SSF หรือ RMF เลือกแบบไหนดีเพื่อลดหย่อนภาษี

ในทุกๆ ปีนอกจากเราทุกคนจะได้สิทธิลดหย่อนภาษีการทำประกันชีวิตสะสมทรัพย์และประกันแบบบำนาญแล้ว ยังมีสิทธิอื่นๆ ที่เราสามารถลงทุนเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้อีก เช่น กองทุนเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มาดูความแตกต่างระหว่างกองทุนทั้ง 2 ประเภทกันเลย กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) SSF ย่อมาจากคำว่า Super Savings Fund ชื่อภาษาไทยคือ “กองทุนรวมเพื่อการออม” เป็นกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว โดยได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ลงทุนได้หลายประเภทเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ซึ่งมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น หุ้นพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้บริษัทเอกชน หน่วยของกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) หน่วยของกองทุนอสังหาริมทรัพย์(Property Fund) รวมถึงกองทุนต่างประเทศ ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อรวมกับกองทุนการออม เพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท  เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ประกันแบบบำนาญ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) RMF […]

เปรียบเทียบกองทุน SSFX กับ SSF

เปรียบเทียบกองทุน SSFXกับ SSF หลังจากกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ที่หมดประโยชน์เรื่องสิทธิลดหย่อนภาษีเมื่อสิ้นปี 2562 ไป รัฐบาลก็ได้ออกกองทุนตัวใหม่มาชื่อว่า กองทุนเพื่อการออม (SSF) และไม่นานมานี้ก็ได้ออกกอทุนพิศษชื่อว่า กองทุนเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ในช่วงการระบาดของโควิด-19 มาดูว่ากองทุน SSFX กับ SSF ว่ามีความเหมือน ความแตกต่างกันตรงไหนบ้าง กองทุนเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) – SSFX ย่อมาจากคำว่า Super Savings Fund Extra ชื่อภาษาไทยคือ “กองทุนเพื่อการออมพิเศษ” กองทุนลดหย่อนภาษีพิเศษ ที่มีกำหนดระยะเวลาซื้อหน่วยลงทุนได้ระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน 2563 เท่านั้น – ลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท (ไม่รวมกับวงเงินซื้อหน่วยลงทุนกองทุน SSF แบบปกติ) – มีวงเงินลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมอีก 200,000 บาท ไม่รวมกองทุน SSF […]

กองทุนรวมเพื่อการออม ชนิดเพื่อการออมพิเศษ (SSFX)

เปิดขายแล้ว กองทุนรวมเพื่อการออม ชนิดเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) โดยมีเงื่อนไขดังนี้ – เปิดขาย 1 เมษายน – 30 มิถุนายน 2563 – ซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 200,000 – เป็นกองทุนที่ลงหุ้นไทยไม่น้อย 65% – มีระยะเวลาการถืออย่าง10ปี นับจากวันซื้อ – ไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี ซื้อปีไหนใช้ลดหย่อนปีนั้น เรื่องที่เกี่ยวข้อง กองทุนลดหย่อนภาษีปี 2563 กองทุนรวมเพื่อการออม ชนิดเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) เปรียบเทียบกองทุน SSFX กับ SSF ข้อมูลกองทุนรวมของ บลจ. ต่างๆ บลจ. บัวหลวง SSFX/SSF : https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/9176 RMF : https://www.bblam.co.th/products/mutual-funds/retirement-mutual-fund บลจ. กรุงไทย SSFX/SSF/RMF : https://www.ktam.co.th/rmf-ltf.aspx บลจ. กรุงศรี SSFX/SSF : https://www.krungsriasset.com/TH/FundGroupDetail.html?gid=2767 RMF : https://www.krungsriasset.com/TH/FundGroupDetail.html?gid=113 บลจ.กสิกร […]

7 ข้อต้องรู้ก่อนซื้อกองทุนรวมเพื่อการออมหรือ Super Savings Fund (SSF)

กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ Super Savings Fund (SSF) เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว โดยรัฐให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการซื้อกองทุน SSF คือ บุคคลธรรมดาสามารถเอาเงินลงทุนที่ลงทุนใน SSF ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน และต้องไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม SSF จะต้องรวมกับกองทุนประเภทอื่น แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ประกันแบบบำนาญ กองทุนรวมเพื่อการออม SSF มีให้เลือกลงทุนในหลักทรัพย์หลายประเภท เช่น ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุนรวมแบบผสมก็ได้ กองทุน SFF จะไม่มีกำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน และไม่กำหนดเงื่อนไขในการซื้อต่อเนื่อง ถ้าปีไหนก็ใช้ลดหย่อนในปีนั้นๆ ผู้ซื้อกองทุน SSF จะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข ก็คือ ต้องถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ เงินลงทุนแต่ละครั้ง […]

ลดหย่อนภาษี vs เลี่ยงภาษี เหมือนหรือต่างกันยังไง?

หลายคนมักสับสนกับสองคำนี้ที่อ่านแล้วดูจะมีความหมายเหมือนกันแต่จริงๆแล้วไม่ใช่ สองคำนี้มีความหมายต่างกันมาดูว่าแต่ละคำแปลว่าอะไร ลดหย่อนภาษี คือการที่เรายื่นเสียภาษีตามกฏหมายโดยแจ้งรายได้ที่เราได้รับต่อปีและใช้สิทธิตามที่ทุกคนได้รับเหมือนๆกัน เช่น การหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว หักค่าลดหย่อน กองทุนประกันสังคม ประกันชีวิต และสิทธิอืน เพื่อจ่ายภาษีให้น้อยลงตามที่เรียกเก็บจริงๆ เช่น จากเราได้เราอาจจะต้องจ่ายภาษีต่อปีจริงๆ 20,000 บาท แต่เราสาขาซื้อประกันชีวิต ซื้อกองทุน LTF เบี้ยประกันสังคม เพื่อเสียภาษีลดลงตามความสามารถที่ซื้อไหว เลี่ยงภาษี คือการที่เราเลี่ยงที่จะไม่จ่ายภาษีเช่นการไม่แจ้งรายได้ที่แท้จริงเพื่อให้เสียภาษีน้อยลงหรือการแจ้งรายได้ที่น้อยกว่าที่ได้รับจริงๆ ส่วนใหญ่จะเป็นรายได้จากหน่วยงานที่ไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ถ้าเป็นรายได้จากเงินเดือนประมาณจากบริษัทจะหักภาษีไว้ก่อนและแจ้งรายได้ที่แท้จริงกับสรรพกรอยู่แล้วอาจจะยากต่อการเลี่ยงภาษี ช่วงสิ้นปีแบบนี้หลายคนน่าอาจจะกำลังวางแผนหรือคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายกันอยู่ อย่าลืมเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฏหมายด้วยนะครับ ที่สำคัญสรรพกรไม่ได้ใจร้ายที่จะเก็บภาษีเราทุกบาทแต่ยังมีตัวช่วยให้เราจ่ายภาษีน้อยลงหรือขอคืนได้ ลองหาสิทลดหย่อนต่างๆ ที่สรรพกรกำหนดไว้ เช่น ซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน LTF อื่นๆ มาลดหย่อนดู ได้คืนน้อยยังดีกว่าไม่ได้คืน เงินที่ซื้อประกันชีวิต ซื้อองทุนก็ยังเป็นเงินเก็บเราอีกด้วย =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

1 2 3 4 5