ถ้ามีประกันสุขภาพ 2 เล่มจาก 2 บริษัทจะมีข้อดี ข้อด้อยยังไงบ้าง

มีหลายท่านมาปรึกษาอู๋เกี่ยวกับการทำประกันสุขภาพ มีคำถามจากพี่ท่านนึงน่าสนใจและอยากจะเอามาแชร์ให้กับทุกคนไว้พิจารณาครับ “มีประกันสุขภาพ 2 เล่มจาก 2 บริษัทมีข้อดี ข้อด้อยยังไงบ้าง“ เริ่มจากข้อดีก่อนนะครับ ถ้าเรามีประกัน 2 เล่มต้องดูความความคุ้มที่ทำไว้ครอบคลุมทั้งหมดรึป่าว บางท่านทำไว้นานแล้ว แต่ไม่ใช่แบบเหมาจ่าย หรือเหมาจ่ายแบบไม่สุด ยังมีข้อจำกัดบางหมวด และได้ทำของอีกบริษัทนึงไว้ แบบนี้เมื่อเบิกจากที่แรก ก็สามารรถมาเบิกต่อบริษัทที่ 2 ได้ครับ กรณีทำไว้ 2 บริษัทเพื่อกระจายความเสี่ยงเรื่องการเคลม กลัวว่าจะมีบริษัทที่ไม่จ่ายหรือขอตรวจสอบก่อนก็จะได้ยื่นอีกบริษัทนึง (แต่จะถือว่าเป็นข้อดีก็พูดได้ไม่เต็มปาก เพราะเงื่อนไขการเคลมแต่ละบริษัทก็จะคล้ายๆ กัน ถ้าไม่ได้มีปกปิดหรือเป็นมาก่อนบริษัทประกันก็จ่ายให้ตามปกติครับ แต่อาจจะมีเกณฑ์ของแต่บริษัทเรื่องการจ่ายอันนี้ผมไม่ทราบเกณฑ์ของแต่ละที่ ไม่ขอออกความเห็นความ) มาดูข้อด้อยกันบ้างครับ ถ้าเราทำประกันไว้ 2 บริษัทข้อเสียคือจะต้องจ่ายเบี้ย 2 ก้อนซึ่งอาจจะสูงกว่าเลือกทำที่เดียวให้จบไปเลย เลือกบริษัทที่วงเงินความคุ้มครองครองคลุมมากที่สุด เพราะไม่มีของที่ไหนจะดีหมดทุกด้านครับ แต่เลือกที่ปิดความเสี่ยงหรือเราต้องจ่ายส่วนต่างน้อยสุดดีกว่า ซึ่งประกุนสุขภาพมาตาฐานใหม่ (Nwe Health Standard) ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเหมาจ่ายค่อนข้างครอบคลุม การเคลมอาจจะนานกว่าปกติ เพราะโรงพยายาลจะยื่นเคลมทีละบริษัท และรอบริษัทแรกเคลมเสร็จเหลือวงเงินเท่าไหร่ที่เบิกไม่ได้ค่อยมายื่นเคลมต่อบริษัทที 2,3,4 ไปเรื่อยๆ เพราะบริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาตามบิลที่เหลือให้กับโรงพยาบาล (ประกันสุขภาพจะเบิกทุกที่ทั้งหมดไม่ได้ แต่อาจจะมีบางประกันกลุ่มหรือบางบริษัทที่ให้ประกันกลุ่มกับพนักงานให้สิทธิเบิกซ้ำซ้อนได้) ถ้ามีประกันสุขภาพแล้วกับอีกบริษัทนึง อยากทำใหม่มีคำแนะยังไงบ้าง […]

