ช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนี้ มีเหตุการณ์โลกมากมายเปลี่ยนแปลงแบบรายวัน แม้กระทั่งเรื่องของ “เงินเฟ้อ” ในประเทศไทย ที่มีอัตราเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 13 ปี ทำให้ราคาสินค้าและบริการต่างๆ ราคาปรับขึ้นส่งผลกระทบกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่เพียงแค่นั้นยังสงผลกระทบกับเงินเก็บของเราด้วยเนื่องจากเงินเฟ้อที่ทำให้สินค้าและบริการราคาสูงขึ้น แต่เงินที่เราเก็บหรือลงทุนนั้นไม่สามารถให้ผลตอบแทนเท่ากับเงินเฟ้อได้ อยากรู้ว่าเงินเฟ้อส่งผลกระทบยังไงบ้าง อ่านต่อกันได้ที่นี่เลย

หลายคนคงสงสัยว่าถ้าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแบบนี้เราจะรับมือได้ยังไง ❓ลองมาดูวิธีรับมือหรือการวางแผนการเงินในภาวะเงินเฟ้อกัน

แผนที่ 1

แบ่งเงินบางส่วนฝากธนาคารแทนการเก็บเงินไว้ที่ตัว เพราะเงินเฟ้อ หมายถึง มีเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศมากเกินไป ทำให้สินค้าต่างๆ พากันขึ้นราคา ธนาคารอาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อดึงดูดให้คนหันมาฝากเงินเยอะขึ้น เพื่อให้เงินในระบบไม่เยอะเกินไป รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น เพื่อป้องกันการกู้เงินไปลงทุนในระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

แผนที่ 2

ต่อมาจากการฝากเงินบางส่วน การแบ่งใช้จ่ายอย่างประหยัดก็คือข้อสำคัญ ที่ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะไหน การประหยัดเงิน รู้จักการออม เป็นเรื่องที่ควรทำอยู่แล้ว เมื่อเกิดวิกฤตมีหลายคนที่ได้รับผลกระทบ หากเรามีเงินสำรอง จากการใช้จ่ายอย่างฉลาด ทำให้เราไม่ล้มไปกับผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ ถ้าใครที่มีการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เห็นว่าในแต่ละเดือนนั้น เรามีการใช้จ่ายไปกับเรื่องอะไรบ้าง และค่าใช้จ่ายไหนที่สามารถปรับลดหรือตัดออกได้ แต่ถ้าใครยังไม่เคยทำบัญชีรายรับรายจ่ายก็อยากให้ลองเริ่มทำดูครับ

แผนที่ 3

ซื้อของต่างๆที่จำเป็น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ ราคาข้าวของจะค่อยๆ ทยอยขึ้นราคา จนถึงจุดที่เรารู้สึกว่าของแพง สิ่งที่ช่วยเราได้นั้นคือการซื้อของใช้จำเป็นกักตุนไว้เมื่อของเหล่านั้นยังราคาปกติ อย่างน้ำมัน หรือข้าวสาร อาหารแห้ง เมื่อถึงวันที่ของเหล่านี้ราคาปรับตัวสูงขึ้น เรายังมีสำรองใช้ได้แบบไม่เดือดร้อนแต่ก็ต้องดูให้ดีด้วยว่าเกินความจำเป็นรึป่าวเพราะข้าวของบางอย่างอาจจะมีวันหมดอายุหากซื้อมาเก็บไว้จำนวนมากแล้วไม่ทันจากที่เป็นการประหยัดอาจจะต้องเสียตังเพิ่มได้

แผนที่ 4

ช่วงเวลาซื้อ-ขาย ทรัพสินธ์เก็งกำไร นักลงทุนหลายรายที่ลงทุนในช่วงภาวะเศรษฐกิจ ในช่วงที่ของราคาถูกอย่างเงินฝืด ก็กักตุนทรัพย์สินหเล่านั้นเอาไว้ แล้วนำออกมาขายในภาวะเงินเฟ้อ ที่ราคาของต่างๆ ปรับสูงขึ้น อย่างเช่น ทองคำหรือกองทุนรวม เป็นต้น ที่สำคัญต้องมีความรู้เรื่องทรัพย์สินนั้นๆ ด้วยนะครับ

ถ้าใครที่ลงทุนในกองทุนรวมแต่ไม่รู้ว่าควรจะต้องซื้อช่วงเวลาไหน ก็ทะยอยซื้อแบบ DCA ก็ช่วยได้ เพราะเป็นการทะยอยซื้อที่ถัวเฉลี่ยออกมาแล้วได้ต้นทุนของมูลค่าหน่วยลงทุนที่ถูกกว่าแบบการซื้อครั้งเดียว ลองดูตัวอย่างการและความหมายของ DCA ได้ที่นี่เลย คลิ๊ก

ลองนำแผนการเหล่านี้ไปปรับใช้กับชีวิตคุณดูอาจช่วยให้วิกฤตครั้งนี้กลายเป็นช่วงเวลาปกติก็ได้หากวางแผนอย่างรัดกุม แต่หากยังไม่รู้ว่าเริ่มจากตรงไหน ลองเข้ามาคุยกันกับ Money and Insurance พร้อมให้คำปรึกษาทั้งด้านประกันและการเงินให้คุณ

===============
“ดูแลเงินของคุณอย่างมืออาชีพ”
ประสบการณ์ให้คำปรึกษามากว่า 1,000 เคสและลูกค้ากว่า 300 คน
เดชาธร ยะนันท์ (อู๋), ที่ปรึกษาประกันชีวิตและการเงิน
คุณวุฒิที่ปรึกษาการเงินและตัวแทนประกันชีวิตมาตรฐานสากล (MDRT) ปี 2022
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook :  Money and Insurance
Line
: https://lin.ee/cAyHd1Q
Website : www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713