ปัญหาอย่างหนึ่งของการลงทุนคือ “เรื่องของการจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้” เพราะถ้าเราไม่มีการจัดพอร์ตการลงทุน เลือกลงทุนในกองทุนประเภทเดียวกับหมดแบบกระจุกตัว อาจจะทำให้พลาดโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรืออาจทำให้กองทุนติดลบหนักก็ได้
ทำไมต้องจัดพอร์ตการลงทุน
ลองมาดูตัวอย่างว่าทำไมเราต้องจัดพอร์ตการลงทุนกันครับ
- ไม่ให้การลงทุนแบบกระจุกตัวเกินไป เช่น เลือกลงทุนเฉพาะกองทุนตลาดเงินหรือตราสารหนี้ ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงและความผันผวนต่ำ ทำให้ผลตอบแทนที่ได้ไม่สูงมาก ก็พลาดโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน แต่ถ้าลงทุนในตราสารทุนในและต่างประเทศ หรือทรัพย์สินทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูงมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงกว่าแต่ก็ค่อนข้างผันผวน ขึ้น/ลง เร็ว อาจจะให้ได้ผลตอบแทนสูงในช่วงขาขึ้นหรือถ้าขาลงก็อาจจะทำให้ติดลบหนักได้
- ช่วยกระจายความเสี่ยง ในสภาวะที่ตลาดหุ้น อุตสาหกรรมบางประเภท ได้รับผลกระทบบางอย่างเช่น โควิด ทำให้อยู่ในช่วงขาลง แต่เรามีการกระจายเงินบางส่วนไปในกองทุนตราสารหนี้หรือกองทุนผสมเข้ามาด้วย ซึ่งขณะนั้นกองทุนประเภทตราสารหนี้หรือกองทุนผสมอาจจะมีผลตอบแทนเป็นบวก เช่น ก็เมื่อกองทุน A ติดลบ -700 บาท กองทุน B เป็นบวก +500 บาท ก็จะทำให้ภาพรวมของพอร์ตแทนที่จะลงทุนในกองทุน A กองเดียวติดลบถึง 700 บาทหักล้างกันเหลือแค่ -200 บาท จากที่จะติดลบหนักๆ ก็ดูเบาลงหรือถ้ากองทุน A เป็นบวก 700 บาท กองทุน B เป็นติดลบ -500 บาท ก็จะทำให้ภาพรวมของพอร์ตหักล้างกันเหลือ +200 บาท (เนื่องจากเราไม่สามารถคาดเดาตลาดได้ว่าตอนไหน (ตลาด/อุตสาหกรรม/ตราสาร) ประเภทไหนจะเป็นบวกหรือลบ การกระจายการลงทุนจึงดีกว่า)
จัดพอร์ตการลงทุนยังไงดี?
