แก่แล้วไม่มีลูกจะอยู่ได้ไหม ใครจะเลี้ยง

สวัสดีครับทุกคน ช่วงวันหยุดที่ผ่านมาผมได้กลับบ้านต่างจังหวัด (เชียงราย) หลังจากที่ตั้งใจจะกลับตั้งแต่เดือนเมษายน แต่ว่าพอโควิดระบาดก็ไม่ได้ไปเลย ช่วงนี้ภาคเหนืออากาศเริ่มเย็นแล้ว ตอนเช้าประมาณ 19 องศา และอาจจะหนาวแบบนี้ไปจนถึงสิ้นปีเลย ใครมีโอกาสอย่าลืมแวะไปเที่ยวเชียงรายนะครับ

พอได้กลับบ้านก็ทำให้คิดถึงสมัยตอนเด็ก ผมเกิดและโตที่เชียราย แต่พอเรียนมหาวิทยาลัยก็ไปอยู่กรุงเทพจนถึงตอนนี้ (เพจนี้มีใครคนเหนือบ้างค้าบ) พอเจอยายที่อยู่บ้านคนเดียว ก็เลยเกิดคำถามนี้กับตัวเองว่า ถ้าแก่แล้วเราจะไปอยู่ที่ไหน?

ยายผมมีลูกทั้งหมด 7 คน ส่วนตาเสียไปประมาณ 6-7 ปีแล้ว ยายเลยอยู่กับลูกๆ ที่สร้างบ้านอยู่รอบๆ (ทั้งแม่ผมและลุงๆ) ข้อดีขอคนสมัยก่อนคือมีลูกเยอะ พอดีมาก็มีลูกๆ หลานๆ มาช่วยดูแล ส่วนข้อเสียก็คือ ความไม่แน่นอน ไม่รู้ลูกจะมาดูแลไหมเพราะลูกแต่ละคนก็ต่างมีหน้าที่รับผิดชอบ มีครอบครัวของตัวเองที่ต้องดูแล

ยายผมยังเดินได้ทำกับข้าวเองได้ เลยไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่จะมีบางช่วงที่ปวดขาปวดน่องเป็นธรรมดาของคนแก่ อายุเกือบ 90 แต่ก็มีแม่ผมและลูกคนอื่นๆ มาดูแล เอากับข้าวมาให้บ้าง เอาอาหารสดมาให้บ้าง

เห็นชีวิตแบบนี้แล้วก็คิดถึงชีวิตของตัวเองและคนรุ่นใหม่ๆ ครอบครัวแบบใหม่ปัจจุบันมีลูกน้อยลง เฉลี่ยประมาณ 2-3 คน เพราะสังคมที่เปลี่ยนไปและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ยิ่งสังคมเมืองยิ่งไม่ค่อยมีลูกกันเลย “อนาคตเราจะเป็นยังไงต่อ ยังจะต้องพึ่งพาลูกไหม หรือใช้ชีวิตต่อด้วยตัวเอง แล้วเราจะไปอยู่ไหน ใครจะดูแลเรา?” เป็นคำถามที่หลายคนยังไม่เคยถามตัวเอง

ข้อมูลชุดเกี่ยวกับแหล่งรายได้หลักดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ 

  • 55.8% คนสูงวัยยังต้องพึ่งพารายได้จากผู้อื่น
  • 34% ยังต้องทำงานหารายได้เอง

แหล่งรายได้หลักดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ หลักๆ แล้วมาจาก

  • บุตร 36.7%
  • รายได้จากการทำงานของผู้สูงอายุเอง 33.9%
  • เบี้ยยังชีพจากราชการ 14.8%
  • เงินบำเหน็จบำนาญ 4.9%
  • จากคู่สมรส 4.3%
  • ดอกเบี้ยเงินออม และการขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ 3.9%
  • รายได้จากทางอื่น ๆ อีก 1.5%

จากข้อมูลนี้ทำให้เห็นว่าส่วนใหญ่ผู้สูงอายุพึ่งพารายได้จากแหล่งอื่น และกว่า 36% เป็นรายได้จากบุตร
https://www.marketingoops.com/…/beh…/aging-society-thailand/

“เมื่อไหร่จะแต่งงาน? แก่ไปใครจะเลี้ยง”

เป็นคำถามที่ยายถามหลายครั้งเมื่อกลับบ้าน เพราะสังคมต่างจังหวัดกับสังคมกรุงเทพฯ อาจจะต่างกันทำให้ยายกังวลเรื่องนี้ ต่างจังหวัดเพื่อนเกือบทุกคนมีครอบครัว มีลูกกันหมดแล้ว แต่คนที่อยู่กรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ก็ยังโสดกันอยู่

“มีตังอยู่ที่ไหนก็ได้อุ้ย” (อุ้ยภาษาเหนือใช้เรียก ปู่ ย่า ตา ยาย หรือคนแก่) ผมตอบกลับไป เอาจริงๆ มันก็มีอยู่ทางเดียวที่คิดออกตอนนี้ถ้าเรามีเงินจะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ (รึป่าว) 555

คนแก่สมัยก่อนมักคิดว่า “ต้องแต่งงาน ต้องมีลูก” เอาไว้ใช้ยามแก่
แต่คนสมัยนี้คิดว่า “ขอแค่มีเงิน อยู่ที่ไหนก็ได้” รึป่าว?

ตอนนี้กลายเป็นว่าปัญหาของคนแก่ และคนที่จะแก่ ไม่ใช่เรื่องการอยู่กับใคร แต่กลายเป็นเรื่อง “เงิน” เพราะการใช้หลังเกษียณอีก 25 ปี (อายุ 60-85 ปี) ต้องใช้เวลาเกือบครึ่งนึงของชีวิตในการเก็บให้ได้เป็นล้าน

ถ้าทุกคนที่อ่านบทความนี้อายุช่วง 30 ต้นๆถึงปลายๆ ก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ เพราะยังมีเวลาอีกเกือบ 30 ปีในการเก็บเงินและลงทุนให้งอกเลย บางคนบอกว่าเหลือเวลาอีกตั้งนาน รออายุ 40 ปีค่อยเริ่มก็ได้ แต่การรอให้ถึงวันนั้นเหมือนเป็นการหวังพึ่งน้ำบ่อหน้าที่เรายังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราอาจจะมีภาระหลายอย่างมากมายจนไม่มีเงินเหลือเก็บ หรืออาจจะต้องเก็บเงินสูงกว่าตอนนี้เพราะระยะเวลาที่สั้นลง ดังนี้ วันนี้ไม่ได้เร็วเกินไปที่จะมาเริ่มคิดเรื่องวางแผนออมเงินและเกษียณนะครับ ✌?

===============

ติดตามช่องทางอื่นของเรา

Facebook Money and Insurance
Line
 : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713