วางแผนปกป้องความเสี่ยง | มีเรื่องมาเล่า

หนูยอมเสียเงิน 10% ของรายได้ทั้งปีจ่ายเบี้ยประกัน ดีกว่าเสียเงิน 100% ของรายได้ทั้งหมดให้กับค่ารักษา สวัสดีครับทุกคน มีเรื่องนึงมาเล่าวันนี้เป็นเรื่องเล่าหลังจากที่ได้ไปเจอน้องคนนึงมา ผมมีโอกาสได้ให้คำแนะนำแประกันสุขภาพกับลูกค้าในเพจที่ไม่รู้จักกันมาก่อนน้องเด็กกว่าอายุประมาณ 25 ปี สอบถามเข้ามาว่าอยากได้ประกันสุขภาพเหมาจ่าย รักษาอุบัติเหตุได้ มีค่าชดเชยรายวัน มีบัดเจทค่าเบี้ยประมาณ 25,000 บาทต่อปี ก็แนะนำให้เรียบร้อยตามความต้องการที่อยากได้ วันที่นัดทำเอกสารก็ให้น้องกรอกข้อมูลตามปกติ ด้วยความสงสัยว่าทำไมน้องถึงเลือกเป็นตัวประกันสุขภาพตัวนี้และจ่ายด้วยเบี้ยเกือบ 30,000 บาท ซึ่งน้องมีรายได้รายได้ประมาณ 360,000 บาท (ขออนุญาตน้องแลัว) ซึ่งคิดเป็นค่าเบี้ยที่จ่ายก็เกือบ 10% ของรายได้ทั้งปี จากที่ได้เจอลูกค้ามาหลากหลายส่วนใหญ่ลูกค้าก็จะไม่ค่อยอยากจ่ายเบี้ยเยอะ เพราะคิดว่าสุขภาพเป็นเบี้ยทิ้ง ไม่อยากเสียเงินไปป่าวๆ ผมเลยถามน้องไปว่า “โอเครไหมครับแผนนี้ เบี้ยสูงไปรึป่าว เท่ากับเงินเดือนๆนึงเลยนะ อยากปรับอะไรไหม” น้องตอบกลับว่า “เบี้ยสูงคะ แต่จ่ายได้ เพราะที่ได้ก็หลายอย่างอยู่เหมือนกันและที่ชอบเพราะเป็นตัวเหมาจ่ายค่าห้องตามจริง เคยซื้อประกันแบบเก่าๆ เหมาจ่ายก็จริงแต่ว่ายังจำกัดค่าห้อง ต้องจ่ายส่วยต่างเอง อีกอย่างจ่ายแม้ว่าเบี้ยจะสูงถึง 10% ของรายได้ แต่ก็รู้แน่ๆ ว่าปีนึงต้องเตรียมเงินไว้จ่ายเบี้ยเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่มีประกันเลยแล้วเกิดหนูป่วยขึ้นมา ค่าใช้จ่ายต้องสูงกว่า 30,000 บาทแน่ๆ เผลอๆ เงินเก็บอาจจะหมดหรือต้องเป็นหนี้เลยก็ได้” […]

