4 ไอเดีย ได้ภาษีคืนปีนี้ เอาไปต่อยอดลดหย่อนยังไงดี

ช่วงต้นปีแบบนี้หลายคนน่าจะกำลังเริ่มยื่นภาษี หรือหลายคนยื่นภาษีเรียบร้อยอาจจะต้องจ่ายเพิ่มและบางคนก็ได้เงินได้เงินคืนแล้ว หลายคนได้เงินภาษีมาก็อาจจะแพลนเตรียมไว้แล้ว บางคนอาจจะเตรียมไว้หาตัวช่วยหรือเอาไว้ลดหย่อนของปีภัดไปเลยจะได้ไม่ต้องเก็บเงินเพิ่ม คนที่ไม่เคยวางแผนเรื่องการจ่ายภาษีมาก่อนอาจต้องกุมขมับเมื่อเห็นภาษีที่ต้องจ่าย ยิ่งเงินได้เยอะก็ยิ่งเสียภาษีเยอะ จะดีกว่าไหมหากสามารถลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่ายและยังได้ประโยชน์เพิ่ม โดยเริ่มตั้งแต่ต้นปีเลย 1. ทำประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท และปัจจุบันก็มีให้เลือกหลายประเภท เช่น เน้นการคุ้มครองชีวิต เน้นการออม เน้นคุ้มครองสุขภาพและอุบัติเหตุ การทำประกันชีวิตนั้นยังถือเป็นการสร้างเงินก้อนให้ลูกหลาน กรณีที่เสียชีวิตไปแล้ว บางประเภทยังมีเงินคืนให้ทุกปีอีกด้วย คุ้มสุดๆ 2. ทำประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพตัวเองลดหน่อยภาษีได้สูงสุดถึง 25,000 บาท และหากซื้อให้บิดา มารดาลดได้อีกสูงสุด 15,000 บาท การมีประกันสุขภาพถือเป็นหลักประกันให้คุณหมดห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนนี้ที่ค่ารักษาพยาบาลแพงจนน่าตกใจ ยิ่งสำหรับในผู้สูงอายุการมีประกันสุขภาพถือเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ แต่ทั้งนี้ควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้มีการยกเว้นโรค 3. ซื้อกองทุน ทั้งแบบ RMF ที่เป็นกองทุนเพื่อเกษียณอายุ ลดได้ 30% สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท และ SSF ที่เป็นกองทุนส่งเสริมการออมในระยะยาว ลดหย่อนได้ 30% สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท นอกจากจะได้ลดหย่อนภาษี […]

7 ขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ปี 2564

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมเอกสารให้พร้อม  บัตรประชาชน (เพื่อดูเลขหลังบัตร) เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (ทวิ 50) ทุกช่องทางรายได้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท จำนวนภาษีที่ถูกหักไว้ของแต่ละช่องทางรายได้ รายการลดหย่อนส่วนตัว เช่น คู่สมรส, บิดา มารดา, ผู้พิการ, ค่าคลอดบุตร เอกสารค่าลดหย่อน เช่น เบี้ยประกัน, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนรวม (SSF/RMF) อื่นๆ ขอแนะนำว่าให้ทำตาราง Excel และนำรายได้ทั้งหมด และค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน ไปเติมก่อนเพราะบางท่านอาจจะมีหลายได้หลายแหล่ง ในแบบฟอร์มกรอกรายได้ของสรรพากรจะให้กรอกรายได้รวม ถ้าเป็นตัวเลขที่ไม่ลงตัว เช่น บริษัทแรกรายได้ 567,890 บริษัทที่ 2 มีรายได้ 123,000 บาท ถ้ากดบวกเองในเครื่องคิดเลขอาจจะกดผิดได้ สำหรับค่าลดหย่อนก็ให้รวมด้วยเหมือนกัน เช่น บางท่านอาจจะมีประกันชีวิตหลายเล่มก็ต้องนำมารวมกันเป็นยอดเดียว เพราะฉะนั้นเติมตัวเลขใน Excel และรวมค่าออกมาจะชัวร์กว่า ขั้นตอนที่ 2 ยืนยันตัวตนและตรวจสอบข้อมูล หลังจากที่เตรียมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เข้าไปเว็บไซต์ของ สรรพากร […]