ประกันสะสมทรัพย์แบบลงทุน มีโอกาสได้ผลตอบแทน คุ้มครองเงินต้น ลดหย่อนภาษีได้

แผนนี้ประกันแบบนี้เป็นหมวดประกันสะสมทรัพย์ครับ ไม่ใช่ประกันชีวิตควบการลงทุน (ยูนิตลิงค์) แต่เรียกว่า “สมาร์ทลิงค์” คือบริษัทเป็นคนบริหารจัดการมีการเอาเงินไปลงทุนที่เป็นกองทุนหรือสินทรัพย์ที่หน่วยลงทุนอื่นอีกที โดยยังคงให้ความคุ้มครองเหมือนประกันชีวิตแบบเดิม คุ้มครองเงินต้น และมีส่วนที่พิเศษเพิ่มเข้ามาคือ โอกาสได้รับผลผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบเงินปันผล เรียกได้ว่าตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย คุ้มครองกรณีเสียชีวิต คุ้มครองเงินต้นและจ่ายเงินคืนตามแบบประกัน ลดหย่อยภาษีได้เต็มจำนวนจากเบี้ยที่จ่าย รายละเอียดแผน ประกันชีวิตทางเลือกใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้แบบ 3 in 1 ในกรมธรรม์เดียว ทั้งในส่วนของความคุ้มครองชีวิต การันตีเงินจ่ายคืนระหว่างสัญญา และโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปของเงินปันผลผ่านดัชนี GS Momentum Builder® Multi-Asset 5S ER ให้คุณมั่นใจได้ในทุกสภาวะเศรษฐกิจ โอกาสลงทุนในดัชนีระดับโลก เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดี ประกันชีวิตรูปแบบใหม่ ที่ไม่ได้ล็อคอัตราผลตอบแทนเหมือนประกันชีวิตรูปแบบเดิมๆ แต่เปิดโอกาสรับผลตอบแทน(Upside gain) ผ่านดัชนี GS Momentum Builder® Multi-Asset 5S ER การันตีเงินที่จ่ายไม่สูญหาย มั่นใจได้ว่าเบี้ยประกันภัยที่จ่ายจะยังอยู่ครบ เมื่อครบกำหนดสัญญา การันตีมีเงินคืนแน่นอน รับเงินคืนทุกๆ 2 ปีกรมธรรม์ ปีละ 5% ครบกำหนดสัญญาได้รับเงินก้อน 600% ช่วยให้การบริหารเงินเป็นเรื่องง่าย […]

อยากออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ เลือกทำประกันบำนาญหรือกองทุนรวม RMF ดีกว่ากัน?

วันนี้อยากมาเล่ารายละเอียดการเลือกทำประกันบำนาญไว้ใช้หลังเกษียณ กับกองทุนรวม rmf พร้อมกับเอาไปลดหย่อนภาษี จากคำถามที่ลูกค้าถามทาในเพจว่าจะเลือกแบบไหนดี แบบไหนเหมาะสมและคิดว่าคงจะมีอีกหลายท่านที่กำลังเปรียบเทียบอยู่กว่าแบบไหนถึงจะเหมาะ อู๋ขอเรียกประกันบำนาญและกองทุนรวม RMF ว่าเป็นสินค้านะครับ แต่เป็นสินค้าในหมวดการเงิน มาดูกันครับ สิ่งแรกที่ต้องรู้เลยก็เรื่องลดหย่อนภาษี คือทั้ง 2 ตัวลดหย่อนอยู่ในหมวดเดียวกัน ซึ่งหมวดนี้จะมีหลายอย่างด้วยกันเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กบข.,กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันบำนาญ ฯลฯ ซึ่งในหมวดนี้รวมกันทั้งหมดไม่เกิน 500,000 บาท มาเจาะลึกกองทุนรวม RMF และประกันบำนาญกัน ถึงแม้ว่าทั้ง 2 ตัวจะลดหย่อนรวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาทแต่เค้าก็มีเงื่อนไขในแต่ละตัวอีก กองทุนรวม RMF ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี, ประกันบำนาญต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่เสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท ฉะนั้นจะต้องดูให้ดีด้วยถึงแม้ประกันบำนาญจะลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาทแต่มีกำหนดว่าห้ามเกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีด้วย เลือกอะไรดีระหว่างกองทุนรวม RMF และประกันบำนาญ สินค้าทุกตัวทั้ง 2 […]

ประกันสุขภาพ Elite Health Plus จ่ายค่าห้องเรทห้องเดี่ยวมาตรฐานหรือวงเงิน 10,000 บาท คือยังไง?

วันนี้อยากมาเล่ารายละเอียดแผนสุขภาพ อีลิทเฮลท์ พลัส จากคำถามที่ลูกค้าถามทาในเพจและคิดว่าคงจะมีอีกหลายท่านที่งงกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาลของแผนอีลิทเฮลท์ พลัสครับ ก่อนอื่นขอแยกแผนให้ชัดเจนระหว่าง อีลิทเฮลท์ แผนเดิม และ อีลิทเฮลท์ พลัสแผนใหม่ครับ เพราะอาจจะมีบางท่านเคยซื้ออีลิทเฮลท์ แผนเดิมไว้ ซึ่งตอนนี้ปิดขายไปแล้ว ซึ่งแผนอีลิทเฮลท์ แผนเดิมจะจ่ายค่าห้องเป็นแบบตามวงเงินของแผน เช่นแผน 20 ล้านจะได้ค่าห้อง 10,000 บาท แผน 40 ล้านได้ค่าห้อง 12,000 บาท โดยในวงเงินนี้จะเป็น” ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาล และรวมค่าบริการพยาบาลด้วย” แบบนี้จะไม่มีปัญหาเพราะปกติประกันสุขภาพแบบเดิมมีมานานแล้วและหลายคนก็เข้าใจกันอยู่แล้วเช็คกับเว็บโรงพยาบาลแล้วเอามาวางแผนเลือกซื้อประกันที่ครอบคลุมได้เลย ประกันสุขภาพอีลิท เฮลท์ พลัส ที่ทีการเพิ่มความคุ้มครองหลายๆ อย่างให้เป็นมาตรฐานใหม่ ตามข้อกำหนดของ คปภ. ที่มี 13 ข้อและสิ่งที่เพิ่มอย่างชัดเจนคือ หมวด 1 ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาลโดยจะมีความพิเศษที่ลูกค้าได้รับคือ ได้ตัดค่าบริการพยายาลออกและย้ายไปอยู่ในหมวดค่ารักษาพยาบาลแทน ทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์มากขึ้น อาจจะนอนห้องที่ราคาสูงขึ้นได้ หรือ ไม่ต้องจ่ายส่วนต่าง เช่น […]

