ตั้งเป้าหมายการเงินในปีใหม่ให้สำเร็จตามที่หวัง

สวัสดีปีใหม่อย่างเป็นทางการครับ ปีใหม่แบบนี้สิ่งที่หนีไม่พ้นคงเป็นเรื่องของการรีวิวความสำเร็จและประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาในปีที่แล้ว รวมถึงการตั้งเป้าหมาย การเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ ที่มาถึงหรือการนำสิ่งที่ตั้งไว้ปีที่แล้วมาทำใหม่ปีนี้ ปัญหาที่พบทุกๆ ปีคือเป้าหมายที่เราตั้งใจจะทำมากมายและเขียนไว้ตั้งแต่ต้นปี พอผ่านไปไม่กี่สัปดาห์หรือเดือนเราก็ล้มเลิกความตั้งใจนั้นแล้ว พอสรุปสิ้นปีอาจจะมีเพียงไม่กี่ข้อที่ทำได้สำเร็จหรือบางคนทำได้เลย สิ่งนี้ไม่ได้แปลกแต่อย่างใดเพราะใครๆ ก็เป็นกันรวมถึงผมด้วย ตัวอย่างเป้าหมายที่เรามักตั้งกันไว้ เช่น ปีนี้จะเก็บเงินให้ได้มากขึ้น รักตัวเองมากขึ้น ออกกำลังกายมากขึ้น ใช้เงินให้น้อยลง หาเงินให้ได้เยอะขึ้น จากตัวอย่างเป้าหมายพวกนี้ผมก็เคยเป็นหนึ่งคนที่เขียนแบบนี้เหมือนกันและสุดท้ายล้มเลิกไป จนเมื่อได้เข้าเรียนหลักสูตร Self Masterity หรือการเรียนรู้ตัวเองของ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ก็รู้ว่าที่เราเขียนนั้น มันยังขาดอีกหลายอย่าง หรือเรียกว่าเป้าหมาย ไม่ชัดเจน เลยอยากจะเอามาแบ่งปันให้ทุกคนได้อ่านกันครับ เป้าหมายที่ต้องการ “เราจะทำอะไร” วิธีการที่จะทำให้เป้าหมายนั้นเกิดขึ้นได้ ระยะเวลาของการทำให้สำเร็จ ทำไปเพื่อใคร จากตัวอย่างเป้าหมายแบบแรกที่ผมเขียนไว้ ไม่ครบองค์ประกอบทั้ง 4 ข้อ (หรืออาจะไม่ต้องครบทั้ง 4 ข้อแต่อย่างน้อยควรที 3 ข้อ) พอเป้าหมายไม่ชัดเจนก็ทำให้เราไม่รู้วิธีการหรือไม่มีแรงผลักดันที่จะทำให้มันเกิดขึ้นจริงได้ มาลองเขียนเป้าหมายใหม่ให้ชัดเจนขึ้นโดยเรียบเรียงและเติมองค์ประกอบจากหลักการที่ผมได้อธิบายไปครับ ปีนี้จะเก็บเงินให้ได้มากขึ้นเป็นเดือนละ 1,000 บาทโดยหักจากเงินเดือนมาออมภายใน 5 เดือน เพื่อให้เป็นของขวัญวันเกิดแม่ ฉันจะรักตัวเองมากขึ้น โดยเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างน้อยเดือนละ […]

3 วิธีวางแผน เตรียมตัวรับมือก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

หากพูดถึงความชราแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ตามมานั้นคือร่างกายหมดแรงไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างเดิมและอาจรุมเร้าด้วยปัญหามากมาย เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ และปัญหาด้านการเงิน จะดีกว่าไหมถ้าเราเริ่มวางแผนรับมือตั้งแต่ตอนนี้ และนี้คือ 3 วิธีวางแผน เตรียมตัวก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ 1. วางแผนสุขภาพ การไม่มีโรคเป็นลาภอัญประเสริฐแต่บางครั้งโรคร้ายก็มาอย่างไม่ทันตั้งตัว ยิ่งเมื่อเราแก่ตัวลงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บเป็นถือเป็นเรื่องธรรมดามากที่อาจต้องเผชิญ ดังนั้นเราจึงควรวางแผนสุขภาพแต่เนิ่นๆ หันมาดูแลสุขภาพให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เริ่มจากรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย และฝึกสุขภาพจิต แต่ก็ควรทำประกันสุขภาพไว้ในกรณีฉุกเฉิน 2. วางแผนที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัยถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่มีลูกหลาน ดังนั้นแล้วจึงควรวางแผนก่อนล่วงหน้าว่าถ้าแก่แล้วจะอยู่ที่ไหน บ้านตนเอง หรือบ้านพักคนชรา หากเป็นบ้านของตนเองถ้าเป็นไปได้ควรออกแบบบ้านให้สามารถรองรับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมได้อย่างสะดวกสบายที่สุด แต่หากเป็นบ้านพักคนชราต้องมีการวางแผนการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ราคาก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตที่จะได้รับ 3. วางแผนการเก็บเงิน เมื่อเราแก่ตัวลงแน่นอนว่าทำให้มีแรงลดน้อยลงไปด้วย ไม่สามารถหาเงินได้เหมือนแต่ก่อน ดังนั้นการวางแผนการเงินหลังเกษียณจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด เพื่อที่จะสามารถดำเนินชีวิตได้ต่อหลังเกษียณและไม่เป็นภาระให้ลูกหลาน จึงต้องเริ่มวางแผนการเงินตั้งแต่เริ่มทำงาน รู้จักออมเงิน และศึกษาการลงทุน โดยแบ่งเงินได้ส่วนหนึ่งออกมาเพื่อลงทุนให้เงินงอกเงยเพื่อสู้กับค่าเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าการเงินนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตมากในทุกช่วงวัย ยิ่งผู้สูงอายุแล้วค่าใช้จ่ายอาจจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล นอกจากการวางแผนการเงินและการลงทุนแล้ว อีกหนึ่งทางที่จะป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จึงควรมองหาประกันออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีๆ อย่าง ‘เมืองไทยรีไทร์เมนท์ พลัส 60’ ที่จะได้รับเงินคืนทุกช่วงอายุ เมื่ออายุครบ 60 ปี […]

ทำไมต้องทำประกันบำนาญ?

