ช่วงกลางปีแบบนึ้น่าจะเป็นช่วงที่ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้กับคนที่ฝากเงินไว้กับธนาคาร มีใครได้ลองเช็คดูหรือยังครับว่าได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่กันบ้าง จริงๆ ผมก็ลืมไปแล้วเหมือนกันว่าธนคารจ่ายดอกเบี้ยแต่เห็นเพื่อนโพสในเฟสบุ๊คเลยเข้าไปดูของตัวเอง ได้ดอกเบี้ยพอกินปิ้งย่างได้สักมื้อนึง ??

วันนี้เลยจะมาเล่าให้ฟังว่าทำไมดอกเบี้ยบ้างคนได้น้อยทบางคนได้เยอะ ธนาคารคิดดอกเบี้ยยังไงกันนะ

สิ่งที่นำมาใช้คิดดอกเบี้ย

  1. เงินต้นที่เราฝากไว้
  2. อัตราดอกเบี้ยของบัญชีนั้นๆ
  3. ระยะเวลาที่เราฝาก

อีกนิดนึงครับแม้ว่าดอกเบี้ยที่ธนาคารแจ้ง เช่น 1.6% หรือ 0.5% ต่อปี ธนาคารคิดดอกเบี้ยให้เราแบบรายวันเลยนะครับ แต่แค่ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าเราได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยแบบทุกครึ่งปีหรือเมื่อครบปี นั่นเองมาดูตัวอย่างกันครับ

แบบที่ 1 ฝากเงินเต็มปีหรือครึ่งปี

1. ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่เดือนมกราคม ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท เมื่อสิ้นปีจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (365/365) = 50 บาท

2. ถ้ากรณีคิดดอกเบี้ยครึ่งปีจำนวนวันที่ฝากก็จะลดลง เหลือ 180 วัน แทนค่าในสูตรได้ 10,000* 0.5% *( 180/365) = ประมาณ 24.65 บาท

โดยปกติแล้วธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ย 2 รอบคือเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ฉะนั้นให้ใช้แบบตัวอย่างที่ 2 ก็ได้เพราะครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลังก็จะได้ดอกเบี้ยเท่ากัน

แบบที่ 2 กรณีฝากเงินไม่ได้เริ่มต้นปี

1. ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่เดือนเมษายน ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยเดือน มิถุนายน ดังนั้นตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ระยะเวลาประมาณ 90 วัน จะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 12.32 บาท

แบบที่ 3 กรณีฝากเงิน 2 รอบก่อนจ่ายดอกเบี้ยครึ่งปี

ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่ วันที่ 1 เดือนมกราคม ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท และมาฝากเงินอีก 10,000 บาท วันที่ 1 เดือนเมษายน ในคอบครึ่งปีเดือนมิถุนายนจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

1. ดอกเบี้ยจากเงินฝากก้อนแรก 10,000 บาทตั้งแต่ วันที่ 1 เดือนมกราคมมาถึงวันที่ 31 เดือนมีนาคมประมาณ 90 วันดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 12.32 บาท

2. ดอกเบี้ยจากเงินฝากเพิ่มอีก 10,000 บาทในวันที่ 1 เดือนเมษายนรวมเงินฝากก้อนเดิมอีก 10,000 บาทเป็น 20,000 บาท ไปจ่ายดอกเบี้ยในเดือน มิถุนายน รวมเวลา 90 วัน ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 20,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 24.65 บาท

ฉะนั้นในรอบเดือนมิถุนายนที่ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยก็จะได้ประมาณ  36.97 บาท

ฝากเงินอาทิตย์เดียวได้ดอกเบี้ยเบี้ยเท่าไหร่

เนื่องจากเงินฝากของเราธนาคารคิดดอกเบี้ยให้เป็นรายวันอยู่แล้วแต่จะจ่ายให้ทุกรอบกลางปีและสิ้นปี ถ้าสมมติว่าไม่นับว่าเริ่มต้นฝากเงินเดือนไหนแต่ฝากแค่ 7 วันธนาคารก็ให้ดอกเบี้ยเหมือนกัน ตัวอย่างวิธีคิดคือ

ฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท ระยะเวลา 7 วัน จะได้ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (7/365) = 0.95 บาท ครับ

หลายคนไม่รู้ว่าถ้าเรามีเงินนิ่งๆ อยู่ในธนาคาร 1 วันหรือ 2 วันเค้าก็คิดดอกเบี้ยให้แล้ว แต่อาจจะไม่ได้เยอะ ฉะนั้นอย่าทิ้งเงินไว้ในกระปุกที่บ้านเลย เอาไปฝากไว้กับธนาคารจะดีกว่า

เปลี่ยนจากฝากเงินเอาดอกเบี้ยหลักสิบเป็นความคุ้มครองหลักล้านและได้ลงทุนดีกว่า

เพื่อนๆ กำลังฝากเงินไว้ในธนาคารเพื่อเอาดอกเบี้ยที่เท่ากับเงินทอนอยู่รึป่าว หรือกำลังมองหาประกันสะสมทรัพย์เพื่อความคุ้มครองแต่ผลตอบแทนที่ได้ก็ไม่คุ้มค่า

แบบนี้ไม่ดีแน่เพราะอาจจะสู้เงินเฟ้อไม่ได้ มาเปลี่ยนจากดอกเบี้ยเงินฝากอันน้อยนิด เป็นประกันชีวิตคุ้มครองหลักล้านและได้ลงทุนรับเงินปันผลกันเถอะ (แผนประกันสะสมทรัพย์ออกแบบได้)

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713