เรื่องเล่าของคนชอบเปย์ | มีเรื่องมาเล่า

สวัสดีครับทุกคน #มีเรื่องมาเล่า วันนี้ขอนำเรื่องพี่สนิทของผมคนนึง เป็นคนเเฟรนลี่มาก ขอใช้นามสมมติว่าพี่บอยละกัน (เรื่องนี้ขออนุญาตแล้วครับ) ที่ผ่านมาพี่บอยก็มีแฟนมาหลายต่อหลายคน แต่ละคนก็ล้วนเด็กกว่าทั้งนั้น ไม่ใช้เด็กแบบ 2-3 ปี แต่ 6-10 ปี จนบางครั้งมาเจอกันเพื่อนๆ ต้องแซวว่าลูกคนใหม่หรอ “พอมีแฟนเด็กมันก็ดีนะเมิง ตื่นเต้น กระชุ่มกระชวยเหมือนเราเป็นเด็กอีกครั้ง” พี่บอยเล่า “เออมันก็จริงเน้อพี่ ว่าแต่เด็กคนนี้เปย์ไปเท่าไหร่ละ” ผมถาม “เมิงก็อย่าไปว่าอย่างนั้น ปง เปย์อะไร เด็กมันนิสัยดี น่ารัก ก็ให้ค่าขนมนิดหน่อย” พี่บอยบอก “ก็ใช่แหละพี่ คนคบกันเป็นแฟนกัน ก็ต้อมีช่วยเหลือแบ่งปันกัน” ผมบอก “แต่พี่เกินไป คบกับเด็กที่ไรก็เปย์หมด นี่ตั้งแต่รู้จักกันมา พี่มีแฟนเด็กมา 2-3 คนแล้วก็พูดแบบนี้ตลอด แล้วเป็นไงตอนเลิกกูเนี่นแหละต้องมานั่งฟังบ่น อุตสาเปย์ไป มันไม่เห็นรักดีเลย คบคนไหนก็พูดแบบนี้” ผมบ่น (พูดด้วยน่ำเสียงแข็ง เพราะสนิทกัน 55) “เออก็ถูกของเมิงนะ จำแม่นเชียวนะ” พี่บอยบ่น พร้อมยกแก้ว “เปย์อะเปย์ได้แต่ควรจะมีขอบเขตปะ รักตัวเองบ้างอย่ารักแต่คนอื่น เนี่ย […]

รู้หรือไม่ เราใช้จ่ายเงินเพราะอารมณ์มากกว่าเหตุผล | มีเรื่องมาเล่า

สวัสดีครับทุกคน เคยเป็นกันไหมครับ บางครั้งมีอารมณ์อยากซื้อนู้น ซื้อนี้ทั้งที่ยังไม่รู้จะเอาไปใช้ทำอะไร บางครั้งอยากซื้อเสื้อผ้า อยากซื้อรองเท้าคู่ใหม่ ทั้งที่คู่เดิมยังใช้ได้อยู่ บางครั้งอยากใช้เงินแต่หาเหตุผลไม่ได้ว่าจะใช้ทำอะไร ขอแค่ได้ใช้ถ้าทุกคนเคยเคยมีอารมณ์แบบนี้ ถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ เพราะ… ซูวี่ ออร์แมน โค๊ชการเงินชื่อดังระดับโลกบอกไว้ว่า “เมื่อเรามีความโกรธ เครียด หรืออารมณ์ด้านลบอื่นๆ ผุดขึ้นมาในหัว มันจะทำให้เราทำเรื่องที่ผิดปกติไป” เช่น การใช้เงินช้อปปิ้งแก้เครียดนั้นเอง ซึ่งคนเราก็ล้วนมีอารมณ์ดี อารมณ์เสียสลับกันไปบ้างเป็นธรรมดา อารมณ์เหล่านั้นล้วนมีผลกับการใช้เงินของเราทั้งสิ้น ทำไมเราถึงใช้เงินกับการซื้อของทุกครั้งที่รู้สึกว่าอารมณ์ไม่ปกติ ลองดูตัวอย่างนี้กันครับ ถ้าตัดเรื่องการมีเงินเหลือใช้และเรื่องคุณภาพสินค้าออกไป ทำไมเราต้องซื้อนาฬิกาเรือนละ 10,000 บาทในเมื่อนาฬิกาเรือนละ 1,000 บาทก็บอกเวลาได้เหมือนกัน ทำไมเราต้องซื้อรองเท้าแตะ คู่ละ หลายพันทั้งๆ ที่รองเท้าคู่ละ 100 กว่าบาทก็สวมได้เหมือนกัน นั่นก็เพราะ “เงินกับอารมณ์เรามันเป็นเรื่องเดียวกัน” จนแทบแยกไม่ออก เราอาจจะรู้สึกว่านาฬิกาที่แพงกว่ามีคุณค่ามากกว่า รู้สึกดีเวลาใส่หรือมีความสุข เราอาจจะรู้สึกสบายใจขึ้นที่ได้ซื้อของบางอย่าง มันไม่ผิดที่ถ้าจะซื้อของบางอย่างถ้าเราใช้อารมณ์ของเราเป็นตัวตัดสินใจ เพราะคนส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนั้นกันและหลักการตลาด หรือห้างต่างๆ ที่จัดโปรโมชั่นก็ล้วนกระตุ้นการซื้อสินค้าจากอารมณ์และความรู้สึกเราทั้งนั้น แทบไม่มีที่ไหนเลยจะมานั่งบอกคุณสมบัติและประโยชน์ของสินค้า น้อยครั้งมากที่เราจะซื้อของแล้วมานั่งคิดว่า ของชิ้นนี้มันจำเป็นไหมได้ใช้ประโยชน์รึป่าว น้อยครั้งมากที่เราจะมาดูความจำเป็นในการซื้อของแต่ละอย่าง ส่วนใหญ่ล้วนซื้อเพราะความต้องการหรืออารมย์อยากได้และเราจะหาเหตุผลมาสนับสนุนว่ามันจำเป็น ของมันต้องมี เพราะเหตุนี้เราจึงต้องพยายามประครองอารมณ์ของตัวเองให้ปกติจะได้ไม่ต้องมานั่งปวดหัวเรื่องการใช้เงินตามอารมณ์ไงละครับ […]

