4 ขั้นตอนสู่การมีอิสระทางการเงิน

อิสรภาพทางการเงิน เป็นคำฮิตที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่และมีอยู่จริงไหม ขอสรุปเป็นประโยคสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายดังนี้ครับ อิสระทางการเงินคือ การได้เงินมาโดยที่เราไม่ต้องทำงานให้ได้เงินในรูปแบบ Active Income เพียงอย่างเดียวแต่เป็นการสร้างรายได้แบบ Passive Income โดยเป็นรายได้อีกทางหนึ่งจากดอกเบี้ยเงินฝาก เงินปันผล ผลตอบแทนจากการลงทุน ค่าเช่า เป็นต้น โดยเราไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ที่ไม่พอหรือค่าใช้จ่ายเรื่องไร้สาระ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นมาดูว่าต้องทำยังไงบ้างเพื่อให้มีอิสระทางการเงินกัน ทำบัญชีรายรับรายจ่าย การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นขั้นตอนแรก ที่ควรเริ่มสำหรับผู้ที่อยากมีอิสระทางการเงิน ขั้นตอนนี้ควรควรจดรายรับทุกอย่างที่ได้แต่ละเดือน และรายจ่ายทุกอย่างเช่นกัน โดยรายจ่ายควรแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ รายจ่ายประจำเช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าเดินทาง ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้ค่าแปรผัน คือค่าใช้จ่ายที่บางเดือนมี บางเดือนไม่มีเช่น ค่าอาหาร ค่าสังสรรค์ ค่าซื้ออุปกรณ์ในบ้าน ค่าช้อปปิ้ง เหตุผลที่ต้องทำเพราะ เราจะได้ประมาณการได้ว่า แต่ละเดือนเรามีรายได้จากที่ไหนบ้างเฉลี่ยเดือนละเท่าไหร่ และมีรายจ่ายเดือนละกี่บาท โดยควรทำติดต่อกันอย่างน้อย 1 ปี เผื่อให้เห็นภาพชัดเจน ถ้าไม่ทำขั้นตอนนี้ เราก็จะไม่รู้ว่าเงินที่ได้มาเอาไปใช้กับอะไรหมด และวางแผนไม่ได้ว่าควรมีรายได้เดือนละเท่าไหร่ถึงจะพอใช้โดยไม่ขัดสน ออมเงินให้ได้ 6 เท่าของค่าใช้จ่าย ขอย้ำอีกครั้งว่าการมีอิสระทางการเงินเพราะเราไม่อยากทำงานและยังมีเงินใช้โดยไม่ลำบาก หรือ อาจจะทำงานอยู่แต่ไม่ต้องทนทำงานที่เราไม่ได้รัก ไม่ต้องทำงานเป็นเวลา […]

สร้างรายได้ด้วยผลตอบแทนจากการลงทุน

“อยากอยู่เฉยๆ แล้วมีรายได้” เป็นประโยคยอดฮิตที่มักได้ยินบ่อยๆ ของคนรุ่นใหม่ที่มองหาช่องทางหาเงินมากกว่าการทำงานประจำแบบเดิมๆ บางคนบอกว่าลงทุนในหุ้น บางคนเป็นนายซื้อขาย บางคนเปิดกิจการเป็นของตัวเอง แต่การมีรายต่างๆนั้น เรียกว่าอะไรและไม่ต้องทำงานก็มีรายได้จริงหรอ มาดูกันครับ “Active Income” รายได้ที่มาจากการทำงานต่างๆ เช่น ทำงานประจำ จากการค้าขาย จากแรงงาน รายได้ส่วนนี้จะหายไปเมื่อเราไม่มีงานทำหรือถ้าวันไหนไม่ได้ขายของก็ไม่มีรายได้ ซึ่งรายได้ของคนกลุ่มใหญ่จะอยู่ส่วนนี้ การเพิ่มได้จาก Active Income ก็ขยันทำงานให้มากขึ้นกว่าเดิม หรือการพัฒนาตัวเองให้มีความสามารถมากขึ้น สามารถที่จะต่อรองเงินเดือนได้ หรือเรียนรู้ในสายอาชีพตัวเองให้เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นที่รู้จักของกลุ่มคนสายงานเดียวกัน ส่วนอาชีพค้าขายก็จะต้องขายของให้ได้มากขึ้น หาสินค้าใหม่ๆ หรือแผนการตลาดใหม่ๆให้ทันต่อโลกปัจจุบัน “Passive Income” เป็นรายได้ที่เราไม่ต้องทำงานแล้วหรือไม่ต้องทำงานทุกวัน รายได้ที่มาจากเราทำอะไรไว้สักอย่างแล้วได้เงินมา ตัวอย่างของ Passive Income ที่ใกล้ตัวที่สุด เช่น เราเอาเงินไปฝากธนาคารแล้วดอกเบี้ยเงินฝาก ผลตอบแทนจากการลงทุน หรือรายได้จากแหล่งอื่นเช่น สร้างอาพาร์ทเม้นให้เช่า ค่าเช่าอาคาร หรือค่าเช่าอื่นๆที่ปล่อยเช่าได้ เจ้าของก็รอเก็บค่าเช่าเป็นรายได้อีกทางนึง การเขียนหนังสือรอรอรับส่วนแบ่งจากการขาย หรือการแต่งเพลงแล้วขอเก็บค่าลิขสิทธิ์ แต่…ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยเงินฝากเป็น Passive Income ก็คงไม่เพียงพอ เพราะผลตอบแทนน้อยมาก ตัวอย่างเงินฝากประจำ เดือนละ 1,000 บาท […]

