ยิ่งคนป่วยมากขึ้น เบี้ยประกันสุขภาพก็แพงขึ้น?

จากที่ติดตามข่าวมาตอนนี้ประกันทุกบริษัทยังให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและเสียชีวิตจากไวรัสโคโรน่าตามปกติ “แต่เมื่อใดที่ไวรัสโคโรน่าถูกประกาศให้เป็นโรครุนแรงหรือ ภาวะฉุกเฉิน เมื่อนั้นอาจจะเป็นโรคยกเว้นที่ไม่สามารถเบิกค่ารักษาได้หรือมีเงื่อนไขเพิ่มขึ้น” สิ่งที่ผมคาดการณ์ไว้แต่รอดูสถานการณ์ตอนนี้มันเป็นจริงแล้ว เนื่องมาจากประกันชีวิตและสุขภาพคือการเฉลี่ยภัยโดยประชากรที่ทำประกันสุขภาพเป็นบุคคลที่ถือว่าสุขภาพดี มีคุณสมบัติเหมือนกันจ่ายเบี้ยเข้ามา ใครที่มีเหตุฉุกเฉินต้องการใช้ค่ารักษาพยาบาล บริษัทก็จะให้เงินก้อนนี้ไป บริษัทไหนที่มีประชากรทำประกันสุขภาพน้อย เบี้ยน้อย แต่มีอัตราการเจ็บป่วยสูง ก็มีความเสี่ยงที่จะไม่มีเงินทุนตรงนี้มาจ่าย (จากหลักสูตรระบบประกันสุขภาพ MOOC Chula) ทีนี่ถ้ามาต่อที่ว่าถ้าไวรัสโคโรน่ากลายเป็นโรคที่ทุกคนมีความเสี่ยงทำไมบริษัทอาจจะต้องยกเว้นในการทำประกันสุขภาพ (ย้ำว่าเป็นความเห็นส่วนตัวโดยอ้างจากประกันสุขภาพเด็กช่วง 5 ปีที่ผ่านมา) ประกันสุขภาพเด็กมีการเคลมเยอะมาก เพราะเด็กเจ็บป่วยสูงกว่าผู้ใหญ่ ป่วยแล้วหายช้ากว่า เจ็บนิดเจ็บหน่อยพ่อแม่ก็พาไปโรงพยาบาล เมื่อก่อนเบี้ยประกันสุขภาพเด็กปีละ 10,000 ต้นๆ เข้าโรงเรียนทีเคลมไป 30,000-40,000 บาท บางคนเข้าโรงพยาบาลหมดไปเป็นแสน เกินค่าเบี้ยที่จ่าย และอัตราการเจ็บป่วยของเด็กที่ทำประกัน 100 คนจะเข้าโรงพยาบาลประมาณ 90 คน ทำให้เงินส่วนที่เราจ่ายเบี้ยมันเกินงบไปหมด จากการเฉลี่ยภัยของประชาชนที่จ่ายเบี้ยเข้ามากลายเป็นความรับผิดชอบของบริษัทที่จะต้องหาเงินมาจ่ายส่วนนี้ ปีที่ผ่านๆ มาหลายบริษัทปิดแผนประกันสุขภาพเด็กไปเลย บางบริษัทก็ปรับเพิ่มเบี้ยขึ้น บาที่ก็ขึ้นอีกอีก 100% คนที่ทำประกันสุขภาพให้ลูกแล้วก็โรคดีไป ส่วนคนที่เพิ่งจะเริ่มมองหาประกันก็ต้องคิดหนักเพราะเบี้ยแพงเหลือเกิน จากตัวอย่างประกันสุขภาพเด็กที่กล่าวไปจึงคาดการว่า ถ้าไวรัสโคโรน่าระบาดมากกว่านี้ ทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและเจ็บป่วยมากขึ้นก็อาจเป็นไปได้ว่า บริษัทประกันอาจจะต้องทบทวนและมีแผนอะไรสักอย่างเดียวกับค่ารักษาพยาบาลของโรคไวรัสโคโรน่า ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นแล้วว่าแผนประกันที่คนนิยมซื้อเริ่มปิดขาย หรืออกแผนใหม่ที่มีเงื่อนไขมากขึ้น คุ้มครองน้อยลง หากวันนี้ใครยังไม่มีประกันชีวิตและสุขภาพอยากให้เริ่มหาไว้ตอนที่เรายังแข็งแรงและสุขภาพดี เพราะในวันที่ป่วยและอยากทำประกันสุขภาพ บริษัทอาจจะไม่รับเราก็ได้ […]

