จุดเริ่มต้นในการวางแผนการเงินของพี่เล็ก | มีเรื่องมาเล่า

#มีเรื่องมาเล่า เมื่ออาทิตย์ที่แล้วในงานรับรางวัลที่บริษัทผมได้มีโอกาสไปกินข้าวกับพี่เล็ก และได้ฟังเรื่องต่างๆ ที่เล่ากึ่งสอนให้พวกเราฟัง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เลยได้โทรไปขอให้พี่เล็กมาเล่าให้ฟังอีกครั้งเพื่อเอามาแบ่งให้กับคนอื่นฟัง ทั้งเรื่องราวของการใช้ชีวิตและวางแผนการเงิน ผมรู้จักพี่เล็กมาประมาณ 5-6 ปีในฐานะรุ่นพี่ตัวแทนประกันชีวิตที่บริษัท และได้มีโอกาสเจอกันบ่อยๆ มีโอกาสได้เรียนรู้การทำงานครั้งคราวที่เข้าออฟฟิศ ได้คำแนะนำจากพี่เล็กตั้งแต่วันแรกๆ ที่เข้ามาเป็นตัวแทนยังจำคำแนะนำวันนั้นได้ดี เวลาผ่านไปไวมาก ล่าสุดที่คุยกันพี่เล็กเล่าว่าปีนี้เริ่มรับบำนาญเป็นปีที่ 2 แล้ว ผมแอบตกใจเพราะเห็นพี่เล็กดูสดใส มีแรงในการทำงาน ออกไปเจอลูกค้า และยังดูมีความสุข ถึงแม้ว่าเรื่องเกษียณจะเป็นเรื่องไกลตัวอีกนานที่ตัวเองจะไปถึง วันนี้ผมอาจจะอยู่ในวงการเรื่องวางแผนการเงิน วางแผนเกษียณ แต่ก็อาจจะยังไม่ได้สัมผัสกับคำว่าการเกษียณจริงๆ เพียงแต่ให้คำแนะนำได้ในส่วนของการวางแผนเท่านั้น ถ้าพูดถึงเรื่องของคนเกษียณจริงๆ คงไม่มีใครที่ให้คำแนะนำได้ดีกว่าคนที่เกษียณแล้วและผ่านประสบการณ์มาเล่าด้วยตัวเอง เป็นที่มาที่อยากให้พี่เล็กได้มาเล่าให้ทุกคนฟัง จุดเริ่มต้นของการทำงาน “ก่อนหน้านี้พี่ก็เป็นพนักงานออฟฟิศคนนึงนะน้องอู๋ทำงานมาหลายปีตั้งแต่เรียนจบ ในวันนั้นยังไม่ได้มีเป้าหมายในชีวิตว่าจะไปทางไหน ยังทำงานเหมือนเดิม ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ” แต่ด้วยความที่ต้องเป็นคนหาเงินเรียนเองตั้งแต่เรียน จึงเห็นความสำคัญของการออมเงินและรู้จักประหยัดตั้งแต่เด็ก จุดเริ่มต้นที่คิดเรื่องวางแผนชีวิต พี่เล็กมีโอกาสไปเยี่ยมเพื่อนและคนรู้จักที่โรงพยาบาลหลายๆ ครั้งเราเห็นความแตกต่างและความเหลื่อมล้ำของการักษา โรงพยาบาลรัฐรอคิวนานมาก แต่อีกคนไปรักษาโรงพยาบาลเอกชนใช้เวลาแป้บเดียว พี่เล็กกลับมานั่งคิดและมองว่าถ้าเรื่องพวกนี้เกิดขึ้นกับตัวเองจะต้องทำยังไง เราคงไม่อยากไปนั่งรอคิวนานๆ เพื่อรอรักษาเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนประกันสุขภาพและเริ่มวางแผนตั้งแต่ตอนนั้น “เริ่มเบื่อสิ่งที่ทำอยู่ มองหาสิ่งใหม่ๆ” พี่เล็กทำงานมาหลายอย่างมาก ในวันที่พี่เล็กทำงานเดิมอยู่มีน้องที่รู้จักมาปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องประกันเพราะเห็นว่าพี่เล็กมีการวางแผนการเงินที่ดีเลยขอคำแนะนำจึงได้แนะนำตัวแทนให้รู้จัก แต่น้องบอกว่าอยากให้พี่เล็กเป็นคนดูแลเพราะเชื่อใจ พี่เล็กนึงจึงตัดสินใจสมัครเป็นตัวแทน เพราะตัวพี่เล็กเองก็สนใจเรื่องวางแผนการเงินอยู่แล้วจึงมองว่าเป็นโอกาสที่ดีต่อตัวเองและคนรอบตัว “ถึงเวลาเกษียณและยังไม่เกษียณ” ถ้าวันนี้พี่เล็กยังทำงานประจำที่เคยทำอยู่ก็คงจะเริ่มเกษียณหรือเตรียมตัวเกษียณแล้ว […]

อยากออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ เลือกทำประกันบำนาญหรือกองทุนรวม RMF ดีกว่ากัน?

วันนี้อยากมาเล่ารายละเอียดการเลือกทำประกันบำนาญไว้ใช้หลังเกษียณ กับกองทุนรวม rmf พร้อมกับเอาไปลดหย่อนภาษี จากคำถามที่ลูกค้าถามทาในเพจว่าจะเลือกแบบไหนดี แบบไหนเหมาะสมและคิดว่าคงจะมีอีกหลายท่านที่กำลังเปรียบเทียบอยู่กว่าแบบไหนถึงจะเหมาะ อู๋ขอเรียกประกันบำนาญและกองทุนรวม RMF ว่าเป็นสินค้านะครับ แต่เป็นสินค้าในหมวดการเงิน มาดูกันครับ สิ่งแรกที่ต้องรู้เลยก็เรื่องลดหย่อนภาษี คือทั้ง 2 ตัวลดหย่อนอยู่ในหมวดเดียวกัน ซึ่งหมวดนี้จะมีหลายอย่างด้วยกันเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กบข.,กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันบำนาญ ฯลฯ ซึ่งในหมวดนี้รวมกันทั้งหมดไม่เกิน 500,000 บาท มาเจาะลึกกองทุนรวม RMF และประกันบำนาญกัน ถึงแม้ว่าทั้ง 2 ตัวจะลดหย่อนรวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาทแต่เค้าก็มีเงื่อนไขในแต่ละตัวอีก กองทุนรวม RMF ต้องไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่เสียภาษี, ประกันบำนาญต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่เสียภาษีและไม่เกิน 200,000 บาท ฉะนั้นจะต้องดูให้ดีด้วยถึงแม้ประกันบำนาญจะลดหย่อนได้สูงสุด 200,000 บาทแต่มีกำหนดว่าห้ามเกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีด้วย เลือกอะไรดีระหว่างกองทุนรวม RMF และประกันบำนาญ สินค้าทุกตัวทั้ง 2 […]

ประกันสุขภาพ Elite Health Plus จ่ายค่าห้องเรทห้องเดี่ยวมาตรฐานหรือวงเงิน 10,000 บาท คือยังไง?

วันนี้อยากมาเล่ารายละเอียดแผนสุขภาพ อีลิทเฮลท์ พลัส จากคำถามที่ลูกค้าถามทาในเพจและคิดว่าคงจะมีอีกหลายท่านที่งงกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาลของแผนอีลิทเฮลท์ พลัสครับ ก่อนอื่นขอแยกแผนให้ชัดเจนระหว่าง อีลิทเฮลท์ แผนเดิม และ อีลิทเฮลท์ พลัสแผนใหม่ครับ เพราะอาจจะมีบางท่านเคยซื้ออีลิทเฮลท์ แผนเดิมไว้ ซึ่งตอนนี้ปิดขายไปแล้ว ซึ่งแผนอีลิทเฮลท์ แผนเดิมจะจ่ายค่าห้องเป็นแบบตามวงเงินของแผน เช่นแผน 20 ล้านจะได้ค่าห้อง 10,000 บาท แผน 40 ล้านได้ค่าห้อง 12,000 บาท โดยในวงเงินนี้จะเป็น” ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาล และรวมค่าบริการพยาบาลด้วย” แบบนี้จะไม่มีปัญหาเพราะปกติประกันสุขภาพแบบเดิมมีมานานแล้วและหลายคนก็เข้าใจกันอยู่แล้วเช็คกับเว็บโรงพยาบาลแล้วเอามาวางแผนเลือกซื้อประกันที่ครอบคลุมได้เลย ประกันสุขภาพอีลิท เฮลท์ พลัส ที่ทีการเพิ่มความคุ้มครองหลายๆ อย่างให้เป็นมาตรฐานใหม่ ตามข้อกำหนดของ คปภ. ที่มี 13 ข้อและสิ่งที่เพิ่มอย่างชัดเจนคือ หมวด 1 ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาลโดยจะมีความพิเศษที่ลูกค้าได้รับคือ ได้ตัดค่าบริการพยายาลออกและย้ายไปอยู่ในหมวดค่ารักษาพยาบาลแทน ทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์มากขึ้น อาจจะนอนห้องที่ราคาสูงขึ้นได้ หรือ ไม่ต้องจ่ายส่วนต่าง เช่น […]

