3 วิธีสร้างวินัยการออม

หากคุณเป็นเด็กจบใหม่หรือทำงานมาจนเป็นรุ่นพี่ ความฝันอย่างหนึ่งก็คือ อยากมีอิสรภาพทางการเงิน มีรายได้โดยไม่ต้องทำงานกันใช่ไหมครับ แต่อิสรภาพทางการเงินนั้นไม่เข้าใครออกใคร แต่ไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะถ้าอย่างนั้นทุกคนก็คงไม่ต้องทำงานกันแล้ว ทุกวันนี้เรามักจะเห็น คนรุ่นใหม่หรือที่เรียกว่า Gen Y ที่โตมาพร้อมกับเทคโนโลยี สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วและหลากหลาย แสวงหาความสำเร็จได้รวดเร็ว หากต้องการทำอะไรก็ตัดสินใจเร็ว หรือต้องการความรู้เรื่องใดก็สามารถค้นหาได้เร็วเช่นกัน เราจึงมักเห็นคนกลุ่มนี้หันมาทำธุรกิจของตัวเอง เป็นเจ้าของกิจการหรือการลงทุนต่างๆ เช่น หุ้นหรือกองทุนรวม เหตุผลเพราะอยากมีอิสรภาพทางการเงิน มีรายได้โดนไม่ต้องทำงาน แต่ก่อนที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงินแต่ยังขาดทักษะการบริหาร การวางแผนการเงินสุดท้ายเงินที่ได้มาก็หมดไป หลายคนไม่มีความรู้พื้นฐานวางแผนการเงิน จึงไม่รู้ว่าหากจะมีอิสรภาพทางการเงินนั้นจะเริ่มต้นที่ตรงไหนดี ลองมาดู 3 วิธีสร้างวินัยการออมเพื่อไปสู่อิสรภาพทางการเงินกันครับ ลดรายจ่าย  การจะเริ่มออมเงินเพื่อไปสู่อิสรภาพทางการเงินได้ วิธีที่ง่ายที่สุดคือลดรายจ่าย บางคนอยากมีเงินเก็บ อยากรวย เลยทำบัญชีรายรับ รายจ่าย เพื่อดูว่ามีค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็นและตัดออก ซึ่งเป็นวิธีการพื้นฐานที่ดีและควรทำที่สุด แต่นิสัยปกติของคนเราเมื่อเวลาผ่านไปเรามักจะลืมสิ่งที่จดไว้ หรือเห็นสินค้าต่างๆ ก็อดใจไม่ได้ที่จะซื้อ การลดรายจ่ายอาจจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่หมด เพราะวันใดหากมีรายจ่ายจำเป็นเกิดขึ้น ก็ต้องใช้เงินอยู่ดี เหมือนประโยคที่ว่า “การประหยัดไม่ได้ช่วยให้คนรวย” เพิ่มรายได้ เมื่อเราลดรายจ่ายแล้ว รู้ว่ารายจ่ายที่ใช้ไปมีอะไรบ้าง ส่วนไหนตัดออกได้ ยังไม่พอ เราควรมีรายได้เพิ่มเติมด้วย โดยรายได้เพิ่มเติมอาจจะมาจากงานเสริม จากความถนัดที่มี เพราะรายได้ทางเดียว […]