- การจัดพอร์ตการลงทุนสามารถเลือกจัดพอร์ตเองได้โดยค้นหาคำว่า “ตัวอย่างพอร์ตการลงทุนตามความเสี่ยง” เมื่อเราประเมินความเสี่ยงได้ระดับใดก็ซื้อกองทุนตามสัดส่วนของตัวอย่างพอร์ต
- ใช้ตัวอย่างพอร์ตจากโบรกเกอร์หรือ บลจ.ที่ลงทุนจะมีตัวช่วยหรือเครื่องมือที่ช่วยจัดพอร์ตการลงทุนให้ทำให้ไม่ต้องมาเลือกกองทุนเอง ตัวอย่าง บลจ. กสิกรไทยที่ผมลงทุนอยู่ก็จะมีสัดส่วนการลงทุนบอกว่าควรซื้อของทุนประเภทไหนสัดส่วนเท่าไหร่บ้างความเสี่ยงของเรา
พอร์ตการลงทุน 5 แบบ จากแบบประกันชีวิตควบการลงทุน mDesign (ยูนิต ลิงค์) เมืองไทยประกันชีวิต
สำหรับคนที่อยากได้ความคุ้มครองประกันชีวิตและมีการลงทุนควบคู่ไปด้วย มีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่าประกันแบบเดิมๆ และมีความยืดหยุ่นกว่าอาจจะเลือกเป็นประกันชีวิจควบการลงทุน โดยมีพอร์ตแนะนำที่ทางบริษัทออกแบบมาให้เลือกมาถึง 5 พอร์ตตามความเสี่ยง ได้แก่
- พอร์ตความเสี่ยงต่ำ
- พอร์ตความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ
- พอร์ตความเสี่ยงปานกลาง
- พอร์ตความเสี่ยงสูง
- พอร์ตความเสี่ยงสูงมาก
ในแต่ละพอร์ตการลงทุนมีการกระจายการลงทุนครบเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ ตราสารทุนในประเทศ ตราสารทุนต่างประเทศ สินทรัพย์ทางเลือก เช่น อสังหาริมทรัพย์หรือทองคำ
ข้อดีอีกอย่างของแบบประกันชีวิตควบการลงทุนคือเมื่อจ่ายเบี้ยและบริษัทหักค่าใช้จ่ายเรียบร้อยเหลือเงินเท่าไหร่จะไปกระจายการลงทุนให้เราตามสัดส่วนของพอร์ต ซึ่งเป็นจุดเด่นและสะดวกกว่าที่เราเลือกซื้อกองทุนเอง ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีเงิน 1,000 บาทเลือกซื้อกองทุนหรือจัดพอร์ตเอง อาจจะได้แค่ 2 กอง (ซื้อขั้นต่ำกองทุนละ 500 บาท) แต่ถ้าเลือกแบบยูนิต ลิงค์เหลือเงินจะการหักค่าใช้จ่าย 1,000 บาท บริษัจะนำไปลงทุนทุนให้ตามสัดสัดเอง เช่น พอร์ตความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ จะได้
- ตราสารหนี้ 700 บาท
- ตราสารทุนในประเทศ 50 บาท
- ตราสารทุนต่างประเทศ 2 กองทุนๆ ละ 80 บาทกับ 70 บาท
- สินทรัย์ทางเลือก เช่น ทองคำ น้ำมัน 100 บาท
ซึ่งเมื่อจายเบี้ยแบบรายเดือนครั้งถัดไปบริษัทก็จะกระจายการลงทุนตามพอร์ตที่เราเลือกทุกเดือนโดยที่เราไม่ต้องปวดหัวซื้อกองทุนตามสัดส่วนเอง ที่สำคัญบางกองทุนเลือกซื้อแบบ 50 บาทหรือ 70 บาทไม่ได้ด้วยครับ ถ้าใครที่มีความรู้เรื่องกองทุนรวมสามารถเลือกกองทุนเองก็ทำได้โดยใช้สัดส่วนตามตัวอย่างและนำกองทุนในพอร์ตที่บริษัทจัดมาให้ออกไป นำกองทุนที่ตัวเองสนใจมาใส่แทนโดยมีให้เลือกทั้งหมด 9 บลจ. มีกองทุนกว่า 53 กองทุน
===============
“ดูแลเงินของคุณอย่างมืออาชีพ”
ประสบการณ์ให้คำปรึกษามากว่า 1,000 เคสและลูกค้ากว่า 300 คน
เดชาธร ยะนันท์ (อู๋), ที่ปรึกษาประกันชีวิตและการเงิน
คุณวุฒิที่ปรึกษาการเงินและตัวแทนประกันชีวิตมาตรฐานสากล (MDRT) ปี 2022
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
===============
ติดตามช่องทางอื่นของเรา
Facebook : Money and Insurance
Line : https://lin.ee/cAyHd1Q
Website : www.mtl-insure.com
IG : www.instragram.com/mtl_insure
Group : www.facebook.com/groups/190206858958713