ซื้อประกันแบบไหนเอาไปใช้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง

วางแผนซื้อประกันลดหย่อนภาษีกับอู๋และเมืองไทยประกันชีวิต มีแผนไหนที่น่าสนใจบ้างมาดูกันแบบไหนเหมาะกับเรา ปัจจุบันการออมเงินในประกันชีวิตหรือการซื้อประกันชีวิตสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ มี 3 แบบดังนี้ ประกันชีวิต/สะสมทรัพย์, ประกันสุขภาพ, ประกันแบบบำนาญ ประกันชีวิต/สะสมทรัพย์ หลายคนสับสนว่าประกันชีวิตแบบไหนบ้างที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ คำตอบคือ ประกันชีวิตทั้งแบบตลอดชีพที่คุ้มครองยาวๆ ไปจนถึงอายุ 80 ปีหรือ 99 ปี หรือประกันชีวิตที่หลายคนเรียกว่าประกันสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาสัญญาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท ประชีวิตตลอดชีพ เมืองไทย สมาร์ทโพรเทคชั่น 99/20 ประชีวิตตลอดชีพ เมืองไทย แฮปปี้ รีเทิร์น 99/7 ประกันสะสมทรัพย์ รับบำนาญ แฮปปี้ รีไทร์  60 ประกันสะสมทรัพย์ เมืองไทย ซุปเปอร์ เซฟเวอร์ 25/16 ประกันสะสมทรัพย์ เมืองไทย เอ็กซ์ตร้า เซฟวิ่ง 15/5 ประกันสะสมทรัพย์ เมืองไทย สมาร์ทลิงค์ 15/6 (Global) ประกันสุขภาพ ลดหย่อนด้วยประกันสุขภาพได้ทั้งเงินภาษีคืนและได้ความคุ้มครองเมื่อเจ็บป่วย ซ่าได้ไม่ต้องห่วงเรื่องค่ารักษาพยาบาลโดยประกันสุขภาพก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน […]

อายุ 30 แล้วมีเงินเก็บกี่บาท?

วันรุ่นจบใหม่ไฟแรง มีเงินเดือนแต่ใช้ไปหมดกับของที่อยากได้จนลืมคิดเรื่องเก็บเงิน ผ่านไปหลายปียังไม่มีเงินเก็บเพราะมัวแต่คิดว่าเหลือเวลาอีกนาน หากเราเรียนจบกันตอนอายุ 22 ปีและเริ่มเก็บเงินเดือนละ 500 บาทไม่ต้องเก็บมากหรอกครับ เข้าใจว่าอยากกิน อยากใช้ อยากเที่ยว อยากซื้อเสื้อผ้า มือถือ บลาๆ แต่แค่เดือนละ 500 บาทน่าจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ ผ่านไป 2 ปีอายุ 24 ปีจะมีเงินเก็บ 24,000 บาท ถ้ากลัวเอามาใช้ก็ฝากแบบประจำก็ได้ จากกนั้นเมื่อเรามีเงินเดือนเพิ่มขึ้น เปลี่ยนงาน มีรายได้หลายทางก็เพิ่มการเก็บเป็นเดือนละ 1,000 บาท พออายุ 30 ปีจะมีเงินเก็บ 72,000 บาท รวมของเก่าเป็น 96,000 บาท แล้วค่อยนำเงินไปลงทุนไปต่อยอดให้งอกเงย ตัวอย่างนี้ยังไม่ได้คิดว่าถ้าเรานำเงินไปลงด้วยทุนจะได้เพิ่มอีกมากแค่ไหน หรือถ้าออมเพิ่มด้วยก็จะได้มากกว่านี้แน่นอน ปัจจุบันคนอายุ 30 ปีมีเงินเก็บถึง 96,000 บาทกันหรือยังครับ ถ้าวันนี้อยากเก็บเงินให้ได้โดยไม่เอามาใช้หรือยังไม่มีเงินเก็บ ไม่มีสมบัติอะไรเลยก็อยากให้มีประกันชีวิตไว้สักฉบับ เผื่อเป็นอะไรไปจะได้ทิ้งเงินก้อนไว้ให้พ่อแม่ หรือคนที่รักบ้างนะครับ =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and […]

