เงินสำรองฉุกเฉินของมันต้องมี
หลังจากที่เริ่มวางต้นวางแผนการเงินโดยทำบัญชีรายรายรายจ่ายเพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายของตัวเองไปเรียบร้อย (จากโพสก่อนหน้า) ขั้นตอนต่อมาที่จะต้องทำคือการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินไว้ใช้เมื่อมีเหตุจำเป็น ซึ่งหลายคนอาจจะมีคำถามว่า ทำไมทำไมต้องมีส่วนนี้ด้วย เงินออมสำรองฉุกเฉินเอามาจากไหน? จากโพสก่อนหน้า หลังจากที่เรามีรายได้เข้ามาก่อนใช้ออมไปจะต้องออมก่อนใช่ไหมครับ เงินสำรองฉุกเฉินก็สามารถกันมาจากเงินออมส่วนนี้ได้ หรือจะแยกออกมาออมอีกต่างหากก็ได้ ออมฉุกเฉินไปเพื่อออะไร? ผมขอแยกเป็น 2 แบบคือฉุกเฉินเบาและฉุกเฉินหนักเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นครับ ฉุกเฉินเบา เคยเจอไหมครับ อยู่ๆ บางเดือนก็มีเหตุให้ใช้เงินนอกเหนือจากรายจ่ายประจำเดือน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าก็พัง รถก็มีปัญหา ซ่อมแซมบ้าน ไม่อยู่ในแผนค่าใช้รายเดือนที่เตรียมไว้ จึงต้องมีเงินสำรองสำหรับส่วนนี้ด้วย บางท่านบอกว่าในสมัยนี้สะดวกมากขึ้นเพราะสามารถใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสนใจการผ่อนได้แล้ว แต่อย่าลืมกว่า เงินที่รูดหรือกดมาใช้ยังไงก็ต้องคืนอยู่ดีซึ่งก็ต้องไปหักจากรายได้ สำหรับฉุกเฉินหนักอาจจะไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อย แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วอาจจะสร้างผลกระทบที่รุนแรง เช่น บริษัทปรับเปลี่ยนโครงสร้างทำให้ต้องออกจากงาน ครอบครัวมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หรือช่วงหลายปีที่ผ่านมาโควิดระบาดทำให้หลายคนต้องตกงาน หรือบริษัทปิดโดยไม่ทันได้เตรียมตัว ถ้ามีเงินสำรองฉุกเฉินเพียงพออาจจะให้เรายังพออยู่ได้แบบไม่ลำบาก หรือถ้ามีเงินสำรองฉุกเฉินไว้บางส่วนก็ยังพอมาบรรเทาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก่อนได้ ต้องมีเงินออมสำรองฉุกเฉินเท่าไหร่ถึงจะพอ? ถ้าจะให้บอกเป็นตัวเลขหรือเปอร์เซ็นต์ก็คงยาก เพราะแต่ละคนมีรายได้ ค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน รายจ่ายของบางคนที่มองว่าไม่จำเป็นแต่กลับเป็นสิ่งจำเป็นของอีกคน ถ้าจะต้องเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินให้พออยู่ได้ในช่วงวิกฤตอาจจะประมาณ 6 เดือนของค่าใช้จ่ายจำเป็นก่อน หากมีมากกว่านั้นก็ค่อยเพิ่มให้ถึง 12 เดือน แต่ไม่ควรสูงกว่านี้และจะต้องเก็บไว้ในเครื่องการออมที่สามารถเอาออกมาใช้ได้ง่าย เช่น บัญชเงินฝากออมทรัพย์ที่ถอนมาใช้ได้ทันทีที่จำเป็น