เคล็ดลับออมเงินให้ถูกจริตพิชิตเป้าหมาย

  ถ้าพูดถึงเรื่องเป้าหมายทางการเงินว่าอยากมีเงินเก็บเท่าไหร่หรือเป้าหมายที่จะซื้อของต้องใช้เงินเท่าไหร่ ทุกคนคงอยากมีเงินเก็บและมีเป้าหมายกันหมดแน่ๆ แต่การจะมีเงินเก็บนั้นไม่ใช่อยู่ดีๆ เงินจะลอยมากองอยู่ตรงหน้าเลยมันต้องมีการเริ่มต้นก่อนซึ่งเป็นจุดสำคัญของการออมเงินเลย เพราะในช่วงแรกถ้าเราไม่มีวินัยมากพอจนทำให้มันติดเป็นนิสัย สุดท้ายเราก็จะล้มเลิกมันไป นั่นเป็นเพราะวิธีการที่เราเลือกไม่ถูกจริตหรือนิสัยของเรานั่นเอง ลองมาดู การออมเงินนั้นแบบต่างๆ ว่ามีแบบไหนบ้างที่ถูกจริตกับนิสัยของเราเพื่อจะได้นำไปใช้จนทำให้การออมเงินนั้นติดเป็นนิสัยและออมเงินได้จนเร็จ หยอดกระปุก วิธีพื้นฐานการเริ่มต้นออมเงินที่ทุกคนถูกสอนมาตั้งแต่เด็กๆ คือการหยอดกระปุก เราอาจจะเริ่มจากการเก็บเศษเหรียญหรือแบงค์ 20 ก่อนก็ได้ครับ ออมที่ไม่ต้องมาก แต่ขอให้ออม เมื่อเราฝึกวินัยการออมด้วยวิธีนี้ได้ ค่อยต่อยอดไปอีกขั้น การออมวิธีนี้มีข้อดีคือเราสามารถนำเงินเก็บมาใช้ยามจำเป็นได้ แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียคือ ออมเท่าไหร่ไม่ถึงเป้าหมายสะที พอสิ้นเดือนก็ควักออกมาใช้หมด และที่สำคัญถ้าทิ้งเงินไว้ในกระปุกก็ทำให้ขาดโอกาสที่เงินจะสร้างผลตอบแทนได้ แม้ว่าจะหนึ่งเดือนหรือสองเดือนถ้าออมเงินได้แล้วนำไปลงทุนต่อก็สร้างผลตอบแทนได้เยอะเหมือนกัน ฝากธนาคารแบบออมทรัพย์ สำหรับคนที่มองวางเก็บเงินไว้ในกระปุกไม่ได้ดอกเบี้ย อาจจะต่อยอดจากการนำเงินที่ได้ไปฝากบัญชีออมทรัพย์กับธนาคาร หากต้องการเก็บเป็นเงินออม ไม่ควรมีบัตรเอทีเอ็มและไม่ผูกบัญชีกับมือถือเพราะจะได้ไม่เผลอกดมาใช้ แต่ถ้าต้องการเก็บเป็นเงินฉุกเฉินก็อาจจะเพิ่มบริการโมบายแบงก์กิ้งไปด้วย ข้อดีคือได้ดอกเบี้ย ดีกว่าเก็บเงินไว้เฉยๆ และยังสามารถเบิกมาใช้ยามจำเป็นได้ แต่ผลตอบแทนที่ได้ก็อาจจะไม่สูงมา ฝากธนาคารแบบฝากประจำ หากฝากแบบออมทรัพย์แล้วยังเผลอกดมาใช้ แนะนำว่าเปลี่ยนไปฝากแบบประจำ เพราะบัญชีฝากประจำจะมีเงื่อนไขคือจะถอนเงินได้ก็ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญาตามแบบที่เราเลือก และยังได้ดอกเบี้ยสูงกวว่าแบบออมทรัพย์ด้วย และควรกระจายไว้ทั้งสองบัญชีทั้งออมทรัพย์เพื่อจะได้ถอนมาใช้เมื่อจำเป็น แล้วตอนนี้เกือบทุกธนาคารก็มีบัญชีแบบใหม่ที่อาจจะไม่ต้องฝากประจำก็ยังได้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.5% ด้วย (อ่านบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง) ออมในหุ้น ซื้อกองทุน จากการออมทั้งสามแบบที่ผ่านมาจะเห็นว่า เป็นการฝึกวินัยการออมเงิน ยังไม่มีเรื่องของผลตอบแทนมาเกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ เพราะวินัยสำคัญกว่าผลลตอบแทนเราจึงควรให้ความสำคัญกับวินัยการออมก่อน เมื่อเรามีวินัยและทำเป็นนิสัย ขั้นต่อไปเราก็จะเลือกออมในกองทุน […]