ไม่ได้เป็นข้าราชการ มีเงินบำนาญไว้ใช้หลังเกษียณได้

มีหลายคนสอบถามเข้ามาว่าแบบประกันบำนาญที่อู๋โฆษณาไว้ ไม่ได้ทำงานข้าราชการก็ทำได้หรอ เป็นความสงสัยเดียวกับอู๋ก่อนที่จะมาเป็นตัวแทนเลยครับ เมื่อก่อนตอนเด็กๆ ยายจะพูดเสมอว่าอยากให้รับราชการจะได้มั่นคงและยังได้เงินบำนาญหลังจากเกษียณด้วย ความเข้าใจนี้เลยฝังหัวมาตลอดว่าการที่จะได้เงินบำนาญนั้นจะต้องทำงานเป็นข้าราชการเท่านั้น จนได้เริ่มทำงานและหาข้อมูลวางแผนการเงินก็เจอว่า เราไม่ได้เป็นข้าราชการก็วางแผนออมเงินสร้างบำนาญให้ตัวเองได้และพอได้มาเป็นตัวแทนประกันชีวิตก็ยิ่งเข้าใจมากขึ้นฃ แบบประกันบำนาญคอนเซ็ปต์คล้ายกับบำนาญของราชการครับ คือเราออมเงินในระหว่างที่ทำงานและไปรอรับบำนาญหลังจากเกษียณซึ่งส่วนใหญ่ก็จะอายุประมาณ 55-60 ปี และรับยาวไปถึงอายุ 85 ปีหรือ 99 ปีขึ้นอยู่กับเราวางแผน เงินบำนาญจะได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเงินออมที่เราออม ซึ่งแบบประกันบำนาญได้ออกแบบแผนมาเรียบร้อยแล้ว การันตีเงินบำนาญที่ได้แน่นอน รู้ล่วงหน้าได้เลยจากดารางผลประโยชน์ (จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลตอบแทนจากการเอาเงินไปลงทุน) สามารถวางแผนได้เลยว่าอนาคตอยากได้เงินบำนาญเท่าไหร่ และไม่ได้จำกัดในการทำด้วย เช่นบางท่านเริ่มทำงานนานแล้วคิดว่าเงินบำนาญในอนาคตจากเล่มเดิมอาจจะไม่พอก็สามารถทำเพิ่มได้ตามกำลังที่ไหว ส่วนประโยชน์ของบำนาญที่เราจะได้นอกจากเงินบำนาญหลังเกษียณก็มีส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น ความคุ้มครองเสียชีวิตระหว่างที่ยังจ่ายเบี้ยทุกๆ ปี ความคุ้มครองก็ขึ้นอยู่กับแผนที่เลือกทำด้วย เช่น แผนระยะยาวออมหลักหมื่นต่อเดือนได้ความคุ้มครองถึงหลักแสนหรือหลักล้าน ข้อนี้หลายคนยังไม่รู้คิดว่าออมไปแล้วจะได้บำนาญอย่างเดียว ตายไปไม่ได้อะไรเลย เป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ…เรายังได้ความคุ้มครองที่คนข้างหลังจะได้เงินก้อนนี้ไปใช้ แต่ถ้าเราไม่ได้เป็นอะไรอยู่ไปจนถึงอายุ 60 ตัวเราเองก็จะเป็นคนที่ได้รับบำนาญ สิทธิที่จะเอาไปลดหย่อนภาษี เพราะรัฐบาลมองว่าอยากให้คนไทยที่ไม่ใช่ข้าราชการที่รัฐบาลจะจ่ายบำนาญให้หลังเกษียณมีเงินใช้จะได้ไม่เป็นภาระของคนอื่นๆ จึงให้สิทธิเอาเงินที่เราจ่ายเบี้ยประกันหรือเงินออมไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย สูงสุด 200,000 บาทหรือไม่เกิน 15% ของเงินได้ (แต่รวมกับสิทธิลดหย่อนอื่นๆ เช่น SSF RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องไม่เกิน 500,000 บาท) หรือถ้าหมวดประกันชีวิตยังไม่ได้ใช้ก็เอามารวมได้อีก […]

