หุ้นบุริมสิทธิ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.5

จากบทความเรื่อง หุ้นสามัญ ยังมีหุ้นอีกหนึ่งประเภทที่จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันแต่อาจจะมีเงื่อนไขบางอย่างต่างกัน วันนี้จะพามารู้จักกับอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “หุ้นบุริมสิทธิ” ครับ หุ้นบุริมสิทธิ เป็นหลักทรัพย์แสดงความเป็นเจ้าของร่วมเหมือนกับหุ้นสามัญ แต่ต่างกันตรงผู้ที่ถือหุ้นบุริมสิทธิ จะได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญและอัตราคงที่ สิทธิของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ มีความเป็นเจ้าของเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แต่ไม่มีสิทธิในการบริหารจัดการ ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผลก่อน ผู้ถือหุ้นสามัญในอัตราคงที่ กรณีธุรกิจเลิกกิจการจะมีสิทธิในทรัพย์สินหลังจากเจ้าหนี้แต่ได้ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ หุ้นสามัญมีสิทธิลงคะแนนเสียงแต่หุ้นบุริมสิทธิ ไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียง ประเภทของหุ้นบุริมสิทธิ สะสมและไม่สะสมเงินปันผล เนื่องจากหุ้นบุริมสิทธิขึ้นอยุ่กับผู้บริหารว่าจะจ่ายหรือไม่จ่ายเงินปันผลต่างกับการจ่ายดอกเบี้ย ถ้าหากไม่มีการจ่ายเงินปันผลก็จะสะสมมูลค่าไปเรื่อยๆ ทำให้มูลค่าของบริษัทหรือหน่วยลงทุนเติบโตขึ้น ไถ่ถอนคืนและไม่สามารถไถ่ถอนคืน กรณีที่บริษัทต้องการเพิ่มสัดส่วนของผู้ถือหุ้น บริษัทสามารถเลือกออก หุ้นบุริมสิทธิชนิดไถ่ถอนคืน เพื่อที่จะสามารถเรียกคืนจากผู้ถือหุ้นได้ในอนาคต ร่วมรับและไม่ร่วมรับ หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับคือมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลเพิ่มเติมตามที่กำหนดไว้ หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับคือ ไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลตามอัตราที่กำหนดไว้ แปลงสภาพได้และแปลงสถาพไม่ได้ หุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพได้คือสามารถแปลงเป็นหุ้นสมัญได้ส่วน หุ้นบุริมสิทธิชนิดแปลงสภาพไม่ได้ก็เหมือนหุ้นบุริมสิทธิทั่วไปประ รวมซีรีย์บทความการลงทุน การลงทุนคืออะไร | ซีรี่ย์การลงทุน EP.1 ตราสารทางการเงิน | ซีรีย์การลงทุน EP.2 ตราสารหนี้ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.3 ตราสารทุนและหุ้นสามัญ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.4 หุ้นบุริมสิทธิ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.5 […]

ตราสารทุนและหุ้นสามัญ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.4

ตราสารทุนเป็นตราสารที่ผู้ออกต้องการระดมทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ซื้อหรือผู้ถือ มีสิทธิ์เป็นเจ้าของร่วม กับกิจการนั้นๆ มีส่วนได้ ส่วนเสียเมื่อกิจการได้หรือเสียประโยชน์ และได้ผลตอบแทนเป็นเงินปันผลโดยเงินปันผล ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10% ส่วนกำไรที่ได้จากการขาย กรณีที่ส่วนต่างราคาขายสูงกว่าราคาซื้อ (Capital Gain) ไม่ต้องเสียภาษี ประเภทตราสารทุน หุ้นสามัญ (Common Stock) ออกโดยบริษัทเอกชน เพื่อให้ประชาชนหรือคนทั่วไปมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ มีสิทธิ์ร่วมลงคะแนนเสียง โดยสิ่งที่ได้ตอบแทนเรียกว่าเงินปันผลจากกำไรที่ได้การการดำเนินการของบริษัท มีตัวอย่างหุ้นสามัญประเภทต่างๆ ดังนี้ Blue Ship คือหุ้นที่มีขนาดใหญ่ มีความน่าเชื่อถือ ก่อตั้งมานานแล้วและมีอัตราผลตอบแทนที่ไม่ผันผวน เช่น หุ้นบริษัทขนาดใหญ่ใน SET50 ซึ่งเป็นหุ้นที่มีความมั่นคง มีสถานการณ์การเงินที่แข็งเกร่ง Growth Stock หุ้นของบริษัที่อยู่ในช่วงเติบโต มียอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตลาดยังไม่อิ่มตัว Value Stock หุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลสูงกว่าตลาดหรือประเภทอุตสาหกรรมเดียวกัน เหมาะกับการลงทุนระยะยาว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หุ้นดี ราคาถูก” Income Stock หุ้นของบริษัทที่มีรายได้และกำไรสม่ำเสมอ มีการจ่ายเงินปันผลสูง อาจะเรียกว่า “หุ้นปันผล” เหมาะกับการลงทุนเพื่อไว้รับผลตอบแทน Defensve Stock […]

