ประเด็นร้อนของกลุ่มเพื่อนวัย 30 ที่นั่งคุยกันถึงอนาคตที่อาจจะอยู่เป็นโสด ไม่มีลูก ไม่มีเมียมีผัว แล้วพวกเราจะใช้ชีวิตอยู่กันกันยังไงละ “เงินไงคะ” อยู่ๆ เพื่อนคนนึงก็พูดขึ้นมา “แค่มีเงินพวกเมิงก็อยู่ได้แล้วค่ะ”

ว่าไปก็มีส่วนถูกอยู่นะ ถ้าเราไม่มีเงินเราจะอยู่ยังไง จะว่าคนอยู่ต่างจังหวัดไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรก็คงไม่ได้แล้ว เพราะตอนนี้ไม่เหมือนสมัยก่อน ความเจริญมันเข้าไปถึงเกือบหมดแล้ว ทั้ง 7-11 เอย ห้างเอ่ย ร้านค้าร้านอาหารเอย นั่นหมายถึงว่าการที่อยู่ต่างจังหวัดแล้วจะประหยัดเหมือนเมื่อก่อนก็อาจจะไม่ใช่

ส่วนคนที่อยู่กรุงเทพฯ แทบไม่ต้องพูดถึง เพราะค่าใช้จ่ายได้เพิ่มจาก 10-20 ปีที่แล้วหลายเท่าตัวแล้วอีก 30 ปีข้างหน้าจะเพิ่มไปอีกเท่าไหร่นะ??

“รู้แบบนี้แล้วเราจะเตรียมตัวยังไงถ้าอยากแก่แบบไม่ลำบาก ไม่เป็นภาระลูกหลาน” … ก็ต้องมีเงินอีกใช่ไหมครับ

เราจะทำยังไงให้มีเงิน และต้องมีเงินเยอะขนาดไหนถึงจะพอใช้น้า…

ตัวอย่างวิธีการคำนวณง่ายๆ ว่าต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะพอใช้

  1. ก่อนอื่นก็ต้องมาดูว่าตอนเกษียณหรือแก่ไปจะใช้เงินเดือนละเท่าไหร่ดี คำตอบอันนี้ของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิต ..แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าควรใช้เงินเท่าไหร่ประมาณยังไงดี คำตอบคือ ทำบัญชีรายรับรายจ่ายครับ เพราะเราจะเห็นว่า แต่ละเดือนเราใช้เงินกับอะไรบ้าง อันไหนค่าใช้จ่ายจำเป็น อันไหนไม่จำเป็น อันไหนค่าใช้จ่ายคงที่ อันไหนค่าใช้จ่ายผันแปร พอรู้แล้วก็จะไปประมาณตอนนั้นได้ว่าค่าใช้จ่ายตัวไหนที่จะหายไป ตัวไหนจะเพิ่มขึ้น สมมติว่าได้ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะต่อเดือนมาแล้วเดือนละ 20,000 บาท (ใช้ชีวิตแบบกลางๆ)
  2. ต่อมาลองคิดว่าหลังจากที่ไม่มีรายได้ (อายุ 60 เป็นต้นไป) เราจะอยู่ไปได้อีกกี่ปี บางคนมักจะพูดเล่นว่า แป้บเดียวก็ตาย 5 ปีพอ หรือ 10 ปีก็พอแล้ว ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องซีเรียสครับ ถ้าตายจริงก็ดี แต่ถ้ามีชีวิตอยู่แล้วไม่มีเงินใช้ละ นั่นอาจจะเหมือนตายทั้งเป็นเลยก็ได้ ถ้านึกไม่ออกว่าจะอยู่ไปอีกกี่ปี ลองดูค่าเฉลี่ยอายุคนได้ครับปกติแล้วตอนนี้คนอายุยืนขึ้น (90 ปี) แต่ตั้งไว้สัก 85 ปีแล้วกันครับ ได้ตัวแปรออกมา 2 ตัวละคืออายุที่จะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ 25 ปีหรือ 300 เดือนและใช้จ่ายเงินเดือนละ 20,000 บาท มาคำนวณเงินก้อนที่ต้องมีกันเถอะครับ
  3. แบบแรกคำนวณแบบง่ายไม่คิดถึงเรื่องลงทุน ไม่คิดถึงอัตราเงินเฟ้อจับคูณกันเลย ได้ว่าต้องมีเงินเก็บทั้งหมด 6,000,000 บาท ไม่น้อยเลยใช่ไหมทุกคน บางคนตกใจจะเก็บยังไงให้พอเนี่ย นี่แหละครับ พอเห็นตัวเลขแล้วก็ควรเริ่มวางแผนได้แล้วว่าต้องเก็บเงินยังไง ไม่ใช้ตกใจแล้วไม่ทำอะไรต่อ เดี่ยวขั้นตอนต่อไปจะช็อคมากกว่านี้อีก
  4. แบบ 2 คำนวณแบบมีเงินเฟ้อ จริงๆ เงินเฟ้อเพิ่มทุกปีครับ แต่คำนวณอะจะยาก ไหนจะเรื่องลงทุนยังไงให้ชนะเงินเฟ้ออีก วิธีนี้ขอคำนวณซับซ้อนมาอีกนิดนึง แบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงอายุ 61-70 ปี เราจะใช้เงิน 120 เดือนๆละ 20,000 บาทเป็นเงิน 2,400,000 บาท และช่วงอายุ 71-80 ปีสมมติให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ของเราคาแพงขึ้นเพิ่มก๋วยเตี๋ยวคงไม่ถ้วยละ 50 บาทตลอด 10 ปีหรอกใช่ไหมครับ ฉะนั้นช่วงนี้จะใช้เงินเพิ่มเป็นเดือนละ 22,000 บาทจำนวน 120 เดือน เป็นเงิน 2,640,000 บาท ช่วงสุดท้ายอายุ 81-85 ปีเงินเฟ้อเพิ่มอีก จากค่าใช้จ่ายเดือนละ 22,000 บาทเป็น 24,200 บาท จำนวนเดือน 60 เดือนรวมเป็นเงิน 1,452,000 บาท ถ้าเราคำนวณแบบมีเงินเฟ้อแบบหยาบ จะต้องมีเงินรวมทั้งหมด 6,492,000 บาทเพิ่มมาจากที่คำนวณแบบก่อนหน้าเกือบ 500,000 บาทเลย อย่าลืมนะครับอันนี้คำนวณเงินเฟ้อแบบ 10 ปีแต่ชีวิจจริงเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นทุกปี