ไม่ได้เป็นข้าราชการ มีเงินบำนาญไว้ใช้หลังเกษียณได้

มีหลายคนสอบถามเข้ามาว่าแบบประกันบำนาญที่อู๋โฆษณาไว้ ไม่ได้ทำงานข้าราชการก็ทำได้หรอ เป็นความสงสัยเดียวกับอู๋ก่อนที่จะมาเป็นตัวแทนเลยครับ เมื่อก่อนตอนเด็กๆ ยายจะพูดเสมอว่าอยากให้รับราชการจะได้มั่นคงและยังได้เงินบำนาญหลังจากเกษียณด้วย ความเข้าใจนี้เลยฝังหัวมาตลอดว่าการที่จะได้เงินบำนาญนั้นจะต้องทำงานเป็นข้าราชการเท่านั้น จนได้เริ่มทำงานและหาข้อมูลวางแผนการเงินก็เจอว่า เราไม่ได้เป็นข้าราชการก็วางแผนออมเงินสร้างบำนาญให้ตัวเองได้และพอได้มาเป็นตัวแทนประกันชีวิตก็ยิ่งเข้าใจมากขึ้นฃ แบบประกันบำนาญคอนเซ็ปต์คล้ายกับบำนาญของราชการครับ คือเราออมเงินในระหว่างที่ทำงานและไปรอรับบำนาญหลังจากเกษียณซึ่งส่วนใหญ่ก็จะอายุประมาณ 55-60 ปี และรับยาวไปถึงอายุ 85 ปีหรือ 99 ปีขึ้นอยู่กับเราวางแผน เงินบำนาญจะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเงินออมที่เราออม ซึ่งแบบประกันบำนาญได้ออกแบบแผนมาเรียบร้อยแล้ว การันตีเงินบำนาญที่ได้แน่นอน รู้ล่วงหน้าได้เลยจากดารางผลประโยชน์ (จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการเอาเงินไปลงทุน) สามารถวางแผนได้เลยว่าอนาคตอยากได้เงินบำนาญเท่าไหร่ และไม่ได้จำกัดในการทำด้วย เช่นบางท่านเริ่มทำงานนานแล้วคิดว่าเงินบำนาญในอนาคตจากเล่มเดิมอาจจะไม่พอก็สามารถทำเพิ่มได้ตามกำลังที่ไหว ส่วนประโยชน์ของบำนาญที่เราจะได้นอกจากเงินบำนาญหลังเกษียณก็มีส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น ความคุ้มครองเสียชีวิตระหว่างที่ยังจ่ายเบี้ยทุกๆ ปี ความคุ้มครองก็ขึ้นอยู่กับแผนที่เลือกทำด้วย เช่น แผนระยะยาวออมหลักหมื่นต่อเดือนได้ความคุ้มครองถึงหลักแสนหรือหลักล้าน ข้อนี้หลายคนยังไม่รู้คิดว่าออมไปแล้วจะได้บำนาญอย่างเดียว ตายไปไม่ได้อะไรเลย เป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ…เรายังได้ความคุ้มครองที่คนข้างหลังจะได้เงินก้อนนี้ไปใช้ แต่ถ้าเราไม่ได้เป็นอะไรอยู่ไปจนถึงอายุ 60 ตัวเราเองก็จะเป็นคนที่ได้รับบำนาญ สิทธิที่จะเอาไปลดหย่อนภาษี เพราะรัฐบาลมองว่าอยากให้คนไทยที่ไม่ใช่ข้าราชการที่รัฐบาลจะจ่ายบำนาญให้หลังเกษียณมีเงินใช้จะได้ไม่เป็นภาระของคนอื่นๆ จึงให้สิทธิเอาเงินที่เราจ่ายเบี้ยประกันหรือเงินออมไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย สูงสุด 200,000 บาทหรือไม่เกิน 15% ของเงินได้ (แต่รวมกับสิทธิลดหย่อนอื่นๆ เช่น SSF RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องไม่เกิน 500,000 บาท) หรือถ้าหมวดประกันชีวิตยังไม่ได้ใช้ก็เอามารวมได้อีก […]

1 2 3 13