ประกันชีวิตเล่มแรก | มีเรื่องมาเล่า

ประกันชีวิตฉบับแรกของทุกคน ซื้อกันตั้งแต่เมื่อไหร่ เพราะอะไร? สวัสดีครับทุกคน แฟนเพจนี้ใครที่มีประกันชีวิตมาแล้วบ้าง ตอนนั้นเริ่มทำตอนอายุเท่าไหร่ และมีใครบ้างที่ยังไม่เคยมีประกันชีวิตมาก่อนเลย เมื่อวันหยุดที่ผ่านมาผมไปเที่ยวกับเพื่อนๆ สมัยมมัธยม นับเวลากลับไปก็น่าจะมาประมาณ 12 ปีแล้ว 5555 ทริปครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะปีนี้ ครูที่โรงเรียนของพวกเราเกษียณพอดี เพื่อนๆ เลยนัดรวมตัวกันพาครูไปเที่ยว ซึ่งทุกคนน่าจะพอรู้ว่ามันยากมากที่จะนัดเพื่อนๆไปเที่ยว เพราะเวลาไม่ตรงกัน ไปเที่ยวครั้งนี้ทำให้เราได้พูดคุยกันหลายเรื่อง ทั้งเรื่องสมัยเรียนตอนมัธยม เรื่องชีวิตมหาลัยและชีวิตปัจจุบัน มีเรื่องนึงที่ผมคิดว่าน่าสนใจและอยากเอามาแบ่งปันต่อครับ นั้นก็คือเรื่องวางแผนการเงิน สมัยเรียนมัธยมพวกเรียนเรียนห้องศูนย์วิทย์ คนมักจะมองว่าถือว่าเป็นห้องที่เก่งที่สุดของโรงเรียน 55 จำคร่าวๆ ได้ว่าพวกเราเรียนกันอยากเข้มข้นมาก ไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรเยอะแยะ ทริปนี้มีเพื่อนคนนึงชื่อ อัง สมัยเรียนอังได้เป็นประธาน ซึ่งถือว่าเป็นภาระกิจที่ใหญ่พอสมควรของตอนนั้น เพราะนอกการเรียนแล้วยังต้องทำกิจกรรมต่างๆ อีก แต่ไม่ทำให้การเรียนเสียเลยพอเข้ามหาวิทยาลัยก็สอบเข้าเรียนพยาบาลได้จนตอนนี้ได้ได้ทำงานเป็นพยาบาลตามความฝันแล้ว อังเล่าให้เพื่อนๆ ฟังว่า เริ่มศึกษาเรื่องวางแผนการเงินและเรื่องการลงทุนตั้งแต่เรียนจบ อายุ 23 ปี เพราะคิดว่าการทำงานแล้วได้เงินมาโดยไม่นำเงินไปลงทุนหรือต่อยอดทำให้มูลค่าเงินในอนาคตลดลง และความเสี่ยงต่างๆ ทั้งการเจ็บป่วยหรือผลประโยชน์ที่จะได้เมื่อ (เห้ยแกร ประธานนักเรียนหญิงที่ป็นพยาบาลคิดแบบนี้ แต่ตอนนั้นพวกเราอีกหลายคนในกลุ่ม รวมถึงผมตอนนั้นยังไม่รู้เรื่องอะไรเลย) ซึ่งตอนนั้นทำประกันชีวิตไว้ประมาณ 6 ฉบับ และจ่ายเบี้ยครบแล้ว 2 […]

