มีเพื่อนๆ หลายคนได้เข้ามาอ่านบทความ “How to ลงทุนใน “Tesla” ผ่านกองทุนรวม K-CHANGE-A(A)” และบทความ “Dollar Cost Averaging (DCA) – การลงทุนแบบเฉลี่ยทุกๆเดือน” แล้วสนใจการลงทุนแบบนี้แล้วเกิดคำถามมากมายเช่น ตอนนี้มูลค่าหน่วยลงทุนราคาขึ้นแล้วเริ่มลงทุนตอนนี้จะทันไหม หรือ อยากลงทุนแต่ยังไม่กล้าจะทำยังไงดี

ผมเลยเขียนบทความนี้ขึ้น เพื่อมาเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ถ้าในอดีตย้อนหลังไป 1-2 ปี หรือมากกว่านั้น เราเริ่มทุนลงในกองทุนรวมอะไรสักกองอย่างสม่ำเสนอ ตามหลักการ DCA อย่างสม่ำเสมอ ในนี้วันนี้กองทุนที่เราลงทุนนั้นจะเป็นยังไง เรียกวิธีการนี้ว่า การทำลองการลงทุน หรือ Backtesting ครับ

การจำลองการลงทุนหรือ Backtesting คือการจำลองการลงทุนแบบ DCA ทั้งในกองทุนรวมและหุ้น โดยใช้ข้อมูลจริงจากมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ในอดีตมาคิดว่าถ้าเราลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กันทุกเดือนแล้วจะได้ผลตอบแทนเป็นยังไง โดยผมจะเลือกกองทุนรวม K-CHANGE-A(A) ที่เคยได้เขียนไปมาทำแบบจำลองครับ อยากรู้ว่ากองทุนรวม K-CHANGE-A(A) ลงทุนในอะไรและที่ผมได้ลงทุนไปจริงๆ ผลตอบแทนเป็นยังไงติดตามได้ที่ลิงค์นี้ครับ (อ่านบทความลงทุนใน K-CHANG-A(A))

DCA คืออะไร

สำหรับการ DCA ในกองทุนรวมคือการที่ซื้อกองทุกๆ เดือน ในยอดเงินที่เท่ากัน จะหักบัญชีอัติโนมัติหรือซื้อเองก็ได้ ถ้ากองทุนนั้นมีมูลค่าหน่วยลงทุนสูง (NAV) ก็จะได้จำนวนหน่วยลงทุนน้อยลง แต่ถ้าเดือนไหนมูลค่าหน่วยลงทุนราคาต่ำ (NAV) ก็จะได้หน่วยลงทุนเยอะขึ้น เราก็จะได้มูลค่าที่เฉลี่ยๆ ครับ แต่สำหรับผมไม่ได้ DCA ตรงตามสูตรขนาดนั้น ผมซื้อทุกๆเดือน มีจำกัดว่าขั้นต่ำจะซื้อเท่าไหร่เช่น 1,000 บาท แต่ถ้าเดือนไหนมีเงินเพิ่มเยอะก็อาจจะซื้อเพิ่มมากขึ้นตามกำลังและอาจจะไม่ได้ซื้อวันที่เดิมของทุกเดือน ของเรียกของตัวเองว่า “DCA ประยุกต์” แล้วกันนะครับ (อ่านบทความ DCA)

กองทุนรวมคืออะไร

กองทุนรวมคือ การระดมเงินทุนของคนจำนวนมาก ที่สนใจลงทุนหรือซื้อกองทุน ไปลงทุนต่อให้อีกที เพราะถ้าเราจะซื้อหุ้นโดยตรงอาจจะมีเงินไม่มากพอและไม่มีเวลาติดตามข่าวสาร แต่ถ้าซื้อกองทุนรวมจะสามารถซื้อได้หลายกอง และแต่ละกองก็ไปลงทุนให้หลายบริษัท หลายอุตสาหกรรม ที่สำคัญมีผู้จัดการกองทุนดูแลให้ด้วย สามารถรถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวมได้ที่ลิ้งนี้ครับ (อ่านบทความกองทุนรวม)

จำลองการซื้อกองทุนรวมแบบ DCA ในกองทุนรวม K-CHANGE-A(A)

วิธีการจำลองการซื้อกองทุนรวมแบบ DCA จะใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนรวม K-CHANGE-A(A) ในอดีดย้อนหลัง 1 ปีครึ่ง ( 2562-2563) โดยลงทุกวันที่ 5 ของแต่ละเดือนถ้าวันที่ 5 ตรงกับวันหยุดจะใช้มูลค่าหน่วยลงทุนของวันทำการถัดไปแทน ให้ดูตรงมูลค่าหน่วยลงทุนช่อง “ขาย” เพื่อนำมาคำนวณว่าจะได้หน่วยลงทุนกี่หน่วย และจำลองว่าทุกเดือนจะลงทุนจำนวน 2,000 บาท ระยะเวลาทั้งหมด 18 เดือนตั้งแต่กองทุนเริ่มเปิดขาย (กองทุนเริ่มเปิดขายช่วงเดือน มิ.ย. 2562) รวมเป็นเงิน 36,000 บาท มาดูว่าการจำลองการลงทุนย้อนหลังแบบนี้จะได้ผลตอบแทนเป็นยังไง (ดูมูลค่าหน่วยลงทุนย้อนหลัง)

