เหตุผลที่ต้องเริ่มออมเงิน ตั้งแต่วันที่ยังมีรายได้

มีเรื่องมาเล่าเป็นเรื่องเมื่อตอนผมเริ่มทำงานที่แรกเลยครับ วันนั้นได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินที่บริษัทจัดให้ มีกราฟนึงน่าสนใจมาก ผมได้ถ่ายรูปไว้และเขียนเป็นบล๊อกไว้ในเว็บไซต์ของตัวเอง พอได้เข้าไปอ่านอีกครั้งยอมรับว่าเขียนได้แย่มาก อ่านแล้วงงไปหมด ฮ่าๆ วันนี้ขอยกกราฟนั่นมาเขียนอธิบายใหม่อีกครั้ง หวังว่าจะอธิบายได้เข้าใจและละเอียดมากขึ้นตามประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้และฝึกฝนมาหลายปี ในกราฟแบ่งข้อมูลของเป็น 3 ช่วงคือ ก่อนอายุ 30 ปี, อายุ 30-60 ปีและอายุ 60 ปีขึ้นไปหลายคนพอเดาได้ว่าสาเหตุที่แบ่งแบบนี้เพราะแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุตามรายได้หรือการทำงานของเรานั่นเอง ช่วงก่อนอายุ 30 ปี เป็นช่วงที่เริ่มทำงานกัน บางคนเริ่มตอนอายุ 20 ปี บางคนเริ่ม 25 ปีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่ยังมีรายได้ไม่เยอะแต่มีรายจ่าย ตามการใช้ชีวิตในสังคมของแต่ละคน ยิ่งถ้าเป็นคนตามกระแสทุกอย่างอาจจะต้องเป็นหนี้เลยก็ได้ ช่วงอายุ 30-60 ปี หลังจากทำงานมาสักพัก มีประสบการณ์ สามารถเปลี่ยนงานหรือหางานที่มีรายได้สูง แต่อย่าลืมว่าบางคนรายได้ที่สูงมาพร้อมกับราจ่ายที่สูงขึ้นเหมือนกัน อาจจะเป็นตำแหน่งงานที่ต้องเจอคน ต้องดูแลลูกน้องหรือค่าจ่ายส่วนตัวตามฐะนะทางสังคม ช่วงอายุ 60 ปี ขึ้นไปใกล้วัยเกษียณ รายได้จากงานประจำที่เรียกว่า Active Income ที่ได้ตลอดก็จะเริ่มหมดไปเพราะไม่ได้ทำงานแล้ว อาจจะเหลือรายได้เสริมบ้าง ที่เรียกว่า Passive […]

โบนัสออก เงินเดือนเข้า รายจ่ายมารออยู่แล้ว

เงินเดือนเข้าแล้วพร้อมโบนัส ดีใจได้ 5 ชม. ก็เงินหมดแล้วเพราะชีวิตนี้มีค่า ฮ่าๆ รายจ่ายมาพร้อมกันเลย ประกันชีวิตแม่ ประกันชีวิตพ่อ ประกันชีวิตและสุขภาพตัวเอง ค่าส่วนกลางคอนโด กยศ. ดีใจที่จ่ายหนี้หมดแล้วที่เหลือเอาไปออมนิดหน่อยแล้วก็ช้อปปิ้งต่อ (ตามหลักการวางแผนการเงินคือใช้หนี้ ออม เหลือแล้วค่อยซื้อของที่อยากได้) บางคนอาจจะสงสัยว่าเห้ย ทำไมสร้างหนี้เยอะจัง ทำงานมาแทนที่จะได้ใช้เงินซื้อของที่อยากได้แต่เอาไปใช้หนี้หมด ลองมาดูตัวอย่างกันครับ ผมแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ประเภทคือหนี้ดีหรือหนี้ที่มีประโยชน์ กับหนี้ไม่ดีหรือหรือหนี้ที่ไม่เกิดประโยชน์ ซึ่งหนี้ทั้งสองแบบของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกันจะต้องดูหนี้แต่ละประเภทและความจำเป็นด้วย เช่น ตามหลักทฤษฎีควรซื้อบ้านก่อนซื้อรถเพราะบ้านคือทรัพย์สินที่มูลค่าเพิ่มขึ้น แต่รถคือทรัพย์สินที่มูลค่าลดลง แต่ๆๆๆ ถ้าเราทำงานที่ต้องเดินทางไกล ต้องเจอลูกค้า ต้องแบกของเยอะแยะ การซื้อรถก่อนบ้านเพื่อให้เราสามารถทำงานสร้างรายได้ ก็ไม่ไม่ใช้สิ่งที่ผิด แล้วผมมองรายจ่ายของตัวเองข้างบนว่ายังไง?? ประกันชีวิตของพ่อ แม่ ผมเป็นลูกคนเดียว พ่อแม่ไม่รู้และไม่สนใจเรื่องประกัน ผมมองว่าถ้าพ่อแม่เป็นอะไรไปใครคือคนที่ต้องรับภาระทั้งหมด ( ไม่ได้ว่าแช่งแต่มองถึงอนาคตและวางแผน) คนนั้นก็คือผมเอง ที่จะต้องหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถ้าพ่อแม่ไม่มีประกันคนที่เป็นหนี้ก็คือตัวผมเอง ตอนนี้ก็อยู่ที่เราแล้วว่าจะยอมจ่ายเบี้ยประกัหรือไปกู้เงินก้อนมาตอนที่จำเป็นแต่ถ้าสมมติว่าพ่อแม่ผมทำประกันให้ตัวเองแล้ว หรือพ่อแม่หลายๆ คนทำประกันให้ตัวเองแล้วยังจะทำให้ท่านอีกไหม ผมตอบว่าก็ยังจะทำ เพราะไม่รู้ว่าเงินที่ได้จะสักกี่บาทจะพอไหม และที่สำคัญประกันมันสามารถระบุผู้รับผลประโยชน์ได้เราสามารถใส่ชื่อเราเองได้เพราะเราคือคนจ่ายเบี้ย ค่าส่วนกลางคอนโด คือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายอยู่แล้วไม่สามารถเลี่ยงได้ขอผ่านครับ กยศ. ก็คือหนี้ที่เรากู้มาเพื่อเรียนหนังสือ […]