ฟรีแลนซ์จัดพอร์ตสุขภาพและเงินออม สร้างอิสระภาพทางการเงินแบบไหนดี | มีเรื่องมาเล่า

สวัสดีครับทุกคน สำหรับกลุ่มอาชีพอิสระ หรือ ฟรีแลนซ์ เรามักจะมีรายได้ที่ไม่แน่นอนเหมือนอาชีพที่ทำงานรับเงินเดือนประจำ บางเดือนได้เยอะมาก บางเดือนได้น้อย ฉะนั้น ควรจะต้องมีการวางแผนการออมและดูแลสุขภาพเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ เนื่องจากกลุ่มอาชีพอิสระจะไม่มีสวัสดิการที่จะเข้ามาช่วยดูแลเรื่องของสุขภาพเหมือนอย่างพนักงานประจำ ถ้าไม่มีการบริหารความเสี่ยงและวางแผนกาเงินอย่างเหมาะสม ในช่วงที่สามารถหารายได้อย่างเพียงพอแล้ว หากเกิดเหตุไม่คาดฝันจนได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล ก็อาจจะต้องใช้เงินที่เก็บออมไว้มาใช้จ่ายเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เป็นฟรีแลนซ์ต้องรู้จักบริหารจัดการความเสี่ยง สำหรับปัจจัยที่จะมากระทบต่อเงินออมของกลุ่มอาชีพอิสระคือ 1.ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม เพราะบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยทำให้ไม่มีรายได้ 2.ค่ารักษาพยาบาลเมื่อต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งจะไม่ว่าจะกรณีใด สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กลุ่มอาชีพอิสระจะขาดรายได้ทันที หากไม่มีเงินสำรองก็จะกระทบต่อค่าใช้จ่ายประจำทันที เช่น เคยมีรายได้วันละ 5,000 บาท เมื่อต้องเข้าโรงพยาบาลเท่ากับรายได้หายไปวันละ 5,000 บาททันที ดังนั้นสิ่งที่กลุ่มอาชะอิสระ ควรจะทำเพิ่มเติมนอกจากการออมเงินและประกันสุขภาพ คือการทำประกันที่มีเงินชดเชยรายได้ต่อวันด้วย เพื่อไม่ให้รายได้ต่อวันหายไป เนื่องจากกลุ่มอาชีพอิสระ จะไม่มีสวัสดิการมาช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายหากเดินเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ จนต้องเข้าพักรักษาตัวในโณงพยาบาล ดังนั้น จึงคควรที่จะทำประกันสุขภาพเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีเฉลี่ย 8-10% โดยควรเลือกวงเงินความคุ้มครองให้เหมาะสมตามกำลังซื้อของแต่ละคน เช่น เลือกค่าห้องในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) ค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่ายเพื่อให้ครอบคลุ่มค่ารักษาพยาบาลให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ค่ารักษาพยาบาลแบบ IPD จะมีความจำเป็นและต้องมีไว้ เพื่อลดผลกระทบในการต้องไปดึงเงินเก็บมาใช้จ่าย แต่ก็ควรเลือกทำประกันสุขภาพในวงเงินที่เหมาะสมตามกำลังซื้อด้วย รายได้น้อยแต่สร้างความคุ้มครองได้ ตัวอย่างอย่างอาชีพอิสระ ที่เริ่มต้นทำงานและยังไม่สามารถสร้างรายได้ที่มากพอที่จะเลือกซื้อประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองวงเงินสูง ก็สามารถเลือกวงเงินที่ต่ำเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงไว้บางส่วนก่อน […]

1 2