ภาพแสดงผลประโยชน์
จุดเด่น
- รับค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 300,000 บาท จากกรณีอุบัติเหตุ
- คุ้มครองสูงสุด 20,000,000 บาท หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือ สูญเสียอวัยะวะ จากอุบัติเหตุสาธารณะ
-
ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพียงแค่แสดงบัตร Easy PA Credit
"อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา" พร้อมรับมือทุกความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ กับ PA Safety จ่าย 1 ปี คุ้มครอง 1 ปี ประกันอุบัติเหตุที่พร้อมดูแลคุณและมอบความคุ้มครองสูงสุด 20,000,000 บาท(1) พร้อมค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงสุด 300,000 บาท(2) โดยไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อเข้ารักษาในโรงพยาบาลคู่สัญญา
เอกสารที่ใช้สมัคร/ช่องทางการชำระเงิน
- สำเนาบัตรประชาชน
- โอนเงินเข้าบัญชีบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
- จ่ายผ่านบัตรเครดิต
- ซื้อประกันออนไลน์ได้ง่ายๆ ด้วยวิธี Digital Face to Face
ช่องทางการสมัคร/ติดต่อตัวแทน
คำถามที่พบบ่อย
Q: ใครที่สามารถทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Safety ได้บ้าง
A:
- แผน 1 200,000 บาท : ทำได้ตั้งแต่อายุ 30 วัน - 75 ปี
- แผน 2 500,000 บาท : ทำได้ตั้งแต่อายุ 30 วัน - 75 ปี
- แผน 3 1,00,000 บาท : ทำได้ตั้งแต่อายุ 30 วัน - 75 ปี
- แผน 4 1,500,000 บาท : ทำได้ตั้งแต่อายุ 16 - 75 ปี
- แผน 5 2,000,000 บาท : ทำได้ตั้งแต่อายุ 16 - 75 ปี
- แผน 6 5,000,000 บาท : ทำได้ตั้งแต่อายุ 16 - 75 ปี
- แผน 7 10,000,000 บาท : ทำได้ตั้งแต่อายุ 16 - 60 ปี
ทั้งนี้การพิจารณารับประกันเป็นไปตามเงื่อนไขของบริษัทฯ
Q: ลักษณะอาชีพมีผลกับการพิจารณารับประกันของการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Safety หรือไม่
A: ลักษณะอาชีพมีผลกับการพิจารณารับประกันของการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล สำหรับการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Safety บริษัทฯ จะรับประกันภัยเฉพาะประเภทอาชีพ ชั้น 1, 2 และ 3 (ขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่ผู้ขอเอาประกันภัยเลือก) โดย
- ประเภทอาชีพ ชั้น 1 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านบริการ หรือการจัดการ งานเสมียนหรืองานขาย ในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน และรวมถึงการทำงานฝีมือที่ไม่ใช้เครื่องจักร ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับต่ำ
- ประเภทอาชีพ ชั้น 2 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการ หรือพนักงานในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งทำงานนอกสำนักงานเป็นครั้งคราว หรือเป็นผู้ปฏิบัติทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพเฉพาะหรือกึ่งอาชีพเฉพาะ และบางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องจักร หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ใช้วิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งเกือบตลอดเวลา ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับปานกลาง
- ประเภทอาชีพ ชั้น 3 หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในด้านช่าง หรือกระบวนการผลิต หรือการบริการ ซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนักหรือเป็นผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขนส่งที่มีการเดินทางหรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง
Q: ต้องตรวจสุขภาพมั้ย
A: ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ผู้ทำประกันต้องแจ้งข้อมูลสุขภาพตามจริงให้บริษัททราบ โดยการขอตรวจสุขภาพจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัท
Q: ถ้าทำประกันนี้แล้วจะยังสามารถซื้อสัญญาอื่นเพิ่มเติมได้มั้ย
A: ไม่สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายกรมธรรม์ได้
Q: ประกันนี้สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้มั้ย
A: สามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้บางส่วน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 135
Q: ประกันภัยอุบัติเหตุ PA Safety ให้ความคุ้มครองยังไงบ้าง
A: ให้ความคุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร รวมถึงจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ตามที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อไว้ และผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลต่อวันที่ได้ซื้อไว้ (สำหรับแผน 6 และ 7) ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุ รวมการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย ขยายความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ และอุบัติเหตุสารธารณะ โดยบริษัทให้ความคุ้มครองจากการเกิดอุบัติเหตุ ตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วโลก เป็นระยะเวลา 1 ปี
Q: การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Safety ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์หรือไม่