เศรษฐกิจแบบนี้ควรทำประหรือไม่?

หลายคนกำลังคิดหนักว่าเศรษฐกิจกิจไม่ดี งานที่ทำก็ไม่มั่นคง ที่คิดว่าจะทำประกันชีวิตหรือสุขภาพก็ต้องพักไว้ก่อนใช่ไหมครับ แต่ในฐานะนักวางแผนประกันชีวิตอยากบอกว่า “ไม่ว่าเศรษฐกิจแบบไหน ประกันชีวิตและสุขภาพก็ขายดีตลอด” ทำไมนั่นหรอมาอ่านกัน ที่บอกว่าไม่ว่าเศรษฐกิจดีหรือแย่ ประกันชีวิตหรือสุขภาพก็ขายดีก็เพราะว่า ประกันไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟยแต่เป็นสิ้นค้าพื้นฐานที่ทุกคนควรมี (เว้นประกันสะสมทรัพย์ที่อาจจะไม่นิยมเท่าไหร่) เพราะเศรษฐกิจจะดีหรือจะแย่ ชีวิตเราก็มีความเสี่ยงทั้งนั้น ประกันชีวิตทำไว้เพราะป้องกันว่าถ้าตายไปจะคนรอบข้างจะลำบากไหม ทำประกันไว้ก็อุ่นใจกว่า ประกันสุขภาพช่วยโอนความเสี่ยงเพราะคนเราเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยตลอดเวลา แทนที่จะต้องมาลุ้นว่าป่วยแล้วจะเอาเงินที่ไหนไปรักษา มีประกันสุขภาพก็อุ่นในกว่า ไม่มีงบเยอะก็ซื้อแบบงบน้อยมีค่ารักษายังดีกว่าไม่มีเลย ยิ่งตอนนี้หลายคนมองว่าเศรษฐกิจแย่ ของขายไม่ดี จะตกงานเมื่อไหร่ไม่รู้ ที่บ้านก็มีหนี้สิน ทุกวันมีแต่ข่าวอุบัติเหตุ คนยิงกันเป็นว่าเล่น โรคระบาดไวรัสโควิด-19 ก็มา ฝุ่น PM 2.5 อีก แอดมินอยากจะบอกว่าก็เพราะเหตุผลที่บอกไปนี้แหละเราจึงต้องทำประกันไว้ มาดูทีละข้อเลยดีกว่า ถ้าใครสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้ ไม่ต้องทำประกันเลย เราจะตกงานเมื่อไหร่ก็ไม่รู้? หากเป็นแบบนี้จริงๆ ถามว่าหากตกงานจริงๆ เราก็จะไม่มีประกันสุขภาพที่บริษัทเคยให้มถ้าเจ็บป่วยขึ้นมาได้เตรียมเงินไว้เป็นค่ารักษาพยาบาลหรือยัง? ที่บ้านมีหนี้สิน! อันนี้คนสวนใหญ่เป็นกัน แอดมินก็มีหนี้บ้าน 2.7 ล้าน อยู่ แต่โชคดียังไม่มีลูก ถามว่า บ้านมีหนี้สินแล้วเกิดเราเป็นอะไรไป ใครจะมาจ่ายหนี้บ้านแทนเรา โยนหนี้ให้ลูก ให้สามี ให้ภรรยาหรอ? มีเงินสำรองจ่ายค่าหนี้สินหรือยัง แทนที่จะให้เค้าปลอดหนี้บ้าน มีเงินก้อนไว้ใช้สบายๆ ดีกว่าไหม นี่แหละที่คือเหตุผลที่จะต่องทำประกันชีวิต […]