ประกันสุขภาพ ดีเฮลท์ พลัส คุ้มครองการรักษามะเร็งกับ ไตวายเรื้อรังหรือไม่?

มีลูกค้าหลายท่านที่อาจจะเป็นมือใหม่เริ่มทำประกันสุขภาพ หรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้วแต่เป็นมาตรฐานเดิม อยากได้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเพิ่ม สอบถามเกี่ยวกับแผนดีเฮลท์พลัสหรือได้ยินแผนนี้จากตัวแทนอื่น ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่าแผนนี้ไม่คุ้มครองเกี่ยวกับการรักษามะเร็ง หรือ ไตวายเลย จริงๆ แล้วเป็นยังไง..มาอ่านกันครับ ย้อนกลับไปเรื่องประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ คปภ.ได้มีการกำหนดตารางผลประโยชน์ที่ชัดเจนขึ้นซึ่งจะมี 13 ข้อ โดยทุกบริษัทจะต้องใช้ตารางแบบเดียวกันเพื่อให้ลูกค้าเปรียบเทียบแบบประกันแต่บริษัทได้ง่าย แต่บริษัทไหนจะให้วงเงินในข้อไหน เหมาจ่ายต่อปีหรือต่อครั้ง หรือจะให้มากให้น้อยยังไงก็แล้วบริษัทนั้นๆ ทีนี้ในประกันสุขภาพมาตรฐานใหม่ก็จะแบ่งเป็นแบบนอนโรงพยาบาลข้อ 1-5 และแบบไม่นอนโรงพยาบาล ข้อ 6-13 แบบนอนโรงพยาบาลหรือ IPD หลายคนก็น่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่ที่ไม่คุ้นเคยจะเป็นแบบไม่นอนโรงพยาบาลข้อ 6-13 ที่ได้จัดหมวดหมู่ให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งหมวด 6-13 จะมีหมวดที่ 9-11 ที่เป็นการรักษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งและไตวายเรื้องรังที่เพิ่มเข้ามา ซึ่งประกันสุขภาพมาตรฐานเดิม หรือของเก่าแทบจะไม่มี (อาจจะมีบ้างบางแผน บางบริษัท) การเพิ่มมามันก็มีเหตุผลนั่นก็คือ การรักษาของทั้ง 2 โรคนี้ปัจจุบันมีการรักษาที่ทันสมัยมากขึ้น มีวิวัฒนาการและเครื่องมือใหม่ๆ ที่รักษาได้ไวขึ้น เช่นการรักษามะเร็งแบบยามุ่งเป้า หรือภูมิคุ้มกันบำบัด การรักไตวายหรือล้างไตแบบใหม่ จากเมื่อก่อนอาจจะตัองไปนอนโรงพยาบาล แต่ตอนนี้รักษาแบบไปกลับได้แล้ว แน่นอนว่าการรักษาที่ทันสมัยและใหม่ ค่าใช้จ่ายก็จะต้องสูงกว่าเดิม พอเข้าใจรายละเอียดของตาราผลประโยชน์กันหรือยังครับ..ทีนี้ แผนดีเฮลท์พลัส ไม่ได้คุ้มครองวงเงินการรักษามะเร็งและล้างไตข้อ 9-11 จึงหมายถึงไม่คุ้มครองแบบไม่นอนโรงพยาบาลหรือไปกลับ […]

1 2 3 4 58