“เงินเฟ้อ” ต้องวางแผนการเงินอย่างไร?

ช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนี้ มีเหตุการณ์โลกมากมายเปลี่ยนแปลงแบบรายวัน แม้กระทั่งเรื่องของ “เงินเฟ้อ” ในประเทศไทย ที่มีอัตราเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 13 ปี ทำให้ราคาสินค้าและบริการต่างๆ ราคาปรับขึ้นส่งผลกระทบกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่เพียงแค่นั้นยังสงผลกระทบกับเงินเก็บของเราด้วยเนื่องจากเงินเฟ้อที่ทำให้สินค้าและบริการราคาสูงขึ้น แต่เงินที่เราเก็บหรือลงทุนนั้นไม่สามารถให้ผลตอบแทนเท่ากับเงินเฟ้อได้ อยากรู้ว่าเงินเฟ้อส่งผลกระทบยังไงบ้าง อ่านต่อกันได้ที่นี่เลย หลายคนคงสงสัยว่าถ้าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแบบนี้เราจะรับมือได้ยังไง ลองมาดูวิธีรับมือหรือการวางแผนการเงินในภาวะเงินเฟ้อกัน แผนที่ 1 แบ่งเงินบางส่วนฝากธนาคารแทนการเก็บเงินไว้ที่ตัว เพราะเงินเฟ้อ หมายถึง มีเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศมากเกินไป ทำให้สินค้าต่างๆ พากันขึ้นราคา ธนาคารอาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อดึงดูดให้คนหันมาฝากเงินเยอะขึ้น เพื่อให้เงินในระบบไม่เยอะเกินไป รวมถึงดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น เพื่อป้องกันการกู้เงินไปลงทุนในระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน แผนที่ 2 ต่อมาจากการฝากเงินบางส่วน การแบ่งใช้จ่ายอย่างประหยัดก็คือข้อสำคัญ ที่ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะไหน การประหยัดเงิน รู้จักการออม เป็นเรื่องที่ควรทำอยู่แล้ว เมื่อเกิดวิกฤตมีหลายคนที่ได้รับผลกระทบ หากเรามีเงินสำรอง จากการใช้จ่ายอย่างฉลาด ทำให้เราไม่ล้มไปกับผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ ถ้าใครที่มีการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้เห็นว่าในแต่ละเดือนนั้น เรามีการใช้จ่ายไปกับเรื่องอะไรบ้าง และค่าใช้จ่ายไหนที่สามารถปรับลดหรือตัดออกได้ แต่ถ้าใครยังไม่เคยทำบัญชีรายรับรายจ่ายก็อยากให้ลองเริ่มทำดูครับ แผนที่ 3 ซื้อของต่างๆที่จำเป็น เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ ราคาข้าวของจะค่อยๆ ทยอยขึ้นราคา จนถึงจุดที่เรารู้สึกว่าของแพง สิ่งที่ช่วยเราได้นั้นคือการซื้อของใช้จำเป็นกักตุนไว้เมื่อของเหล่านั้นยังราคาปกติ อย่างน้ำมัน หรือข้าวสาร […]

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตัวช่วยออมเงินเพื่อการเกษียณ