เตรียมเงินเท่าไหร่ให้พอใช้ก่อนลาออก

“เหนื่อยเหลือเกิน เบื่องาน อยากลาออก อยากไปทำธุรกิจของตัวเอง” คำบอกเล่าจากเพื่อนหลายคนที่ผมได้ยินมาทั้งมาบ่นและมาปรึกษาครั้งแล้วครั้งเล่าจนผมต้องตอบกลับไปว่ากูก็ “เหนื่อยเหลือเกิน เบื่องาน อยากลาออก รู้ไหมทำไมกูยังทำงานอยู่ทุกวันนี้ เพราะกูเคยลาออกแบบไม่ได้เตรียมพร้อมอะไรเลยมาก่อนไง โดยเฉพาะเรื่องเงิน ทำให้ต้องกลับมาทำงานประจำใหม่” ผมว่ามีไม่กี่เหตุผลหรอกที่เรายังทนทำงานกันอยู่ นั่นก็คือ “เงิน” ผมกับเพื่อนเราลองนั่ง Workshop กันว่าถ้าเราลาออกจะต้องเตรียมเงินสำรองไว้ประมาณกี่บาทเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยตามหลักการแล้วเราจะต้องมีเงินสำรองอย่างน้อย 3-6 เดือน ไม่ว่ากรณีจะลาออกไปทำธุรกิจส่วนตัว ลาออกเพราะตกงาน ลาออกก่อนหางานใหม่ได้ หรือเหตุผลอื่นๆ เพราะถ้าเราไม่มีการวางแผนเตรียมการเรื่องค่าใช้จ่าย อาจจะทำให้เราใช้เงินเพลินและเกินกำหนดก่อนสิ้นเดือนหรือเงินสำรองหมดก่อนครบ 3 เดือนได้ ผมยกตัวอย่างโดยเขียนรายรับ รายจ่าย ที่บันทึกไว้ในแอพ Money Lover ของแต่ละเดือนให้เพื่อนดูว่ามีอะไรบ้างพร้อมยกตัวอย่างไปว่า “ถ้ามึงจะลาออกมีเงินจำนวน XXX บาทนะเพื่อใช้จ่ายในแต่ละเดือน ถ้ามีพอแล้วก็ออกเลย ถ้ายังไม่พอเลิกบ่นแล้วกลับไปทำงานซะ…” ผมแบ่งค่าใช้จ่ายเป็น 2 หัวข้อหลักคือ ค่าใช้จ่ายจำเป็นยังไงก็ต้องจ่าย และค่าใช้จ่ายที่ควรมีสำรองไว้ จากที่ได้ดูในแอพบันมึกรายรับรายจ่ายมา ดังนี้ ค่าใช้จ่ายจำเป็น ขาดไม่ได้ ค่าอาหาร…….บาท x 3 เดือน เป็นเงิน…………..บาท ค่าที่อยู่อาศัย…….บาท […]

