ถ้าพูดถึง “เงินเฟ้อ เงินฝืด” ทุกคนน่าจะรู้จักสองคำนี้จากวิชาสัมคมศึกษาในสมัยมัธยมใช่ไหมคับ? และมันยังคงวนเวียนอยู่ในชีวิตของพวกเรามาจนถึงทุกวันนี้ เพราะทั้ง เงินเฟ้อ เงินฝืด ก็ต่างเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเราทั้งนั้น หลายคนอาจจำความหมายของทั้งสองคำนี้สลับกันหรืออาจหลงลืมไปบ้าง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็เเล้วเเต่ อย่ากังวลไปครับ! เพราะวันนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะมารื้อฟื้นและทบทวนมมันอีกครั้ง

ทุกครั้งเวลาที่ผมไปทานก๋วยเตี๋ยวกับแม่ แม่มักบ่นให้ฟังเสมอว่าเมื่อก่อนเงินแค่ 20-30 บาทก็ซื้อได้เเล้ว ตัดภาพมาที่ปัจจุบัน ราคาก๋วยเตี๋ยวสูงขึ้นถึงชามละ 60 บาท เห็นได้ชัดว่ามูลค่าของเงิน 20 บาทนั้นลดลง นี่แหละคือผลของเงินเฟ้อ ว่าเเต่เงินเฟ้อคืออะไร แล้วมันต่างจากเงินฝืดอย่างไร และทำไมจึงทำให้ราคาสินค้าเเละบริการของเราแพงขึ้น วันนี้เราจะมาพูดถึงมันกันครับ

เงินเฟ้อ (Inflation)

คือภาวะที่ทำให้ราคาสินค้าเเละบริการแพงขึ้น โดยเงินตราหนึ่งหน่วยสามารถซื้อสินค้า บริการได้น้อยลง และการที่ระดับราคาสินค้าหรือบริการสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ

สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อ

  1. เงินเฟ้อเกิดจากอุปสงค์ที่มากกว่าอุปทานหรือความต้องการสินค้าและบริการมีมากกว่าจำนวนสินค้าเเละบริการนั้นๆ กล่าวคือเมื่อมีผู้บริโภคมีจำนวนมาก คนที่เสนอราคาสูงสุดมักได้สินค้านั้นไป จึงทำให้ราคาสินค้าเเละบริการสูงขึ้นไปเรื่อยๆฃ
  2. การที่ผู้ขายมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทำให้ต้องขึ้นราคาสินค้าเเละบริการให้สูงตามไปด้วยเพื่อรักษากำไรของตนไว้นั่นเอง

ส่งผลอะไร

เนื่องจากต้นทุนการผลิต (เช่น วัตถุดิบ ค่าเเรง ค่าน้ำมัน และค่าขนส่ง) สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ขายต้องขึ้นราคาสินค้าเเละบริการ กล่าวคือแม้สินค้าและบริการจะมีราคาสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเนื่องจากเงินมีค่าน้อยลงทำให้คนซื้อสินค้าและบริการน้อยลง เช่นกัน ส่งผลให้ผู้ขายเลิกผลิตสินค้าเเละเลิกจ้างพนักงานในที่สุด และเกิดภาวะที่รายได้ไม่สมดุลกับรายจ่ายหรือค่าครองชีพสูง คนจึงหันไปถือครองทรัพย์สินประเภทอื่นแทนนั่นเอง โดยธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ผ่านการกำหนดโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม

ข้อดีเเละข้อสีย

การเกิดเงินเฟ้อมีทั้งข้อดีเเละข้อเสีย เงินเฟ้อที่ดีคือเงินเฟ้อแบบอ่อนกล่าวคือประมาณ 3% เนื่องจากเมื่อผู้ขายเห็นว่าราคาสินค้ามีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น ผู้ขายก็เพิ่มการผลิตและเพิ่มการลงทุน เกิดการจ้างงานมากขึ้น ทำให้คนมีงานทำเเละมีรายได้

ส่วนผู้บริโภคอย่างเราเมื่อเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็เกิดการใช้จ่ายตุนของมากขึ้น เศรษฐกิจโดยรวมจึงดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ดีหากเงินเฟ้อมีอัตราสูงมากจะส่งผลให้เงินไม่มีค่าและขาดความน่าเชื่อถือในที่สุด หรือเงินไม่ต่างอะไรจากเศษกระดาษนั่นเอง

เงินฝืด (Deflation)

คือภาวะเศรษฐกิจที่ความต้องการสินค้าเเละบริการลดลง เนื่องจากความไม่มั่นคงในสภาวะทางเศรษฐกิจ เงินในมือของผู้บริโภคอย่างเราจึงมีค่าน้อยลง คนไม่มีกำลังซื้อหรือมีน้อยลงจนไม่กล้าใช้เงิน และเกิดการลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือเรียกง่ายๆว่าซื้อขายไม่คล่องนั่นเอง

ส่วนในมุมของผู้ขาย ผู้ขายต้องลดทั้งราคาสินค้าเพื่อให้ผู้ซื้อมีกำลังพอจับจ่ายใช้สอย แม้ตนจะได้กำไรน้อยลงก็ตาม และผู้ขายอาจลดปริมาณการผลิตส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างงาน คนว่างงานมากขึ้น และเมื่อคนไม่มีงานทำ ก็ไม่มีรายได้ นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในที่สุดนั่นเอง

สรุปคือเงินเฟ้อในอัตราอ่อนๆคือสิ่งที่ดีที่สุด เพราะจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเราได้ ส่วนเงินฝืดเป็นสิ่งที่ไม่ดี และได้แต่ภาวนาว่าอย่าให้เกิดภาวะนี้ขึ้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกาบริหารจัดการของภาครัฐด้วย ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713