ช่วงนี้เพื่อนๆ ที่ทำงานฟรีแลนซ์หรือพนักงานบริษัท ทักเข้ามาขอคำแนะนำในการวางแผนการออมเงินเยอะขึ้นกว่า พอได้สอบถามก็รู้ว่าที่ทำงานไม่ได้มีสวัสดิการการออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ จึงอยากหาตัวช่วยในการออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ แต่ก่อนนะไปเลือกแผนการออม มาทำความรู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันก่อนดีกว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร? กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นกองทุนของบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม ให้พนักงานได้ออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณเรียกว่า “เงินสะสม” ซึ่งพนักงานเลือกสมัครหรือไม่เลือกสมัครก็ได้ แต่ถ้าเลือกสมัครก็จะมีสัดส่วนเงินสะสมให้เลือกว่าจะให้หักเงินจากเงินเดือนกี่เปอร์เซ็นต์ บริษัทหรือนายจ้างก็จะสมทบให้เท่ากับที่เราหักหรือมากกว่าเรียกว่า “เงินสมทบ” เงินก้อนที่หักไปไม่ได้ทิ้งไว้เฉยๆ แต่จะมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) คอยบริหารเงินให้ เพื่อนๆที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะสังเกตว่าตอนสมัครจะมีให้เราเลือกสัดส่วนการลงทุนตามแผนที่บริษัทจัดให้ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปสูง ส่วนเงินสมทบจากบริษัทหรือนายจ้างก็สมทบให้ก็จะลงทุนตามแบบที่เราเลือกเช่นกัน ในทุกๆ เดือนหรือทุก 6 เดือน (ขึ้นอยู่กับบริษัท) ก็จะมีเอกสารสรุปผลการดำเนินการของกองทุนมาให้ว่าผลตอบแทนของเงินที่เราสะสมเป็นยังไงบ้าง และผลตอบแทนของเงินสมทบจากบริษัทเป็นยังไงบ้าง (ถ้าใครจำไม่ได้ว่าเลือกแผนไหนก็ลองติดต่อฝ่ายบุคคลเพื่อดูความเสี่ยงที่เราทำไว้เพื่อผรับให้เหมาะสมใหม่ได้นะ) ผมว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการลงทุนที่ได้เงินมาอีกเกือบเท่าตัวเพราะเราสะสมเงินไปจำนวนหนึ่งและบริษัทหรือนายจ้างก็สมทบให้อีกเท่าหนึง ซึ่งไม่มีการลงทุนแบบไหนที่ได้ผลตอบแทนแบบนี้อีกแล้ว นอกจากนี้ยังได้ผลตอบแทนจากเงินที่ถูกหักไปของเราที่เติบโตขึ้นอีกด้วย มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดียังไง? จุดประสงค์หลักของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือสวัสดิการที่บริษัทมีให้กับพนักงานเพื่อเป็นการออมไว้สำหรับเกษียณแต่ก็ยังมีข้อดีอื่นๆ อีกเช่น ทำให้เรามีวินัยในการออม เพราะบริษัทจะตัดเงินเดือนของเราเป็นเงินสะสมตามที่เราระบุไว้ก่อนที่จะโอนเงินเข้าบัญชีของเรา เป็นการสร้างวินัยในการออมเพราะเราได้ออมก่อนใช้ ถ้าหากให้เราเลือกออมเงินหรือนำไปลงทุนเองก็อาจจะออมบ้างไม่ออมบ้างได้ ใช้ลดหย่อนภาษีได้ เงินสะสมที่ถูกหักทุกเดือนนอกจากจะได้เป็นการออม ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนและยังใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงของเงินที่ถูกหักไปด้วย ได้เงินสมทบจากบริษัท นอกจากเงินสะสมที่หักจากเงินเดือนเราทุกเดือนแล้วยังได้เงินสมทบจากบริษัทอีกด้วย ถ้าสมมติว่าเราให้หักเงินสะสมเดือนละ 1,500 บาททุกเดือนใน 1 ปีเราจะมีเงินออม 18,000 บาทและยังได้เงินสมทบจากบริษัทอีกตั้ง 18,000 บาทและอาจจะได้ผลตอบแทนจากการลุงทนอีกด้วย เราจะได้เงินกองทุนคืนเมื่อใด หลายคนที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคิดว่าจะต้องรอรับเงินคืนตอนเกษียญอย่างเดียวหรือไม่ […]