3 เหตุผลทำไมคน Gen Y ไม่มีเงินเก็บ

มาดูเหตุผลที่กลุ่มคน Gen Y ใช้เป็นข้ออ้างว่าทำไมไม่มีเงินเก็บ คุณหละเป็นแบบนี้บ้างไหมครับ รายได้เพิ่ม รสนิยมเปลี่ยน ไม่เห็นความสำคัญของการออมเงิน ตายไปไม่ได้ใช้ หาได้รีบใช้ก่อน รายได้เพิ่ม รสนิยมเปลี่ยน ตอนมีเงินเดือนน้อยก็บ่นไม่พอใช้ พอมีเงินเดือนเพิ่มก็ยังไม่พอเก็บเพราะรสนิยมเริ่มเปลี่ยนไป มีสิ่งใหม่ๆ ที่อยากได้เพิ่มขึ้น ทำให้เงินไม่เหลือเก็บ พอรู้ตัวอีกที เงินที่ได้เพิ่มเข้ามาก็จ่ายออกไปกับสิ่งของต่างๆ แปลกใจไหมครับ ตอนเงินเดือนน้อยทำไมไม่มีสิ่งเหล่านั้นยังอยู่ได้? ไม่เห็นความสำคัญของการออมเงิน จากที่ได้พูดคุยกลับคนกลุ่ม Gen Y ส่วนใหญ่ยังไม่มีเงินเก็บสำหรับเป้าหมายหรือเกษียณ เพราะคิดว่ายังมีเวลาอีกนานค่อยเก็บก็ได้ บ้างก็บอกว่าตอนนี้มีของที่อยากได้อยู่รอซื้อครบค่อยออมหรือตอนนี้ยังมีงานทำ มีรายได้ เลยไม่เห็นความสำคัญของการออม แต่เมื่อยามฉุกเฉินที่จำเป็นต้องใช้เงินก้อน หันหน้าไปพึ่งใครก็ไม่มีกว่าจะคิดเริ่มออมเงินก็อาจจะสายไปแล้ว ตายไปไม่ได้ใช้ หาได้รีบใช้ก่อน กลุ่มคน Gen X คิดว่าตอนเป็นวัยรุ่นต้องทำงานและพัฒนาตัวเอง จะได้มีเงินเก็บไว้ใช้ตอนแก่ แต่คน Gen Y คิดต่างกัน จะทำงานหนักเอาไปใช้เป็นค่ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือไปใช้ตอนแก่ทำไม เดี่ยวตายก่อนก็ไม่ได้ใช้ ซึ่งก็ไม่ได้ผิดแต่อย่าลืมว่า “ตอนแก่แต่ยังไม่ตายและไม่มีเงินใช้ก็ไม่ใช่เรื่องน่าสนุกสักเท่าไหร่” ตายแบบมีเงินเหลือเก็บยังมีพ่อแม่ไว้ให้ใช้ แต่ยังไม่ตายแล้วเงินหมดนะสิน่ากลัว =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q […]

รู้จักตัวตัน ด้วยแบบทดสอบสุขภาพทางการเงิน

เช้าวันจันทร์ก่อนไปทำงานมาเช็คสุขภาพการเงินกันสักหน่อยนะครับ การตรวจเช็คสุขภาพทางการเงินก็เหมือนกับการตรวจสุขภาพร่างการของเรา เพราะร่างกายคนเรายังมีเจ็บป่วย มีอ่อนแอและมีการตรวจสุขภาพประจำปี หากตรวจเจอโรคอะไรจะได้รักษาได้ทัน สุขภาพการเงินก็เช่นกันเมื่อได้ทำแบบทดสอบจะช่วยให้เรารู้ว่าตอนนี้เราใช้จ่ายเงินเป็นยังไง มีการออมเงินหรือไม่และหากเราจะบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้จะต้องทำยังไง หากสุขภาพทางการเงินแย่ก็จะได้รีบแก้ไขก่อนจะสาย ทำแบบทดสอบเสร็จแล้ว อย่าลืมคอมเม้นแบ่งเพื่อนๆ ให้รู้กันด้วยนะค้าบ     =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure Group : www.facebook.com/groups/190206858958713