ทำไมเราต้องวางแผนการเงิน

หลายคนบอกว่าในชีวิตมีเรื่องให้วางแผนเยอะแล้ว การเงินก็ต้องวางแผนอีกหรอ การเงินเป็นปวดหัวนะไม่อยากยุ่งเลย วันนี้มาดู 3 เหตุผลที่ว่า ทำไมเราต้องวางแผนการเงินกัน? พูดถึงเงิน ใครๆ ก็อยากได้ อยากมีเงินใช้กันใช่ไหมครับ แม้ว่าเงินจะซื้อไม่ได้ทุกอย่างมแต่หลายๆ อย่างที่เราอยากได้ต้องใช้เงินซื้อ อย่างน้อยการมีเงินก็ทำให้เราทีทางเลือกมากกว่า เพราะเราอายุเยอะขึ้นทุกวัน เริ่มต้นจากเด็กที่ไม่ต้องคิดมากเรื่องเงิน เพราะมีพ่อแม่เป็นคนหาให้ใช้ แต่พอโตมา ต้องทำงานหาเงินเอง เราก็จะรู้จักค่าของเงินมากขึ้น เพราะการจะได้เงินแต่ละบาทไม่ใช่ง่ายๆเลย ในช่วยวัยทำงานเป็นช่วงที่ควรวางแผนการเงินมากที่สุดเพราะเป็นนช่วงที่เรามีรายได้ ถ้าไม่รีบวางแผนตั้งแต่ตอนนี้อาจจะส่งผลต่อวันที่เกษียณ แก่ไปไม่มีเงินเก็บใช้ หรือมีเงินแต่ไม่พอใช้ เพราะหลังเกษียณเราต้องใช่ชีวิตอยู่แบบไม่มีรายได้ประมาณ 20 ปี ดังนั้น การวางแผนการเงินในระยะยาวย่อมดีกว่าใกล้ถึงเวลา เพราะมีความฝัน ผมเชื่อว่าหลายคนทำงานทุกวันนี้ก็ต้องมีความฝันบางแหละ อยากของชิ้นใหญ่ เช่น บ้าน รถ หรือของเล็กๆ เช่น นาฬิกา มือถือ มีสักกี่คนที่สามารถซื้อของที่อยากได้โดยเอาเงินที่มีมาซื้อได้เลยโดยไม่ต้องวางแผนบ้าง ถ้าเราไม่ใช่หนึ่งคนในนั้นอาจจะต้องเริ่มวางแผนการการเงินกันแล้ว เป้าหมายของเราคืออะไร ต้องใช้เงินเท่าไหร่ ดูเทคนิคการวางแผนการเงินได้ที่ ….www.mtl-insure.com/article/เทคนิควางแผนการเงิน/ มูลค่าของเงินลดลง หลายคนคิดว่าแค่การมีเงินเก็บไว้ในธนาคาร มีเงินสำรองฉุกเฉินแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว แต่อย่าลืมว่า “เงินเฟ้อ” ทำให้มูลค่าเงินของเราลดลง เงินเฟ้อทำให้มูลค่าของเงินลดลงยังไงมาดูตัวอย่างกันครับ เช่น ปีที่แล้ว […]