uDesign ออกแบบความคุ้มครองของตัวคุณเองได้ตามไลฟ์สไตล์

มีใครเป็นเหมือนกันบ้างไหมครับ อยากได้ประกันที่ทำครั้งเดียวปรับเปลียนได้ตามความต้องการในแต่ละช่วงชีวิตอยากปรับเพิ่มความคุ้มครอง ลดความคุ้มครอง หยุดจ่ายเบี้ย หรือเอาเงินออกมาใช้ก็ทำได้ จากบทความเกี่ยวกับแบบประกันชีวิตควบการลงทุนโครงการ uDesign หลายคนน่าจะเห็นแล้วว่าแบบประกันชีวิตควบการลงทุนแผนมีหลายแบบ มีข้อดีอะไรบ้างและยืดหยุ่นกว่าแบบประกันแบบเดิมยังไง แต่อาจจะยังไม่เห็นภาพชัดเจนว่าจะเป็นยังไง uDesign คืออะไร แบบประกันชีวิตควบการลงทุนในโครงการ uDesign แบบประกันชีวิตควบการลงทุนแผน mDesign ตัวอย่างการออกแบบความคุ้มครองได้ตามไลฟ์สไตล์แต่ละคนด้วย uDesign บทความนี้ผมขอยกตัวอย่างโดยนำประกันชีวิตควบการลงทุนแผน mDesign มาออกแบบความคุ้มครองให้เห็นชัดเจนขึ้นโดยยกตัวอย่างบางส่วนจากที่เคยได้วางแผนให้ลูกค้า 3 รูปแบบตามไลฟ์สไตล์แต่ละคน ดังนี้ครับ คุณ A ออกแบบเพื่อสร้างความคุ้มครองเป็นมรดก/เก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณ คุณ B ออกแบบเพื่อออมเงินและการลงทุน คุณ C ออกแบบเพื่อกองทุนสุขภาพระยะยาว 1) Design เพื่อความสร้างคุ้มครองเป็นมรดก/เก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณ คุณ A อายุ 35 ปี เป็นหัวหน้าครอบครัวต้องการความคุ้มครองชีวิต 5,000,000 บาทเลือก mDesign เพื่อความคุ้มครองเป็นมรดก คุณ A สามารถจ่ายเบี้ยประกันไปจนถึงเกษียณ อายุ 60 ปี โดยจ่ายเบี้ยได้ไม่เกินปีละ 100,000 บาท […]

ควบคุม/ลดรายจ่าย vs เพิ่มรายได้ แบบไหนง่ายกว่ากัน

ใครที่กำลังเริ่มทำงานหรือทำงานมาสักระยะหนึ่งแล้ว อาจจะเป็นคนที่อยู่ในช่วงวัย 20 ปลายๆ ถึง 30 ต้นๆที่กำลังสนุกกับการใช้เงินที่หาได้คงคิดว่า ตอนนี้มีงานทำและมีรายได้แล้วจะซื้อของที่อยากได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ในชีวิตจริงเราที่เราอยากได้คงไม่ได้มีแค่ชิ้นเดียว แต่มีของที่อยากได้เยอะไปหมด ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น ด้วยข้อจำกัดของเรื่องรายได้ที่ไม่ได้เพิ่มเพิ่มง่ายๆ เหมือนของที่เราอยากได้ ทำให้ไม่สามารถซื้อของได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ และเราจะทำยังไงเมื่อรายได้ที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการของเรานั้นไม่ได้จำกัด   ผมเคยอ่านมาว่าถ้าเราอยากมีเงินเก็บหรืออยากได้ของบางอย่างแต่รายได้เรามีอยู่จำกัด สิ่งที่เราจะต้องทำคือ การควบคุมหรือลดรายจ่าย เพื่อให้มีเงินเหลือมาซื้อของที่อยากได้ กับอีกหนึ่งวิธีคือการหารายได้เพิ่มเพื่อจะได้มีเงินซื้อของที่อยากได้ไปเลย ทั้งสองอย่างนี้บางคนอาจจะบอกว่าการควบคุมหรือลดรายจ่าย เป็นเรื่องง่าย บางคนบอกว่าเป็นเรื่องยาก หรือการหารายได้เพิ่มบางคนบอกเป็นเรื่องง่าย บางคนบอกเป็นเรื่องยาก มาดูกันครับว่าแบบไหนที่จะเหมาะกับเรา   ควบคุมหรือลดรายจ่าย ข้อดี ทำได้ง่ายกว่าการเพิ่มรายได้ เพราะสามารถทำได้เลยด้วยตัวเอง ทำให้เรามีวินัยในการใช้เงิน รู้จักการวางแผนการเงิน ข้อเสีย สำหรับคนที่มองว่าอะไรก็จำเป็นการลดรายได้อาจจะเป็นเรื่องยากเพราะไม่รู้จะลดตรงไหน อะไรก็จำเป็นไปหมด การลดรายจ่ายอาจจะไม่ได้ทำให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้นมาก ถ้ายังมีรายได้คงที่ ไม่ยั่งยืนในระยะยาว เพราะการควบคุมหรือลดรายจ่าย เพื่อเก็บเงินหากมีเหตุจำเป็นต้องเอาเงินเก็บก้อนนั้นมาใช้จนหมดก็ต้องเริ่มต้นใหม่และต้องควบคุมหรือลดรายจ่าย ไปตลอด เพิ่มรายได้ ข้อดี ส่งผลดีระยะยาว เพราะการเพิ่มรายได้คือการหาช่องรายได้อื่นๆ เพิ่ม ถ้าเราสามารถสร้างรายได้จากช่องทางอื่น เช่น งานเสริม หรือการลงทุน หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมก็จะทำให้เรามีรายได้เข้ามาต่อเนื่อง ไม่ต้องกังวลเรื่องของที่อยากได้ […]