ภาษีธุรกิจออนไลน์

ในโลกปัจจุบันนี้ผมเชื่อว่านอกจากเงินเดือนเเล้ว เพื่อนๆหลายคนอาจมีธุรกิจออนไลน์เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการหาเงินไม่ว่าจะใช้เป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมก็ตาม ด้วยความที่โลกหมุนไวมากจึงทำให้กฎหมายตามธุรกิจประเภทนี้ไม่ทัน ส่งผลให้ธุรกิจออนไลน์อยู่นอกระบบภาษี กล่าวคือรัฐสูญเสียรายได้ในการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบธุรกิจนี้ไป ดังนั้นในปี 2562 ที่ผ่านมาจึงมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกาศออกมา และผมคิดว่าเพื่อนๆฃควรศึกษาเรื่องนี้ไว้เพื่อจะได้รู้ว่าตนเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีนี้หรือไม่ และบทความนี้จะมาพูดถึงภาษีธุรกิจออนไลน์กันครับ ความเป็นมา พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร หรือที่เรียกกันว่า E-Payment ประกาศเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 แต่เริ่มมีผลบังคับใช้จริงแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บภาษี และทำให้ธุรกิจออนไลน์กลับมาอยู่ในระบบภาษี กฎหมายนี้ไม่เพียงแต่มีขึ้นเพื่อตรวจสอบพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เท่านั้น แต่บุคคลธรรมดาทั่วไปอย่างเราที่มีจำนวนครั้งเงินเข้า และจำนวนรายรับตามเกณฑ์ก็จะถูกกรมสรรพากรตรวจสอบเช่นกัน ธุรกิจออนไลน์อยู่ในรายได้ประเภทไหน เงินที่เราได้จากการขายของออนไลน์นั้นจัดเป็น “เงินได้พึงประเมิน” (เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษี) ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (8) กล่าวคือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่เข้าประเภท 1-7 และไม่ได้รับการยกเว้นภาษี โดยผู้รับเงินตาม (8) ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั่นเอง ผู้มีหน้าที่แจ้งต่อกรมสรรพากร พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์อย่างเราไม่มีหน้าที่ต้องรายงานต่อกรมสรรพากร แต่ผู้ที่มีหน้าที่รายงานคือ สถาบันการเงิน ธนาคาร และผู้ให้บริการทางการเงิน อาทิ e-wallet เป็นต้น โดยจะรายงานเมื่อตรวจสอบพบว่าบัญชีนั้นๆเข้าเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด และมีความเป็นไปได้ว่าเจ้าของบัญชีนั้นทำธุรกิจออนไลน์ เกณฑ์ในการส่งข้อมูลมีดังนี้ ทำธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงินตั้งแต่ 3000 […]

ภาษีที่ดินเเละสิ่งปลูกสร้าง

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนต้องเคยได้ยินข่าวกฎหมายภาษีที่ดินเเละสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่กันมาบ้าง และหลายเคยอาจสัยว่า เราต้องเสียไหม เสียให้ใคร และเราต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละเท่าไหร่ ซึ่งบทความนี้จะมาไขข้อสงสัยนี้ครับ ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่า พ.ร.บ. ภาษีที่ดินเเละสิ่งปลูกสร้างฉบับปี 2562 นี้ได้มาแทนที่ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ยกเลิกไป หมายความว่าผู้ที่เคยเสียภาษีทั้งสองประเภทดังกล่าว ไม่ต้องเสียภาษีทั้งสองนี้อีก แต่ต้องเสียภาษีที่ดินเเละสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมายฉบับใหม่แทน โดยมีระยะเวลาในการจัดเก็บทุก 1 ปี ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่นี้ เดิมทีต้องเริ่มจัดเก็บตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 แต่ด้วยความที่เป็นกฎหมายใหม่และหลายๆอย่างยังไม่พร้อมจึงทำให้ต้องเลื่อนระยะเวลาบังคับใช้ออกไปเป็นเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมานี้แทน  วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อแก้ปัญหาที่ดินรกร้าง เพื่อให้ใช้ทำประโยชน์ต่างๆ เพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้พัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ใครบ้างที่ต้องเสีย บุคคลผู้เป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์หรือเจ้าของในโฉนดที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน ที่ดิน หรืออาคารชุด เป็นต้น และไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลล้วนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีนี้ หากเป็นกรณีเจ้าของร่วม เพียงคนใดคนหนึ่งชำระก็ถือว่าเป็นอันเรียบร้อยแล้ว เราเสียภาษีนี้ให้ใคร ภาษีนี้ถูกจัดเก็บโดยองค์การส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาลนั่นเอง ไม่มีการส่งเข้ารัฐ เพราะใช้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นนั้นๆโดยตรง รูปแบบที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะต้องเสียภาษีแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ เกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็น […]

PDPA คืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตเรา

สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนอาจเคยถูกเบอร์แปลกโทรมาเสนอขายสินค้า ขายผลิตภัณฑ์บริการหรือแม้กระทั่งแอทไลน์หรือช่องทางติดต่อต่างๆโดยที่ไม่เคยรู้จักเขาคนนั้นมาก่อน คำถามคือเขาติดต่อเราได้อย่างไร และเอาข้อมูลเรามาจากไหน และ PDPA จะมาช่วยแก้ปัญหานี้อย่างไร ซึ่งบทความนี้เราจะมาพูดถึงปัญหาเหล่านี้กันครับ ก่อนอื่นเลยต้องมารู้จักกับ PAPD ก่อนว่าคืออะไร และมีอะไรบ้าง? PDPA (Personal Data Protection Act B.E. 2562) หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 คือกฎหมายซึ่งมีขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อห้ามใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล (มีข้อยกเว้น) และบุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับข้อมูลจะต้องไม่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกัน (ตกลงกันในสัญญา) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้แก่ ชื่อ – นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ข้อมูลทางการเงิน เชื้อชาติ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามาก และการเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดีย หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆทำให้โลกของเราเชื่อต่อกันและวิถีชีวิตของเราสะดวกมากยิ่งขึ้นจึงนำมาสู่การลงทะเบียนในช่องทางต่างๆ เพื่อรับบริการและความสะดวกสบายเหล่านั้น และในการเป็นสมาชิกของสินค้า บริการ หรือสื่อโซเชียลออนไลน์ต่างๆ หลายคนคงเคยกดปุ่ม “Agree” เพื่อเป็นการให้ความยินยอมโดยที่ไม่เคยอ่านคำอธิบายด้านบนเลย […]

1 2 3 5