เคล็ด (ไม่) ลับ วางแผนเตรียมเงินไว้ใช้ในยุคที่เศรษฐกิจไม่ดี

มีใครรู้สึกว่าช่วงนี้ขายของไม่ค่อยดี มีเงินไม่พอใช้ รายได้หดหายกันบ้าง ถ้าใครรู้สึกแบบนี้แสดงเศรษฐกิจเรากำลังเริ่มจะแย่ แล้วเราจะต้องทำยังไงดี เตรียมตัวรับมือยังไงกับเหตุการที่จะเกิดขึ้น ถ้าใครยังไม่รู้มาดูกันครับ ถ้าคนที่เคยอ่านหรือศึกษาวิธีการวางแผนการเงินมาบ้าง อาจจะเคยยินคำว่า สามเหลี่ยมทาวการเงิน เป็นทฤษฎีที่ดังมาก เป็นการสอนวางแผนการเงินที่คนนิยมนำไปปฏิบัติกัน โดยผมจะยกตัวอย่างเบื้องต้น 2 ข้อ ได้แก่ ข้อแรกคือการทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อให้รู้ว่าในแต่ละเดือนเรามีรายรับจากช่องทางไหนบ้าง รายรับไหนได้แน่นอนคงที่ เท่าเดิม รายรับไหนแปรผันหรือได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้มากได้น้อย และเรามีรายจ่ายไหนบ้างที่เป็นรายจ่ายประจำ รายจ่ายไหนที่เป็นรายจ่ายฟุ่่มเฟือย ที่ตัดออกได้ ข้อสองมีเงินก้อนสำรองอย่างน้อย 3-6 เดือน พอรู้รายรับประจำกับรายจ่ายประจำแล้วเราจะได้วางแผนว่า เราควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ให้ไว้ใช้ในตอนที่เราตกงาน ตอนที่เราขายของไม่ได้ ตอนนี้บริษัทไม่จ่ายเงินเดือน ตอนที่เศรษฐกิจไม่ดีหรือเหมือนตอนนี้ พอรู้ว่าควรมีเงินสำรองกี่บาทที่จะอยู่ได้หากไม่มีรายได้ในช่วง 3-6 เดือนหรือบริษัทไม่จ่ายเงินเดิน เพื่อจะได้รู้ว่าออมเงินเดือนละเท่าไหร่ให้พอรับมือกับเหตุการฉุกเฉินนั้นๆ หลายคนที่เจอกับปัญหานี้อยู่ส่วนใหญ่คิดแต่ว่าเราจะมีรายได้เข้ามาตลอด เศรษฐกิจจะดีตลอดไป คงไม่มีหรอกวันที่เงินจะขาดมือ แต่อย่าลืมนะครับ ทุกอน่างเกิดขึ้นได้เสมอ เหมือนกับที่หลายคนกำลังเจออยู่ตอนนี้ ฉะนั้นมาเริ่มออมเงินกันเถอะครับ เริ่มออมทีละน้อยยังดีกว่าไม่ออมเลย ถ้าปฏิบัติตามสองข้อนี้รับรองว่าเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีข้างหน้าทุกคนจะไม่หงุดหงิดและมีเงินใช้เหมือนชีวิตปกติแน่นอนครับ =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