เห็นตัวเลขแบบนี้แล้วทุกคนเอายังไงต่อกับชีวิตดีละ อยากจะเป็นลมใช่ไหมครับ ตัวผมเองก็เหมือนกัน แต่เดี่ยวก่อนนะทุกคนเราเพิ่งอายุ 30 ปี ยังไม่สายนี่น่า มีเวลาอีก 30 ปีจะเกษียณ อีกตั้งนาน ยังเก็บเงินทันใช่ไหมละ

องค์ประกอบเก็บเงินให้งอกเงย

มี 3 อย่างคือ เงินต้น (ถ้าเก็บเดือนละ 1,000 บาท สบายอยู่แล้ว) ระยะเวลา ( โอ้ยอีกตั้ง 30 ปี เก็บได้สบายๆ) ผลตอบแทน ( แน่นอนว่าอายุยังไง ลงทุนแบบเสี่ยงๆ ได้เอาที่ผลตอบแทนทีเราพอใจได้เลย) พอรู้องค์ประกอบของการเก็บเงินแล้วก็เริ่มกันเลยครับ

แต่เดี่ยวก่อนนะ บางคนคิดว่าอีกตั้ง 30 ปีไว้ค่อยเริ่มสิ หรือบอกว่าตอนนี้เงินเดือนน้อย รออายุเยอะเงินเดือนเยอะค่อยเก็บไปเลยเดือนละ หมื่น (เพื่อนผมพูดเองแหละ 555) ขอเตือนว่าคิดผิด

ไม่ใช่ผมเตือนครับแต่เป็นพี่ที่รู้จักท่านนึง มาเล่าให้ฟัง “คิดว่า 40 ค่อยเริ่มก็ได้ยังมีเวลาอีกนาน ตอน 30 เที่ยวๆ ไปก่อน พอเอาเข้าจริงๆ 40 ก็เกือบไม่ทันแล้ว”

  1. เพราะขาดวินัยการออมมาตั้งแต่เด็ก พอมาเริ่มตอนอายุเยอะก็จะยากเหมือนกันที่ฝืนทำอะไรบางอย่าง กว่าจะปรับตัวได้ใช้เวลานาน
  2. ที่ว่าเงินเดือนเยอะแล้วจะเก็บเยอะขึ้น ไม่จริงเลย ทุกคนรู้ คนอายุ 40 รู้ ยิ่งเงินเดือนเยอะ ยิ่งรายจ่ายเยอะอะไรก็สำคัญหมด สุดท้ายก็เก็บได้นิดเดียว
  3. เวลาไม่พอแล้ว เหมือนรู้ตัวช้าสุดท้ายยิ่งเวลาเหลือน้อยทำให้การเก็บต่อเดือนนั้นสูงขึ้น

ทีนี้รู้แล้วว่าทำไมเราต้องเริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันนี้ จากทั้งองค์ประกอบของการออมเงินทั้ง 3 ข้อ ประสบการณ์จากคนที่ผ่านมาก่อน และจำนวนเงินเก็บที่ต้องมีถึง 6,000,000 บาท ถ้าไม่เริ่มวันนี้ วันหน้าอาจจะลำบากได้ ทุกคนพร้อมหรือยังที่จะเริ่มออมเงินครับ

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713