การใช้จ่ายของ Gen Y ไทย

จากข้อมูลกลยุทธ์วัดใจลูกค้ากลุ่ม Gen Y ของศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ ปี 2560 หัวข้อการใช้จ่ายพบว่า • 56% เป็นหนี้บัตรเครดิต • 48% เป็นหนี้บ้าน • 56% เป็นหนี้รถยนต์  • 39% ไม่มีหนี้ • 18% ไม่มีเงินออม ตัวเลขที่น่าสนใจคือ 56% เป็นหนี้บัตรเครดิต (ถ้านิยมคำว่าหนี้คือการไม่มีเงินใช้คืนหรือใช้คืนไม่หมดจนมีการคิดดอกเบี้ย) ซึ่งแสดงถึงการใช้เงินเกินรายได้ที่รับมา และอาจะเป็นหนี้ที่ไม่สามารถชำระคืนได้ หากเป็นเช่นนี้จะไม่สามารถสร้างทรัพย์สินหรืยากที่จะมีเงินเก็บ Gen Y 18% ไม่มีเงินออม เป็นตัวเลขที่มีคำถามมากพอสมควรว่า เงินที่ได้มานั้นถูกนำไปใช้กับอะไรหมด ถ้านำเงินไปสร้างหนี้สินที่เกิดมูลค่า เช่น การจ่ายค่าบ้านหรือที่ดินก็ยังพอยอมรับได้ แต่ถ้าหากได้มาแล้วใช้หมดก็ต้องถามตัวเองว่าหากวันใดวันหนึ่งเราไม่มีรายได้เข้ามาหรือเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน เช่น ตัวเองหรือพ่อแม่เจ็บป่วย จะทำยังไง จะเอาเงินสำรองที่ไหนมาใช้ ฉะนั้นเราชาว Gen Y ควรเริ่มวางแผนการเงินตั้งแต่ตอนนี้ เพราะปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว คนกลุ่ม GenY แต่งงานน้อยลงและอาศัยอยู่คนเดียว ถ้าหากวันนี้ไม่มีทรัพย์สินและยังมีหนี้สิน ไม่มีเงินเก็บอาจจะลำบากในอนาคตได้ วันนี้ Gen […]

วางแผนการเงินให้มีใช้ถึงสิ้นเดือน

หลายคนคงมีปัญหากับบริหารเงินที่ได้มาด้วยเหตุผลที่ว่ามันมักจะใช้หมดก่อนสิ้นเดือน ตัวผมก็เช่นกันเคยทดลองทำหลายวิธีทั้งการจดบันทึกรายรับรายจ่ายแต่วันมัน สิ้นเดือนก็มาสรุปดูว่ามีใช้จ่ายไปกับค่าอะไรบ้าง รายจ่ายไหนที่ไม่จำเป็นและสามารถตัดออกได้ พอเริ่มต้นเดือนใหม่จะได้ลดค่าใช้จ่ายส่วนนั้นออกไป แต่ไม่นานก็ลืมและเผลอใช้เงินเหมือนเดิม   จนได้มาเจอหนังสือ “ไม่ชอบประหยัด ไม่ถนัดตัวเลข ก็รวยได้” เขียนโดย อัย อิจิอิ หัวห้อ “จดสิ่งที่จะทำกับจำนวนเงินไว้คู่กัน” คุณอัยอิจิอิ ได้อธิบายว่า สมุดที่ใช้จด สิ่งที่ทำและจดจำนวนเงินที่ใช้ทำกิจกรรมนั้นๆ ไว้คู่กันด้วย โดยไม่จำเป็นต้องจดตัวเลขที่ถูกต้อง แต่ให้จดจำนวนคร่าวๆ ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นภาพชัดเจนว่าสัปดาห์นี้จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่   เมื่อมีค่าใช้จ่ายใหม่เข้ามาจะทำให้เราควบคุมและเตือนตัวเองว่า สัปดาห์นี้มีรายจ่ายมากพอแล้ว การจดสองอย่างนี้พร้อมกันช่วยให้ประเมินค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเขียนเสร็จแล้วจะเห็นว่ารายจ่ายมีอะไรบ้างมีของชิ้นไหนที่อยากได้บ้าง หากเกินงบประมาณที่มีให้เรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำหรือของที่จะซื้อ และตัดค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นออกไปก่อนหรือเลื่อนไปเดือนหน้า   เมื่อผมลองนำวิธีนี้มาใช้โดยนำปฏิทินตั้งโต๊ะมาเพิ่มอีก 1 อัน อันเก่าใช้จดกิจกรรมทั่วไปที่ทำในแต่ละวันที่ผ่านมาเพื่อจะได้กลับมาดูว่าวันไหนทำอะไรไปบ้าง ส่วนอันใหม่ใช้จดกิจกรรมที่วางแผนจะทำพร้อมกับเงินที่จะใช้และของที่จะซื้อ เช่น ต้องไปปาตี้กับเพื่อนวันศุกร์พร้อมกับเงินที่คิดว่าจะใช้ หรือจะไปซื้อของที่ซูปเปอร์มาเก็ตวันไหนตั้งงบประมาณไว้ที่เท่าไหร่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ตต้องจ่ายวันไหนบ้างเป็นเงินเท่าไหร่   เราจะเห็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง ส่วนค่าใช้จ่ายรองที่ตามมาก็ลองเช็คเงินที่เหลือว่าเพอหรือไม่ ถ้าไม่จำเป็นจะได้เลื่อนออกไปก่อน หากมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินเช่น ปาตี้รอบสอง หรือการซื้อเสื้อผ้า ของใช้ที่ไม่จำเป็นจะได้เตือนตัวเองได้ว่างบประมาณตอนนี้พอหรือไม่   ลองนำวิธีนี้ไปใช้จนเป็นนิสัยดูนะครับแล้วจะเห็นว่าแต่ละเดือนเราจะมีเงินพอใช้แน่นอน