A: ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง และทุพพลภาพถาวร จากการขับขี่หรือโดยสารจักรยานยนต์ และรวมถึงจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ตามที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อไว้
Q: หากเข้ารับการรักษาพยาบาลที่เกิดจากอุบัติในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล ต้องสำรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้าหรือไม่
A: ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล เมื่อแสดงบัตร Easy PA Credit ในการเข้ารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลคู่สัญญา ตามวงเงินค่ารักษาพยาบาลที่ท่านเลือก
ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่สะดวกเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลคู่สัญญาของบริษัทฯ ผู้เอาประกันภัยสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นๆ ได้ โดยสำรองค่าใช้จ่ายและนำใบรับรองแพทย์พร้อมใบเสร็จตัวจริงมาเบิกได้ที่บริษัทฯ
Q: ผู้ทำประกันภัยสามารถเรียกร้องผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (สำหรับแผน 6 และ 7) ได้ในกรณีใดบ้าง
A: ในกรณีที่การบาดเจ็บที่ได้รับทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาลติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งต้องลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยใน โดยได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ตามข้อบ่งชี้ซึ่งเป้นมาตรฐานทางการแพทย์ บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ให้ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย
Q: ประกันภัย PA Safety จะไม่คุ้มครองในกรณีใดบ้าง
A: ประกันภัย PA Safety จะไม่คุ้มครองในกรณีความสูญเสีย หรือความเสียหายที่เกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- การกระทำของผู้ทำประกันภัยขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา สารเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษ จนไม่สามารถครองสติได้
คำว่า “ขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา” นั้น ในกรณีที่มีการตรวจเลือดให้ถือเกณฑ์มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป - การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง
- การปวดหลัง อันมีสาเหตุมาจาก หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท (Disc herniation) กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative disc disease) กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) และภาวะที่มีรอยแตก (Defect) หรือพยาธิสภาพที่กระดูกสันหลังส่วน Pars interarticularis (Spondylolysis) เว้นแต่มีการแตกหัก (Fracture) หรือเคลื่อน (Dislocation) ของกระดูกสันหลังอันเนื่องมาจากอุบัตเหตุ
- สงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้ายสงคราม ไม่ว่าจะได้มีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม หรือสงครามกลางเมือง การแข็งข้อ การกบฏ การจลาจล การนัดหยุดงาน การก่อความวุ่นวาย การปฏิวัติ การรัฐประหาร การประกาศกฏอัยการศึก หรือเหตุการณ์ใดๆ ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึก
5. การก่อการร้าย เป็นต้น
เงื่อนไขแบบประกัน
ข้อยกเว้นความคุ้มครอง
ข้อยกเว้นความคุ้มครอง ของการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล PA Safety มีทั้งหมด 20 ข้อเช่น ไม่คุ้มครองความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆอันเกิดจาก หรือสืบเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. การกระทำของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา สารเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษจนไม่สามารถครองสติได้ "ขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา" ในกรณีที่มีการตรวจเลือดให้ถือเกณฑ์มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด ตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
2. การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง
3. การปวดหลัง อันมีสาเหตุมาจาก หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท (Disc Herniation) กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative disc disease) กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) และภาวะที่มีรอยแตก (Defect) หรือพยาธิสภาพที่กระดูกสันหลังส่วน Pars interarticularis (Spondylolysis) เว้นแต่มีการแตกหัก (Fracture) หรือเคลื่อน (Dislocation) ของกระดูกสันหลังอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ
4. สงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้ายสงคราม ไม่ว่าจะได้มีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม หรือสงครามกลางเมือง การแข็งข้อ การกบฎ การจลาจล การนัดหยุดงาน การก่อความวุ่นวาย การปฏิวัติ การรัฐประหาร การประกาศกฎอัยการศึก หรือเหตุการณ์ใดๆ ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึก
5. การก่อการร้าย เป็นต้น