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติบอกบอกว่าปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและนั่นหมายความว่า จำนวนประชากรของคนสูงอายุมากขึ้นแต่คนวัยทำงานน้อยลง และคนวัยทำงานรุ่นใหม่แต่งงานและมีลูกน้อยลงด้วย ข้อมูลนี้ทำให้คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินมากขึ้นโดยเฉพาะการวางแผนเก็บเงินไว้ใช้ตอนแก่หรือตอนเกษียณเพราะการรอพึ่งพาเงินผู้สูงอาหารจากรัฐบาลกับเงินประกับสังคมอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ จึงเป็นที่มาของประกันแบบบำนนาญ ซึ่งประกันแบบบำนาญ ไม่ใช่แค่การทำเพื่อการเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณเท่านั่น แต่ยังใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย เนื่องจากรัฐบาลอยากส่งเสริมให้คนออมเงิน และเก็บเงินไ้ว้ใช้ตอนแก่ ประกันบำนาญเหมาะกับใครบ้าง? คนที่ต้องการออมเงินไว้ใช้ตอนหลังเกษียณ คนที่รับความเสี่ยงในการลงทุนได้น้อยกว่าการลงทุนอื่นๆ คนที่ต้องการแผนการออมเงินที่มีการการันตีเงินคืนชัดเจน คนที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ทำไมต้องเป็นประกันบำนาญ? บางคนอาจจะมีประกันสังคมหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใช้ไว้ใช้หลังเกษียณแต่เงินก้อนนั้นอาจจะไม่พอต่อการใช้จ่ายที่จะมากขึ้นในอนาคต การทำประกันบำนาญไว้จะเป็นอีกตัวเช่นหนึ่ง ที่จะมาซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายให้เรา ซึ่งประกันบำนาญสามารถเลือกรับเป็นรายปีก้อนเดียว หรือรับเป็ยรายเดือนทุกๆ เดือนก็ได้ มีรายได้หลายช่องทางยังดีกว่าข่องทางเดียวครับ ประกันแบบบำนาญ เอาไปลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 200,000 บาทหรือไม่เกิน 15% ของเงินได้ นอกจากจะเป็นการเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณแล้ว ยังได้ภาษีคืนอีกด้วยครับ ประกันแบบบำนาญให้ผลตอบแทนน้อยกว่าการลงทุนแบบอื่นๆ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3% แต่ก็การันตีผลตอบแทนที่แต่นอน และยังเห็นตัวเลขเงินบำนาญที่ได้รับชัดเจนในแต่ละปีตามตารางเรียนผลประโยชน์ ประกันแบบบำนาญมีความคุ้มครองชีวิตสูงหากเสียชีวิตก่อนรับบำนาญ ผู้รับประโยชน์ยังจะได้เงินก้อนจากความคุ้มครองไป หากเสียชีวิตหลังเริ่มรับบำนาญยังมีการกรันตีเงินบำนาญและความความคุ้มค่องที่จะได้รับ ควรทำประกันแบบแบบบำนาญไหม? นอกจากประกันบำนาญแล้วยังมีผลิตภัณฑ์การเงินอื่นๆที่ ช่วยในเรื่องวางแผนเกษียณและลดหย่อนภาษีเช่น กองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม RMF ซึ่งก็มีทั้งข้อดี ข้อด้อย ถ้าใครที่ต้องการวางแผนสำหรับหารออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณและลดหย่อนภาษี แบบการันตีแน่นอนประกันแบบบำนาญก็ เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเพราะมีข้อดีหลายๆ อย่างที่ผมได้อธิบายไปด้านบน ทั้งนี้แล้วก็ต้องดูว่าแผนประกันนั้นตอบโจท์หรือไม่ ทั้งในเรื่องของระยะเวลาการจ่ายเบี้ย ภาษีที่ได้คืน ที่สำคัญต้องดูเป้าหมายของตัวเราเองด้วยแล้วค่อยเลือกผลิตภัณฑ์การเงินมาเป็นตัวช่วยวางแผน […]

อิสรภาพทางการเงินมีไปเพื่ออะไร

ทุกวันนี้ทุกคนก็ล้วนอยากมีอิสรภาพทางการเงินรวมถึงอู๋ด้วยที่อยากมีอิสรภาพทางการเงินมานานแล้วและก็ได้เริ่มสร้างอิสรภาพทางการเงินของตัวเองมา 2-3 ปีแล้ว แต่ว่าหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าอิสรภาพทางการเงินคืออะไร เราจะเริ่มต้นยังไง อู๋ได้มีโอกาสฟังคลิปของคุณกวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด ได้เล่าไว้เกี่ยวกับเรื่องอิสรภาพทางการเงิน อยากสรุปที่ฟังมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ อิสรภาพทางการเงินคืออะไร การใช้ชีวิตอย่างที่เราอยากจะเป็นซึ่งมาตรฐานของแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน โดยไม่ต้องทำงานหรือกังวลเรื่องของการใช้เงิน การจะมีอิสรภาพทางการเงินได้คือต้องมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่าย โดยไม่ได้เกี่ยวกับคำว่ารวย แต่การมีเงินมากหรือเงินน้อยก็สามารถมีอิสรภาพทางการเงินได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยรายได้แบ่งเป็น 2 แบบคือ รายได้ที่ต้องทำงานเพื่อแลกกับเงิน (Active Income) เช่น ทำงานประจำ ฟรีแลนซ์ ธุรกิจส่วนตัว แต่ยังไงก็ต้องทำทุกวันไปเรื่อยๆ หยุดเมื่อไหร่ก็จะไม่มีรายได้ รายได้ที่เราไม่ต้องทำงาน (Passive Income) ซึ่งรายได้ส่วนนี้จะเกิดขึ้นได้ก็มาจากการแบ่งเงินในส่วนรายได้ที่เราทำงาน แบ่งออกมาเก็บสะสมไว้หรือลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน เช่น ฝากไว้รับดอกเบี้ย ซื้อหุ้นโดยได้ผลตอบแทนในรูปแบบเงินปันผล หรือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อปล่อยเช่า แต่บางสินทรัพย์อาจจะไม่ใช้การลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนแบบ Passive Income เพราะต้องมีการติดตามผลทุกวัน มีการเก็งกำไร มีการซื้อขายอย่างสม่ำเสมอ เช่น หุ้นเก็งกำไร ทองคำที่ซื้อๆขายๆ หรือ เหรียญดิจิตัล ฉะนั้นการจะมีรายได้แบบไม่ต้องทำงาน (Passive Income) […]