มีประกันสุขภาพของบริษัทแล้วอย่าชล่าใจ เพราะ……

ช่วงปีที่ผ่านมาทุกคนคงได้เห็นว่าบริษัทปิดตัว บางที่เจ๊ง บางที่ปรับโครงสร้างใหม่ บางที่ให้พนักงานออก คนไหนโชคดีบริษัทแจ้งล่วงหน้าเป็นเดือนก็ดีหน่อยมีเวลาเตรียมตัวหางานใหม่ บางที่ให้ออกโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า อ่านข่าวแล้วหากโชคร้ายเป็นบริษัทของเรา ทุกคนได้เตรียมรับมือกับเหตุการนี้ยังไงบ้างครับ สิ่งที่อยากเล่าคือมี เพื่อนที่รู้จักของผมเองบริษัทมีการปรับโครงการและปล็ดพนักงานออก โชคร้ายตกที่มันพอดีเป็น 1 ในนั้น แต่โชคดีที่บริษัทแจ้งก่อนล่วงหน้า 1 เดือนพอที่จะเตรียมตัวหางานใหม่และได้เงินชดเชยตามกฏหมายแรงงานพอกินอยู่ได้สักพัก ที่สำคัญกว่านั้นคือ เพื่อนเคนมาถามประกันสุขภาพเพราะกลัวว่าวันนึงถ้าตกงานไปกลัวจะไม่มีค่ารักษา แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำเพราะคิดว่า มีประกันสุขภาพของที่ทำงานจะซื้อเพิ่มไปทำไม เสียดายเงินเปล่า ทุกคนละครับคิดว่ามีประกันสุขภาพของที่ทำงานแล้วควรซื้อประกันสุขภาพเพิ่มหรือไม่….. ประกันสุขภาพที่เราได้จากที่ทำงานเป็นประกันติดโต๊ะ ไม่ใช่ประกันติดตัว วันนึงถ้าเราออกจากบริษัท ส่วนที่เราได้เค้าก็ยึดคืนไป ไม่ได้ให้ติดตัวเราออกมาก ถ้าโชคดีเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีโรคประจำตัวก็ยังพอหาซื้อเองใหม่ได้ ไม่มีข้อยกเว้น แต่ถ้าตอนเราทำงานประจำแล้วมีโรคที่ต้องรักษาต่อเนื่องหละ วันที่ออกมาก็คงหาประกันแบบไหนที่จะจ่ายให้ได้ อีกอย่างถ้าเราเจ็บป่วยบ่อยๆ ก็มีสิทธิใช้วงเงินจนหมด หากเจ็บป่วยแบบรุนแรง มีเงินสำรองพอกับค่ารักษาหรือยัง =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

มีประกันสุขภาพบริษัทแล้วจำเป็นต้องทำเพิ่มหรือไม่?

คำตอบที่มักเจอบ่อยเมื่อถามพนักงานออฟฟิศว่ามีประกันสุขภาพ “เพียงพอหรือยัง” มักจะได้คำตอบว่า มีประกันสุขภาพของที่ทำงานแล้ว มันเป็นคำตอบที่ไม่ตรงคำถามเลยครับ ผมเชื่อว่าทุกคนมีประกันสุขภาพของที่ทำงานอยู่แล้วแต่ไม่เคยดูว่าได้ค่ารักษาเท่าไหร่ และไม่เคยสนใจด้วย อาจจะแค่ตอบเพื่อบัดตัวแทนให้พ้นไป คำว่ามีประกันสุขภาพเพียงพอหรือยัง หมายถึง ถ้าเราเจ็บป่วย เข้าโรงพยาบาลแล้วต้องนอนรักษาตัว จะไม่มีค่ารักษาส่วนเกินที่ต้องจ่าย หรือจ่ายส่วนต่างไม่มาก เพราะค่าห้องโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะประมาณ 5,000-6,000 บาท แต่ประกันสุขภาพที่บริษัทมีให้พรักงาน (จากที่เคยสอบถามมา) ได้เพียงแค่ 1,000-2,000 บาทเท่านั้น นั้นหมายความว่า ถ้าเราป่วนแล้วไปนอน รพ. จะมีส่วนต่างค่าห้องถึง 3,000-4,000 บาทต่อคืน ยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาล หรือกรณีมีการผ่าตัดอีก ฉะนั้นหากเราจะวางแผนสุขภาพ วางแผนการดูแลตัวเอง ไม่ใช่ดูแค่ว่ามีประกันสุขภาพแล้วแค่นั้น จะต้องดูว่ามีเพียงพอต่อการรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือไม่ =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

1 31 32 33 34 35 50