ตราสารหนี้ | ซีรี่ย์การลงทุน EP.3

ตราสารที่แสดงความ เป็นเจ้าหนี้ โดย “ผู้ออกตราสารหนี้หรือผู้ขอกู้” และ” ผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้” เช่น เราไปซื้อตราสารหนี้ของบริษัท A เราเป็นเจ้าหนี้ บริษัท A เป็นผู้กู้  โดยผู้ออกตราสารหนี้จะจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นผลตอบแทน ผู้ถือตราสารหนี้มีสิทธิเรียกร้องสินทรัพย์ของกิจการที่เราถือได้เมื่อมีการเลิกกิจการ โดยแบ่งเป็น ตราสารหนี้ระยะสั้น (ตราสารหนี้ในตลาดเงิน) ตราสารหนี้แบ่งตามผู้ออก ดังนี้ ตราสารหนี้ออกโดย รัฐบาล เรียกว่า ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี และพันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ออกโดยกระทรวงการคลัง ตราสารหนี้ออกโดย รัฐวิสาหกิจ เรียกว่า ตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ เช่น พันธบัตรการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ตราสารหนี้ออกโดย เอกชน เรียกว่าหุ้นกู้ เรามักจะได้ยอนตามข่าวว่า บริษัท ปตท. ออกหุ้นกู้ OR จำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป ตราสารหนี้แบ่งตามสิทธิเรียกร้อง (เรียงจากสูงลงไปต่ำ) ดังนี้ หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Bond) หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Junior Bond) […]

ตราสารทางการเงิน | ซีรีย์การลงทุน EP.2

หลายคนคงรู้ว่าปัจจุบันนี้การฝากเงินไว้ในธนาคารอย่างเดียวอาจจะไม่ช่วยให้เงินงอกเงยแล้ว เพราะดอกเบี้ยเงินฝากปัจจุบันนั้นน้อยมากที่สำคัญน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อด้วย ดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีออมทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 0.25-1.5% และ ดอกเบี้ยฝากประจำหรือบัญชีพิเศษอยู่ที่ประมาณ 2.0% แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าเงินเฟ้อในแต่ละปี นั่นแปลว่าถ้าเราฝากเงินทิ้งไว้ในธนาคารแม้จะได้ดอกเบี้ย แต่เงินก็มีมูลค่าลดลงอยู่ดี วันนี้ผมจะมาแนะนำตราสารทางการเงินซึ่งเป็นช่องทางการลงทุนที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินไว้ในธนาคารให้เป็นไอเดียกับคนที่สนใจลงทุน ซึ่งตราสารทางการเงินคือการลงทุนรูปแบบหนึ่งประกอบด้วย ตราสารหนี้ ตราสารทุน กองทุนรวม ฯลฯ ซึ่งมีความเสี่ยงที่ต่างกันและได้ผลตอบแทนต่างกันด้วย ก่อนที่เราเราจะลงทุนในตราสารแบบไหนอยากลืมศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนนะครับ ตราสารหนี้ ตราสารที่แสดงความ เป็นเจ้าของ โดยผู้ออกตราสารหนี้หรือผู้ขอกู้และผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ เช่น เราไปซื้อตราสารหนี้ของบริษัท A เราเป็นเจ้าหนี้ บริษัท A เป็นผู้กู้ ตัวอย่างตราสารหนี้แบ่งตามผู้ออก ดังนี้ ตราสารหนี้ออกโดย รัฐบาล เรียกว่า ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี และพันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ออกโดยกระทรวงการคลัง ตราสารหนี้ออกโดย รัฐวิสาหกิจ เรียกว่า ตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจ เช่น พันธบัตรการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย ตราสารหนี้ออกโดย เอกชน เรียกว่าหุ้นกู้ เรามักจะได้ยอนตามข่าวว่า บริษัท ปตท. ออกหุ้นกู้ […]

การลงทุนคืออะไร | ซีรี่ย์การลงทุน EP.1

ถ้าทุกคนได้ติดตาม “สุดยอดเทคนิควางแผนการเงิน (สามเหลี่ยมทางการเงิน)” มาก่อนแล้วและทำตามขั้นตอนที่ 1-2 ได้อย่างสม่ำเสมอ วันนี้จะพาทุกคนก้าวขึ้นมาอีกขั้นในขั้นตอนที่ 3 นั้นก็คือ เรื่องการลงทุน (สุดยอดเทคนิควางแผนการเงิน) การลงทุน คือการที่เรานำเงินของเราหรือจ่ายเงินเพื่อทำอะไรบ้างอย่างแล้วหวังว่าจะได้ผลตอบแทนกลับมา ซึ่งแบ่งการลงทุนออกเป็น 2 แบบคือ การลงทุนที่แท้จริง เช่น การเปิดร้านการแฟ การเปิดบริษัท การสร้างสินค้าเพื่อมาขาย การลงทุนทางการเงิน เช่น ซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ซื้อประกัน ซื้อกองทุนรวม หุ้น ตราสารหนี้ การลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินจะเรียกว่า “ตราสารการเงิน” เช่น ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ตั๋วเงินคลัง (ผู้ถือเป็นเจ้าหนี้) ตราสารทุนหุ้นสามัญ เช่น หุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นบุริมสิทธิ  (แสดงความเป็นเจ้าของ) หลักทรัพย์อนุพันธ์ เช่น ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ หรือ วอร์เรนท์ กองทุนรวม ตลาดการเงิน (Money Market) ตลาดเงินเป็นแหล่งกลางเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงิน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ […]

1 4 5 6 7