านบาทจะเป็นเงิน 4,414,271 บาท

– ตัวอย่าง C เริ่มออมตอนอายุ 45 ปี ออมเดือนละ 20,000 บาท ระยะเวลา 10 ปี และเกษียณตอนอายุ 55 ปี คาดการณ์ผลตอบแทน 6% จากเงินออม 2,400,000 ล้านบาทจะเป็นเงิน 3,163,391 บาท

จากตัวอย่างจะเห็ยฃนว่า การเริ่มต้นออมเร็วหรืออายุน้อยนั้น ใช้เงินน้อยกว่าและมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่มากกว่าด้วย

บทที่ 2 ขั้นตอนการวางแผนการเงิน

เมื่อเรามีเป้าหมายในชีวิตแล้วและแต่ละเป้าหมายก็ขับเคลื่อนด้วยเงิน ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนการเงินด้วย

1. สำรวจตนเอง
1. เช็ครายได้ ทั้งรายได้ทางตรง/ รายได้ทางอ้อม มีช่องทางไหรบ้าง
2. เช็ครายจ่ายที่ต้องจ่ายเช่น ภาษี ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ สินเชื่อ
3. ทรัพย์สิน เช่น เงินฝาก กองทุน เงินสด ประกันสะสมทรัพย์ ประกันบำนาญ หุ้น ตราสารหนี้
4. หนี้สิน เช่น บ้าน รถ มือถือ คอนโด
2. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน แบ่งเป็นระยะเหมือนในหัวข้อ เป้าหมายชีวิต = เป้าหมายการเงิน
3. เริ่มต้นวางแผนการเงินด้วย “เคล็ดลับ 4 รู้ สู่ความมั่งคั่ง”
1. รู้หา – หาแหล่งรายได้มากกว่า 1 ช่องทาง
2. รู้เก็บ – ออมก่อนใช้ สร้างวินัยการเงิน
3. รู้ใช้ – ใช่จ่ายสิ่งจำเป็น Need มาก่อน Want
4. รู้ขยายผล – เข้าใจการลงทุนต่อยอดความมั่งคั่ง

บทที่ 3 รู้ไว้สักนิดก่อนคิดเป็นหนี้

ก่อนจะสร้างนี้ต้องพิจารณาให้ดีโดยหลักการของหนี้แบ่งเป็น 2 แบบคือหนี้ดีและหนี้ไม่ดี หนี้ดีคือหนี้ที่ช่วยให้เราสร้างรายได้หรือสร้างความมั่งคั่ง เช่นหนี้บ้าน เพื่อการอยู่อาศัยหรือปล่อยเช่า หนี้เพื่อการศึกษาที่ทำให้เราต่อยอดหรือสร้างรายได้เพิ่มในอนาคต หนี้ไม่ดีเช่น หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ไม่สามารถขายต่อหรือขายต่อแล้วมูลค่าลดลงเกิดรายจ่ายในอนาคต

1. การคำนวณสินเชื่อต่างๆ เช่น
1. สินเชื่อที่มีหลักประกันโดยกรรมสิทธิ์เป็นของธนาคารที่เราผ่อนก่อน เช่น สินเชื่อบ้าน โดยสินเชื่อบ้านเป็นแบบลดต้นลดดอก เมื่อเราผ่อนในแต่ละเดือนเงินต้นก็ลดลง ดอกเบี้ยก็ลดลงด้วย, รถยนต์ เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยคงที่ “เงินต้นลด ดอกเบี้ยไม่ลด” โดยถ้าจะสร้างหนี้ในหมวดนี้ไม่ควรเกิน 30% ของรายได้
2. สินเชื่อไม่มีหลักประกัน เช่น บัตรเครดิต หากชำระบ้างส่วนก็จะถูกคิดดอกเบี้ย, บัตรกดเงินสด เมื่อกดเงินออกมาจะถูกคิดดอกเบี้ยทันมีและยังมีค่าธรรมการถอนประมาณ 3% (+VAT)
2. ระดับหนี้ที่เหมาะสม
1. หนี้บัตรเครดิต ไม่เกิน 10-20% ของรายได้
2. หนี้บ้าน ไม่ควรเกิน 30% ของรายได้
3. หนี้รถยนต์ ไม่ควรเกิน 20% ของรายได้ สรุปหนี้สินรวมไม่ควรเกิน 35-40% ของรายได้

บทที่ 4 อิสรภาพทางการเงิน เริ่มง่าย ๆ ด้วยการลงทุนและวางแผนภาษี

2 สิ่งที่จะช่วยให้เราวางแผนการเงินให้ถึงเป้าหมายหรือมีอิสรภาพทางการเงินนั่นก็คือการลงทุนและการลดหย่อนภาษี โดยการลงทุนนั้นมีให้เลือกหลากหลายแบบ หลากหลายสินทรัพย์ แต่เราจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหนก็ควรมีความรู้ความเข้าใจในสินทรัพย์หรือการลงทุนหมวดนั้นๆ ด้วย เพื่อที่จะไม่ต้องกังวลเรื่องผลตอบแทนที่อาจจะไม่เป็นไปตามที่ต้องการหรือขาดทุนยกตัวอย่าง 16 ข้อต่อไปนี้
– เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจํา
– เงินฝากต่างประเทศ
– ทองคําแท่ง
– เหรียญทองคํา
– อาคาร ห้องชุด โรงงาน โรงแรม
– กองทุนตราสารเงิน Money Market
– ตั๋วแลกเงิน เครื่องประดับ
– เพชร งานศิลป์ กระเป๋า
– ที่ดินเปล่า ที่ดินเพื่อการลงทุน
– พันธบัตรรัฐบาล
– หุ้นกู้เอกชน Non-Rate / High Yield
– หุ้นสามัญ
– หุ้นนอกตลาด
– หุ้นกู้เอกชน
– กองทุนตราสารหนี้ ใน / ต่างประเทศ
– กองทุนหุ้น ใน / ต่างประเทศ
– Private Equity Crypto Currency

วางแผนการลงทุนด้วยการกระจายความเสี่ยงในกองทุนรวมด้วยเทคนิต DCA เพราะมีข้อดีหลายๆ อย่างเช่น มีมืออาชีพดูแลให้, กระจายการลงทุนตามสัดส่วนหรือนโยบายของกองทุน, ลงทุนได้ทุกสินทรัพย์ทั่วโลก, นำไปลดหย่อนภาษีได้ (SSF/RMF) และที่สำคัญยังสามารถแบ่งระดับตามความเสียงด้วย เช่น
1 กองทุนรวทตลาดเงินในประเทศ
2 กองทุนรวมตลาดเงิน
3 กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล
4 กองทุนรวมตราสารหนี้
5 กองทุนรวมผสม
6 กองทุนรวมตราสารทุน
7 กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม
8 กองทุนรวมหมวดสินทรัพย์ทางเลือก
8+ กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญ

การวางแผนภาษีด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเช่น SSF/RMF หรือประกันชีวิต นอกจากจะเป็นการออมเงินและลงทุนแล้วยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย ผมเคยมีเขียนเกี่ยวกับเรื่องภาษีไว้แล้วขอไม่อธิบายเพิ่ม สามารถอ่านได้ที่ลิงค์นี้ครับ

www.mtl-insure.com/article/วางแผนภาษีดีมีเงินคืน

อยากดูเป็นคลิปวิดีโอก็ได้นะครับ เรียบจบสอบผ่านได้ใบประกาศด้วย
https://elearning.set.or.th/SETGroup/courses/909/info