เลิกอ้าง 5 ข้อนี้แล้วจะมีเงินออม

ทุกคนรู้ว่าการเริ่มเก็บเงินนั้นเป็นสิ่งที่ยาก แต่ถ้าเราได้เริ่มทำจนติดเป็นนิสัยแล้ว เราแทบจะไม่รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ยากหรือลำบากอะไรเลย (มันจะยากแค่ช่วงเริ่มต้น) เหมือนกับการทำสิ่งอื่นๆ ที่รู้สึกว่ามันยากในช่วงแรกแต่พอเวลาผ่านไปเราเคยชิน ก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาเรื่องนึง ส่วนหนึ่งของการที่หลายคนที่ยังไม่ได้เริ่มออมเงินหรือไม่มีเงินเก็บอาจเป็นเพราะเหตุผลหลายอย่างของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ลองมาดู 5 เหตุผลที่เรามักใช้เป็นข้ออ้างแล้วเราไม่เริ่มเก็บเงินสักที ถ้าแก้ไขแต่ละข้อได้ รับรองว่ามีเงินเก็บเป็นก้อนแน่นอนครับ เงินเดือนน้อยไม่พอออม หลายคนคิดว่าการออมเงินจะต้องมีเงินเดือนเยอะ เงินเดือนเหลือใช้เท่าไหร่ค่อยเอามาออม บอกเลยว่าเป็นความคิดที่ผิด เพราะทฤษฎีการออมนั้นเมื่อได้เงินมาเราต้องออมก่อนแล้วค่อยใช้ ไม่อย่างนั้นก็คงจะเอาเงินไปใช้หมดและไม่เหลือออม อีกอย่างที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะเงินเดือนน้อยหรือมากก็ออมได้ เพราะน้องๆ หลายคนที่เริ่มออมเงินก็เป็นเด็กจบใหม่ที่ไม่ได้มีเงินเดือนสูงแต่มีวินัย มีความสนใจที่จะออมเงิน และออมเป็นเปอร์เซ็นตามรายได้ ลองเปลี่ยนทัศนคติการออมจากที่โฟกัสเรื่องรายได้สูงหรือน้อยเป็นเรื่องของการอยากออมเพื่อเป้าหมายดูนะครับ ค่าใช้จ่ายเยอะ บางคนบอกว่า ช่วงนี้มีค่าใช้จ่ายเยอะ จะออมเงินที่ไร มีรายจ่ายมาตลอด ไว้ไม่มีค่าใช้จ่ายค่อยเริ่มออม ข้อนี้ก็เป็นความคิดที่ผิดเหมือนกัน เพราะไม่มีช่วงไหนในชีวิตที่ไม่มีค่าใช้จ่าย  เราต้องแยกเงินออมกับเงินที่่่ใช้จ่ายออกจากกัน อย่างที่บอกคือได้เงินมาให้ออมก่อนเหลือแล้วค่อยใช้ ไม่ต้องออมมากก็ได้ ออมพอเหมาะสมที่เราจะไม่ลำบาก มีหนี้ที่ต้องจ่าย ช่วงนี้หนี้เยอะ ไม่พร้อมออมเงิน ผมอยากบอกว่าใครๆ ก็มีหนี้ เราต้องแยกให้ออกระหว่างหนี้กับเงินออม ถ้าเรารอให้หมดหนี้ ก็คงไม่มีเงินออม เพราะความอยากของเรามีตลอดเวลา หนี้ชิ้นนี้หมดก็มีหนี้อันใหม่ หากเป็นหนี้ก้อนใหญ่ เช่น บ้านกว่าจะผ่อนหมดก็ 10-20 ปี หรือระหว่างผ่อนบ้านก็อาจจะอยากได้โทรศัพท์มือถือใหม่ทำให้เป็นหนี้เพิ่มได้ ตัวคนเดียวออมไปทำไม สำหรับคนที่คิดว่าตัวอยู่ตัวคนเดียว […]

แบ่งเงินเดือนยังไงให้พอใช้ถึงสิ้นเดือน

เชื่อไหมครับว่าหลายคนที่มีปัญหากันส่วนใหญ่เกิดจากการไม่วางแผนการใช้เงินว่าต้องใช้สำหรับอะไรบ้าง หรือคิดว่าจะประหยัดอย่างเดียวแต่ประหยัดไม่ถูกวิธี มาดูวิธีแบ่งเงิน 3 ส่วน ซึ่งเป็นวิธีสุดคลาสสิคที่คนนิยมกันมาก ผมและคนรู้จักอีกหลายคนก็ได้ทำแบบนี้เหมือนกัน แต่อาจจะปรับสัดส่วนแตกต่างกันไปให้เหมาะสมกับไลฟ์ไสตล์และการใช้ชีวิตตัวเราเอง มาดูวิธีการแบ่งเงินเดือนว่าต้องทำยังไงให้พอใช้ถึงสิ้นเดือนกันครับ 1. รายจ่ายประจำ คือ รายได้ที่จำเป็นต้องจ่ายในทุกๆ เดือน เช่น ค่าผ่อนคอนโด/ค่าหอพัก/ค่าบ้าน ค่าส่วนกลาง ค่าเดินทาง เงินสำหรับให้พ่อแม่ หรือผ่อนสินค้าต่างๆ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ผมให้ส่วนนี้สูงสุดไม่เกิน 60% (หรือประมาณ 50-60%) ของรายได้ ถ้าเมื่อไหร่อยากได้อะไรใหม่ๆ ต้องมาดูว่าส่วนนี้เกินหรือไม่ ถ้าเกิน 60% จะทำให้ส่วนอื่นเราลดลงและอาจจะมีปัญหาได้ 2. รายจ่ายในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อดำรงชีพ เช่น ค่าอาหาร ค่าเที่ยว ค่าสังสรรค์กับเพื่อน กินข้าวนอกบ้าน ซื้อของใช้ส่วนตัวหรือเสื้อผ้าใหม่ส่วนนี้จะตั้งไว้ 35% (หรือประมาณ 35-45%) โดยจะไม่ให้เกินนี้ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะหลายคนที่ไม่ได้วางแผน อาจจะเอาเงินไปใช้กับส่วนนี้จนเงินก่อนสิ้นเดือนได้ 3. แบ่งเงินออม เงินลงทุน โดยคำแนะนำตามหนังสือหรือตำราต่างๆ อาจจะแนะนำให้เริ่มออมเงินที่ 10% […]

1 12 13 14 15