“ระบบแฟรนไชส์ถ้าเราทำถูกต้องมันจะยั่งยืน เราจะเห็นธุรกิจแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ทำไมข้ามโลกทั้งใบได้ ปกติแล้วมันโตเร็วกว่า 3 เท่า ถ้าเราเริ่มพัฒนาธุรกิจเดียวๆ กัน”

แฟรนไชส์ โมเดลช่วยธุรกิจขยายในต้นทุนต่ำกว่า

แฟรนไชส์ต้องอาศัยจำนวนเพราะจำนวนทำให้เกิด Marketing Power การออกแบบ การเชื่อมโยงของธุรกิจเข้าหากันโดยใช้สาขาและกระจายสาขาออกไปเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดความได้เปรียบแล้วทำให้ต้นทุนของธุรกิจต่ำกว่าคู่แข่งได้ทันที กำไรจะหนากว่า

New Normal ส่งผลต่อระบบแฟรนไชส์ 2 ด้าน เราเรียกว่า Business Dsign หรือการออกแบบธุรกิจที่ต้องตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค อีกสิ่งหนึ่งที่เปลียนคือเรื่องของ Franchise Model ต้องพลิกให้มองเห็นความชัดเจนในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

SME แบบไหนเหมาะขยายเป็นแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องผ่านขั้นตอนที่เรียกว่า Profitability คือตัวของธุรกิจเองต้องมีกำไรก่อน SME เล็กๆ ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างกำไรในระดับสาขาให้ผ่านก่อนแล้วมาดูในแง่ของบริษัทแม่ที่อาจจะมีหลายสาขา ว่าอยู่รอดได้จริงไหม ไม่ใช่ว่าอยู่ยังไม่ได้ ร้านที่มีอยู่ก็ยังขาดทุนแต่ข้ามขั้นไปขายแฟรนไชส์ พอมาแก้ทีหลังทำให้เสีเวลาและเสียเงินเยอะกว่าที่ออกแบบดีๆ ตั้งแต่แรก การเปลี่ยนแปลงจะกระทบต่อภาพรวมธุรกิจอย่างมาก

ถ้าระบบหลังบ้านไม่ดีก็ยากที่จะสำเร็จ

แฟรนไชส์เหมือนระบบสายพานแบ่งงานกันระหว่าง แฟรนไชส์ซี กับแฟรนไชส์ซอ ที่ต้องเชื่อมกันโดยจะขาดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ได้ แต่ที่ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะว่าการทำธุรกิจแบบตัวใครตัวมัน เช่น แฟรนไชส์ซอหรือเจ้าของธุรกิจทำลูกชิ้นออกมาแล้วก็ขายแค่ลูกชิ้น ให้แฟรนไชส์ซีเอาลูกชิ้นไปทอดขายเอง ไม่ได้มีความเชื่อมโยง และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ต่างคนต่างก็ไม่พึ่งพากัน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกันไม่เกิดขึ้น ไม่มีการเชื่อมโยงกันของ Economy of Scale

  • แฟรนไชส์ซี (Franchisee) คือสาขาหรือผู้รับสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจ ตามระบบที่เจ้าของสิทธิ์ได้จัดเตรียมไว
  • แฟรนไชส์ซอ (Franchisor) คือเจ้าของธุรกิจ/เจ้าของลิขสิทธิ์ ที่คิดค้นหรือพัฒนาบริการขึ้นมาและต้องการขยายบริการออกไป

เทคนิคคสร้างแฟรนไชส์ให้ปัง

การทำแฟรนไชส์ให้แข็งแรงหรือให้เติบโตได้มีหลักการ 3 เรื่อง ได้แก่

  1. การพัฒนา Know How ของตัวเอง เช่น คุณมีเค้ก คุณมีข้าวผัดที่ดีกว่าคนอื่น เทคนิคการทำตรงนี้ ทำยังไงให้มันถ่ายทอดหรือมีเครื่องมือที่จำเกิดขึ้นได้
  2. การมี Team Support เพราะคนที่จะซื้อแฟรนไชส์จะมองไปถึงอนาคตว่าแฟรนไชส์ซอจะทำอะไรให้กับเขาบ้าง
  3. แฟรนไชส์ซอต้องเป็นนักการตลาดที่จะทำให้แบรนด์ของตัวเองเป็นที่รู้จักและการยอมรับในตลาด

เรื่องน่ารู้ก่อน Go Franchise

การทำแฟรนไชส์เป็นสิ่งหนึ่งที่ต่อยอดธุรกิจไม่ใช่เป็นการตั้งต้นธุรกิจ ถ้าหากกำลังคิดว่าอยากทำธุรกิจอะไรสักอย่างและอยากจะทำแฟรนไชส์เป็นหลักการที่ผิด แต่ถ้าธุรกิจที่ทำอยู่กำลังเติบโต มีสาขา 10 สาขา ยอดขายดี กำไรขั้นต้นดี เงินทุนที่ลงไปได้คืนทุนไม่เกิน 3 ปี อยากอยู่ในภาวะแบบนี้ Go Franchise แล้วจะชนะในตลาด

ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้ จำกัด (มหาชน)

บทสัมภาษณ์จาก K SME

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713