ออมเงินให้ได้ต้ามเป้าด้วยเทคนิค “SMART”

การออมเงินโดยไม่มีเป้าหมายก็เหมือนขับรถอยู่บนถนนแต่ไม่มีมีการวางแผนและเลือกเส้นทาง ขับเท่าไหร่ก็ไม่ถึงปลายทางสักที และยังสิ้นเปลืองน้ำมัน เสียเวลา และสิ้นเเปลืองพลังงานอีกด้วย วันนี้ถ้าทุกอย่างอยากออมเงินให้สำเร็จอย่างที่ต้งอาการ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง ผมมีเคล็ดลับดีๆ เดี่ยวกับการออมเงินให้ได้ตามเป้าหมายมาบอก เทคนิคนี้ผมได้เอามาใช้กับตัวเอง ใช้จริง ทำจริง เห็นผลจริง และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์เลยนำมาแบ่งปันต่อ นั่นก็คือ  “การออมเงินแบบ SMART” SMART มาจากคำว่าดูดี ดูฉลาด หรืออาจจะเป็นการออมเงินที่ฉลาดก็ได้ ในอักษรแต่ละตัวนั้นยังมีความหมายแฝงอยู่สามารถอธิบายความหมายแต่ละตัวเป็นหลักการออมเงินได้ ดังนี้ S : Specific คือ มีความชัดเจนโดยระบุไปเลยว่าเงินที่ต้องการเก็บก้อนนี้สำหรับทำอะไร M : Measurable คือ ระบุจำนวนเงินที่ต้องการเก็บ เช่น 50,000 หรือ 100,000 บาท เพราะถ้าเราไม่ระบุจำนวนเราก็จะทำไปให้เรื่อยๆ เอื่อยเฉื่อยโดยที่ไม่ได้โฟกัสเป้าหมายจริงๆ ว่าต้องให้ถึงเป้าหมายเท่าไหร่ A : Achievable คือมีวิธีการหรือแผนการที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จ ตัวอย่าง ถ้าอยากมีเงินเก็บ 50,000 แต่ทำงานประจำอย่างเดียวก็อาจจะเห็นผลช้าอาจจะคิดหาวิธีสร้างรายได้เพิ่มจากช่องทางอื่นๆ R : Realistic คือ วิธีการหรือแผนการที่เราคิดไว้ต้องทำได้จริงๆ เช่น […]

ดอกเบี้ยเงินฝาก – ดอกเบี้ยเงินกู้

ในยุคที่ดอกเบี้ยปรับลงแล้วลงอีก จนแทบจะไม่เหลืออะไร ยุคที่เศรษฐกิจมองไม่เห็นเลยว่าอนาคตจะเป็นยังไง หลายคนที่กำลังคิดลงทุนหรือมีเงินทุนอยู่แล้ว ก็คงวางแผนว่าจะเอาเงินที่มีอยู่ไปไว้ที่ไหนดี เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคาร วันนี้ใครยังฝากเงินทั้งหมดไว้ในธนาคารอยู่บ้าง คุ้มค่าไหมกับดอกเบี้ยเงินฝากทีไ่ด้?? หากมีเงินสำรองสภาพคล่องเกินความจำเป็น ลองเปลี่ยนมากเป็นการออมในประกันชีวิตเพื่อสร้างความคุ้มครองชีวิตและผลตอบแทนกันดีกว่าไหมครับ? และไม่นานมานี้.. แบงก์ชาติมีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 0.75% เหลือ 0.50% ซึ่งถือเป็น จุดต่ำสุดใหม่ ตั้งแต่ประเทศไทยมีการกำหนดดอกเบี้ยนโยบายขึ้นมา ทำให้ธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงด้วย ลูกค้าที่กู้เงินซื้อบ้านแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัวจะได้ประโยชน์จากการปรับลงของดอกเบี้ยด้วย ตัวอย่างผมกู้ซื้อบ้านในปีนี้คิดอัตราดอกเบี้ยแบบ MRR-1.8% ของธนาคารกสิกรไทย แสดงว่าเงินกู้ของผมจะถูกคิดด้วยดอกเบี้ย 5.47%-1.8% = 3.67% มีใครเป็นหนี้บ้านกับธนาคารอยู่บ้างครับ ตอนนี้คิดดอกเบี้ยแบบไหนกันบ้าง?? ปีหน้าจะรีไฟแนนซ์แล้ว มีคำแนะนำบ้างไหมครับ =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

1 5 6 7 8 9 15