วางแผนการเงินด้วยบัญชีเงินฝาก 4 ประเภท

#วางแผนการเงิน ตอน…วางแผนการเงินด้วยบัญชีเงินฝาก หากสงสัยว่าบัญชีเงินฝากช่วยวางแผนการเงินได้จริงไหมมาดูกันว่ามันช่วยยังไงครับ ในหนังสือวางแผนการเงินหลายเล่มของญี่ปุ่นพูดถึงการวางการเงินโดยใช้สมุดบัญชีเข้ามาช่วย ด้วยเหตุผลที่ที่ว่า ถ้าเราใช้สมุดบัญชีเล่มเดียว รวมทุกอย่างไว้ที่เดียว ไม่มีการแยกเงินใช้เงินเก็บจะทำให้เรานำเงินทั้งหมดมาใช้โดยไม่รู้ตัว การแยกสมุดบัญชีจะช่วยให้บริหารเงินได้ง่ายขึ้น โดยบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ แยกจากกัน   “บัญชีใช้จ่ายประจำวัน” สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทางค่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟใช้คู่กับบัตรเอทีเอ็ม โดยจะมีเงินหมุนเวียนเข้าออกตลอด ควรเลือกธนาคารที่สามารถกดเงินได้ทุกที่ สะดวก รวดเร็ว และรองรับบริการชำระค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุม ซึ่งปัจจุบันหลายธนาคารสามารถกดเงินต่างธนาคารหรือจ่ายค่าบริการต่างๆ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมแล้ว “บัญชีออมเงินฉุกเฉิน” สำหรับเก็บเงินไว้ใช้กรณีจำเป็น หรือพักเงินไว้ในยามฉุกเฉินเช่น ค่าซ่อมรถ ค่าซ่อมคอมพิวเตอร์ อาจจะเป็นบัญชีออมทรัพย์รูปแบบพิเศษ ที่ได้ดอกสูงและสามารถถอนใช้ได้ โดยแยกออกจากบัญชีประจำเดือนและไม่ควรมีบัตรเอทีเอ็มเพราะอาจจะกดมาใช้พร่ำเพื่อ แต่ควรมีสมุดหรือถอนเงินได้สะดวกเมื่อยามจำเป็น อาจจะเดือนละ 1-2 ครั้ง   “บัญชีออมเพื่อเป้าหมาย” การออมเงินให้ประสบผลสำเร็จนอกจากจะวางแผนการเงินดีแล้วต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ตั้งใจเก็บเงินเพื่อซื้อบ้าน ดาวน์รถหรือท่องเที่ยว หากเรารวมไว้กับบัญชีอื่นเมื่อถึงเวลาอาจจะเสียดาย ที่จะนำเงินออกมาใช้ แต่ถ้าแยกไว้ต่างหากเพื่อเป็นรางวัลให้กับชีวิตจะได้ไม่ต้องคิดมากเมื่อได้เงินตามที่ตั้งใจไว้ โดยอาจเป็นบัญชีประเภทเดียวกับบัญชีออมฉุกเฉิน ถอนสะดวกดอกเบี้ยพิเศษ “บัญชีเพื่อการลงทุน” บัญชีนี้จัดว่าอยู่ในระดับที่เราวางแผนการเงินมาระยะหนึ่งแล้ว หลังจากที่สามารถวางแผนการใช้เงินในชีวิตประจำวันโดยไม่ขัดสน สามารถแบ่งเงินใช้เงินออมได้โดยไม่ติดปัญหา ถึงเวลาที่จะทำเงินที่ออมไว้มาลงทุนให้งอยเงยมากขึ้น เพราะการเก็บเงินไว้บัญชีออมทรัพย์หรือฝากประจำ ไม่สามารถทำให้เงินมากขึ้นทันเงินเฟ้อ การลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงและรับความเสี่ยงได้จะช่วยให้เงินเติบโตได้เพิ่มมากขึ้นโดยต้องศึกษาข้อมูล […]

1 43 44 45 46 47 56