ทำไมคนรุ่นใหม่เก็บเงินไม่อยู่?

ในยุคที่ทุกคนต่างล้วนต้องการแสดงตัวตนบนสื่อออนไลน์ การซื้อของเป็นเรื่องง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วกด และความต้องการอยากได้ อยากมี อยากเป็น ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น คำกล่าวที่ว่า “ของมันต้องมี” หรือ “คนอื่นมี ฉันก็ต้องมี” สร้างความเสียหายให้กับผู้คนมานักต่อนัก แต่น้อยคนที่จะหยุดคิดสักนิดแล้วถามตัวเองว่า “เราต้องการสิ่งนั้นจริงหรือไม่?” ‘คนรุ่นใหม่’ ถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบการจากกระแสวัตถุนิยม ทั้งจากการเสพสื่อออนไลน์ กลุ่มเพื่อน และสังคม อีกทั้งยังขาดความรู้เรื่องการบริหารจัดการเงิน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้กลุ่มคนรุ่นใหม่กำลังเผชิญกับปัญหา…เก็บเงินไม่อยู่!!! ยิ่งกลุ่มคนที่เพิ่งเรียนจบใหม่และเริ่มเข้าสู่สังคมการทำงาน การจ่ายภาษีสังคมจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เพื่อนๆรู้ไหมครับว่าอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาเก็บเงินไม่อยู่ นั้นอาจเกิดจากความคิดที่ว่า “ฉันสามารถหาเงินได้แล้ว” นำไปสู่การใช้จ่ายอย่างขาดสติ จนลืมนึกถึงปัจจัยอื่นซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ เช่น ตกงานกระทันหัน ภาวะทดถอยทางเศรษฐกิจ หรืออย่างที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ตอนนี้นั้นคือการระบาดของไวรัส ซึ่งเหตุเหล่านี้ล้วนแล้วแต่กระทบกับเงินได้ของเพื่อนๆทั้งสิ้น และยิ่งหากขาดการวางแผนทางการเงิน ท้ายที่สุดก็จะตกอยู่ในสภาวะ ‘สิ้นเดือน เหมือนสิ้นใจ’ รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอดคงค้างเงินรับฝากแยกตามขนาดและอายุของเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ (ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2563) พบว่า คนไทยที่มีเงินในบัญชีออมทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท มีมากถึง 81.8 ล้านบัญชี หรือคิดเป็น 76% จากจำนวนบัญชีออมทรัพย์ทั้งหมด 92.93 […]

1 2 3 4 5 15