เป้าหมายในการออมเงิน

  ถ้าเรามีเป้าหมายในการออมเงิน สมองเรามันจะสั่งการ มันจะคิดว่าเราจะต้องทำยังไงให้หาเงินมา จะเก็บเงินยังไง จะประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนไหน เราจะขยันมากขึ้นเพื่อทำงานให้ได้เงิน อะไรที่ไม่คิดจะทำ ไม่เคยทำก็จะได้ทำหมด ฉะนั้น การที่เราจะทำประกันเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ในอนาคต หรือทำประกันเพื่อเป็นค่ารักษายามเราเจ็บป่วย ก็ถือเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่ง ถ้าเราตั้งใจจริงก็จะทำได้ เดี่ยวสมองเราจะคิดเองว่าต้องขยัน ต้องทำงานเสริม ต้องหางานพิเศษ เว้นเสียว่า เราไม่ได้สนใจ ไม่ได้ตั้งใจทำมันจริงๆ ในชีวิตนี้มีเป้าหมายเรื่องอะไรกันบ้างครับ แล้วได้ทำอะไรให้เป้าหมายนั่นสำเร็จบ้าง หรือแค่นอนคิด นอนฝันเฉยๆ

ชีวิตที่มีเป้าหมาย

เคยสังเกตเวลาเครื่องบินกำลังจะบินขึ้นไหมครับ มันต้องมีใช้แรงขับเคลื่อนมากแค่ไหนให้หลุดพ้นจากแรงดึงดูดของโลก ก่อนที่มันก็จะลอยอยู่บนอากาศได้ ถ้าเครื่องบินไม่มีแรงขับเคลื่อนมากพอมันคงขึ้นไปบนอากาศไม่ได้ และไถลออกนอกรันเวย์ไป เช่นเดียวกับชีวิตคนเราเลย หากไม่มีเป้าหมาย วิ่งเหยาะๆ ไม่มีแรงขับเคลื่อนมากพอ ไปก็ไม่สุด หยุดอยู่แค่กลางทาง ชีวิตก็วิ่งไปทางที่เราไม่รู้ ไม่ตรงกับที่ต้องการ ฉะนั้น เอาเครื่องบินเป็นตัวอย่าง จะทำอะไร ต้องมีเป้าหมาย ทำให้สุด ทำให้เต็มที่ พุ่งทะยานออกไปอย่าได้กลัวจะผิดพลาด ตอนเริ่มแรกมันอาจจะตะกุกตะกักเหมือนเครื่องวิ่งบนรันเวย์ แต่เมื่อผ่านไปทุกอย่างจะเข้าที่เอง ถ้าเราพยายามมากพอ

ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก

หลายคนกำลังกังวลเกี่ยวกับการเสียภาษีดอกเบี้ย ที่กรมสรรพากรได้ประกาศไป ซึ่งมีเงื่อนไขว่า หากบุคคลใดได้รับดอกเบี้ยเงินฝากทุกบัญชีจากธนาคาร ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป ต้องเสียภาษี 15% ลองคำนวณอย่างง่ายเพื่อดูว่าเราต้องมีเงินต้นเท่าไร จึงจะเสียภาษีดอกเบี้ย ถ้าเป็นบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี เงินต้น = 20,000 บาท/0.5% ต้องมีเงินฝาก 4,000,000 บาท ถ้าเป็นบัญชีฝากประจำดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี เงินต้น = 20,000 บาท/1.5% ต้องมีเงินฝาก 1,333,333 บาท จะเห็นว่า ถ้าหากเราจะต้องเสียภาษีดอกเบี้ย 15% ต้องมีเงินฝากถึง 4 ล้านบาท หรือ 1.3 ล้านบาทสำหรับบัญชีฝากประจำครับ ถ้าใครหากยังกังวลเกี่ยวกับการเสียภาษีดอกเบี้ย สามารถออมเงินไว้กับประกันชีวิต โดยเงินคืนที่ได้รับแต่ละปี ไม่ต้องเสียภาษีครับ ได้รับเต็มจำนวนเลย แผนเมืองไทย ซุปเปอร์ เซฟวิ่ง 15/3 เบี้ยประกัน 200,000 บาท ชำระเบี้ย 3 […]

1 45 46 47 48 49 51