  • วันที่ 05/07/2562 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 10.7795 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 185.5373 หน่วย
  • วันที่ 05/08/2562 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 10.5363 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 189.8199 หน่วย
  • วันที่ 05/09/2562 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 10.5468 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 189.6309 หน่วย
  • วันที่ 07/10/2562 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 10.5637 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 189.3276 หน่วย
  • วันที่ 05/11/2562 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 10.9996 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 181.8248 หน่วย
  • วันที่ 06/12/2562 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 11.2675 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 177.5017 หน่วย
  • วันที่ 06/01/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 11.7131 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 170.7490 หน่วย
  • วันที่ 05/02/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 13.1658 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 151.9087 หน่วย
  • วันที่ 05/03/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 12.6044 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 158.6747 หน่วย
  • วันที่ 07/04/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 11.8086 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 169.3681 หน่วย
  • วันที่ 05/05/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 13.0884 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 152.8071 หน่วย
  • วันที่ 05/06/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 14.6342 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 136.6662 หน่วย
  • วันที่ 07/07/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 16.3275 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 122.4927 หน่วย
  • วันที่ 05/08/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 17.0392 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 117.3764 หน่วย
  • วันที่ 08/09/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 17.0624 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 117.2168 หน่วย
  • วันที่ 05/10/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 17.8490 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 112.0511 หน่วย
  • วันที่ 05/11/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 18.4981 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 108.1192 หน่วย
  • วันที่ 08/12/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 20.5626 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 97.2640 หน่วย
  • วันที่ 05/01/2564 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 20.8429 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 95.9559 หน่วย
  • วันที่ 05/02/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 22.8967 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 87.3488 หน่วย
  • วันที่ 05/03/2563 มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) 20.1568 บาท ได้หน่วยทั้งหมด 99.2221 หน่วย

จะเห็นว่ามีบางเดือนที่มูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) ราคาลดลงทำให้เราได้จำนวนหน่วยลงทุนเพิ่มขึ้น บางเดือนมูลค่าขายหน่วยลงทุน (NAV) เพิ่มขึ้นทำให้จำนวนหน่วยลงทุนลดลง ชึ่งช่วยเฉลี่ยราคาในการซื้อได้

จากที่ได้ทำการจำลองการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) จากมูลค่าหน่วยลงทุนย้อนหลังไปด้านบน สรุปเป็นผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนดังนี้ครับ

จำนวนเงินที่ซื้อกองทุนไปทั้งหมด 42,000 บาท
หน่วยลงทุนทั้งหมดที่ได้ประมาณ 3,010.8632 หน่วย
ราคาหน่วยลงทุนเฉลี่ย 13.9495 บาทต่อหน่วย

ณ วันที่เขียนบทความนี้ (07/04/2564) มูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) เท่ากับ 20.9059 บาทต่อหน่วย (จากที่ซื้อเฉลี่ยที่ 13.9495 บาทต่อหน่วย)
กองทุนของเราจะมีเงินทั้งหมด 62,944.805 บาท

หาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนได้จาก
= (มูลค่าเงินในพอร์ต ณ วันที่คำนวณ – เงินลงทุน)/เงินลงทุน
= (62,944.805-42,000)/42,000
= +49.87%

ทำไมต้องทำจำลองการลงทุน (Backtesting)

จากตัวอย่างข้างบนจะเห็นว่าถ้าเราลงทุนในกองทุนรวม K-CHANGE-A(A) แบบ DCA ตั้งแต่เริ่มเปิดขายมาจนถึงปัจจุบัน โดยจำลองการลงทุนจากข้อมูลจริงย้อนหลังไป พอที่จะทำให้เห็นภาพการเติบโตของกองทุนที่ผ่านมาและแนวโน้มการเติบโตในอนาคต แต่ทั้งนี้ผลการดำเนินงานของกองทุนในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้

กองทุนนี้อาจจะเห็นมุมมองไม่ครบ เพราะลงทุนในอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นกองทุนที่ไม่มีเงินปันผลทำให้กองทุนมีมูลค่าสะสมไว้และเติบโตอย่างต่อเนื่อง เราอาจจะไม่เห็นมุมมองอื่นๆ ซึ่งถ้ามีโอกาสหรือมีใครอยากอ่านเพิ่ม ผมจะลองจำลองการลงทุนแบบ DCA ในกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นไทยและเป็นกองทุนแบบมีเงินปันผล เพื่อจะได้เห็นอีกมุมหนึ่งที่มีการขึ้น ลง ของมูลค่าหน่วยลงทุนนะครับ

ถ้าสนใจอยากเห็นแบบจำลองการลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นไทยแบบมีเงืนปันผลคอมเม้นไว้ได้เลยนะครับ ถ้ามีคนสนใจเยอะจะรีบเขียนให้เลยครับ

คำเตือนสำหรับมือใหม่

  • กองทุนรวมไม่ใช่เงินฝากไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้ทันที การถอนมีระยะเวลาตามนโยบายของกองทุนซึ่งจะมีบอกไว้ใน หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fund Fact Sheet)
  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
  • การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนคืนมากกว่าหรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ ดังนั้นอย่าลืมทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อนเลือกกองทุนที่จะลงทุน
  • กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713