5 สิ่งต้องรู้สู่อิสรภาพทางการเงิน

การมีอิสรภาพทางการเงินก็เหมือนการเดินทางที่เราต้องอาศัยแผนที่เช้ามาช่วยเพื่อให้เดินทางไปถึงที่หมายได้ไวขึ้น การมีอิสรภาพทางการเงินก็เช่นกันก็ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและทิศทางที่ถูกต้อง โดยทุกคนควรจะต้องรู้ 5 สิ่งต่อไปนี้ 1. เป้าหมายต้องชัดเจน เป้าหมายแต่ละคนไม่เหมือนกันและความต้องการการใช้เงินของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะทำงานราชการมา พอใช้กับรายได้ เงินบำนาญที่ได้รับหลังเกษียณ พอใจกับสวัสดิการการรักษาพยาบาลที่ได้รับหลังเกษียณ อาจจะไม่ต้องการเงินก้อนที่ได้ แต่สำหรับคนที่ทำงานเป็นพนักงานบริษัท เจ้าของธุรกิจหรือฟรีแลนซ์อาจจะไม่ได้มีเงินบำนาญแต่ยังจำเป็นที่ต้องมีเงินก้อนเพื่อใช้หลังเกษียณ ฉะนั้นจะต้องรู้ว่าเงินก้อนนั้นจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งเงินก้อนของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากัน ตัวอย่างบทความการคำนวณเงินใช้หลังเกษียณที่ได้เคยเขียนไว้ (คลิ๊ก) 2. ขยันและประหยัด ขยันคือการทำงานที่สร้างรายได้ให้สม่ำเสมอหรือเกือบสม่ำเสมอ เช่น งานประจำ ธุรกิจส่วนตัว งานฟรีแลนซ์ หรือเป็นงานที่เราทำแล้วได้เงิน ที่สำคัญเมื่อหาเงินได้แล้วต้องประหยัดนำเงินก้อนที่ได้มาสะสมเพื่อสร้างผลตอบแทนให้งอกเงย เนื่องจากในแต่ละปีเราอาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้เราอาจจะเผลอใช้ชีวิตหรือมีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปตามเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นได้ กลายเป็นว่าต้องสร้างหนี้ไปตลอด จึงควรกันเงินที่ได้จากการทำงานมาออมหรือลงทุนคิดเป็นเปอร์เซ็นเพื่อสามารถออมให้ได้มากขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในข้อ 1 3. ศึกษาสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ให้เราสม่ำเสมอ (Passive Income) Passive Income คือรายได้ที่จะเข้ามาโดยที่เราไม่ต้องทำงาน แต่ก่อนที่จะไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ควรมีความรู้และเข้าใจสินทรัพย์ประเภทนั้นๆ ด้วยและที่สำคัญคือต้องรู้ว่าสินทรัพย์นั้นๆเป็นสินทรัพย์ที่จะมีกระแสเงินสดรับในอนาคต เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า หรือไม่มีกระแสเงินสดรับแต่คิดว่าราคาจะเพิ่มขึ้น เช่น ทองคำ นาฬิกา พระเครื่อง อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ 4. อดทนและมีวินัย […]

1 2 3 4 15