ถ้าต้องอยู่เป็นโสดควรมีประกันชีวิตอะไรเตรียมบ้าง?ถ้าต้องอยู่เป็นโสด

ประกันถือว่าเป็นสินค้าทางการเงินอย่างหนึ่งที่ใช้สำหรับวางแผนการเงินได้ เพราะประกันนั้นมีหลากรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่เกิดจนตาย ทำให้หลายคนที่เห็นความสำคัญของประกันเลือกที่จะใช้สินค้าชนิดนี้มาวางแผนการเงินให้กับตัวเอง แต่จะเลือกประกันแบบไหนนั้น เราต้องมีเป้าหมายหรือความต้องการก่อนว่าเราอยากได้อะไรเพื่อที่จะเลือกประกันได้ถูกต้อง โดยบทความนี้ผมเอาคำถามจากเพื่อนที่ถามว่า “อยู่เป็นโสดควรมีประกันชีวิตอะไรบ้าง?” มาช่วยวางแผนให้กับคนที่กำลังโสดและวางแผนว่าจะอยู่เป็นโสดได้ลองเลือกกันดูครับ “ประกันสุขภาพ” เพราะชีวิตเราสำคัญที่สุด ห่วงตัวเองก่อนที่จะห่วงคนอื่น เมื่อเราเจ็บป่วย เราต้องได้รับการช่วยเหลือและการรักษาที่ดี เพื่อมีชีวิตอยู่ต่อดูโลกอันโหดร้ายนี้ 555 และที่สำคัญจะได้ไม่ต้องไปพึ่งพาหรือยืมเงินคนอื่นมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลตอนแก่ อีกหนึ่งเหตุผลคือ ค่ารักษาสมัยนี้แพงมาก ถ้าเรามีประกันสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยจะได้ไม่ต้องเอาเงินเก็บที่มีอยู่มาใช้ เสียดายเปล่าๆ แบ่งเงินส่วนหนึ่งมาจ่ายเบี้ยประกันดีกว่าครับ (ดูประกันสุขภาพ) “ประกันชีวิตแบบบำนาญ” แผนนี้อาจะออมสั้นหรือออมยาว และได้เงินคืนตอนเกษียณหรือตอนแก่ หรือตอนที่ไม่มีรายได้แล้ว แนะนำว่าควรเป็นแผนที่ได้เงินคืนทุกปีไปจนเสียชีวิต เพราะถ้าได้เป็นเงินก้อน ความบรรลัยจะมาเยือนครับ ลูกหลานเห็นมีเงินก็เข้ามาขอ หรือเราจัดการไม่ดีได้เงินก้อนมาก็เอาไปใช้หมด สุดท้ายไม่มีเงินเหลือ ฉะนั้นไม่อยากพึ่งเบี้ยผู้สูงอายุเดือนละ 800 บาทก็จะต้องวางแผนประกันสำหรับรับเงินบำนาญด้วยนะครับ (ดูประกันแบบบำนาญ) “ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์” ประกันแบบออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์มักจะมีเงินคืนระหว่างสัญญาและรับเงินก้อนเมื่อครบสัญญา ประกันแบบนี้เราจะไว้ใช้จ่ายตอนช่วงทำงานนี้ ทำให้เรามีเป้าหมายในการออม เลือกสัญญาแบบสั้นหรือยาวก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน พอได้เงินก้อนก็จะได้ไปใช้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เช่น ไปเที่ยวต่างประเทศกับครอบครัว ออกรถใหม่ ซ่อมแซมบ้าน ถึงแม้เราจะใช้เงินก้อนนี้หมด เรายังสามารถทำเล่มใหม่เพื่อเป้าหมายใหม่ได้ (ดูประกันสะสมทรัพย์) “ประกันชีวิตควบการลงทุน” สำหรับคนที่เป็นสายการลงทุนไม่ค่อยอินกับประกันเท่าไหร่แต่ก็อยากมีความคุ้มครองไว้ เพื่อว่ามีคนมาเลี้ยงดูตอนแก่จะได้มีเงินก้อนไว้ให้เค้าบ้าง แต่ตอนนี้ก็อยากลงทุนมากกว่าเพราะมองว่าสามารถบริการจัดการเงินได้เอง เลือกลงทุนได้เอง ผลตอบแทนดีกว่าก็เลือกแบบที่มีเงินลงทุนได้ เพราะเราสามารถบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนได้เองหรือให้บริษัทจัดการให้ […]

3 เหตุผลที่ทำให้เราไม่เริ่มลงทุน

ถ้าถามว่าเมื่อไหร่เราจะเริ่มออมเงินหรือลงทุน หลายคนคงบอกว่ารอให้พร้อมก่อน แต่คำว่าพร้อมของการเริ่มต้นออมเงินคืออะไร ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เพราะพร้อมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผมสอบถามเพื่อนๆ หลายคนที่อยากเริ่มเก็บเงิน ซื้อประกันหรือลงทุน และปัญหาของตัวเองว่ามีแบบไหนที่ตรงกับคนอื่นบ้างและสรุปได้ 3 ข้อใหญ่  คือ รายจ่ายเยอะ ก่อนที่เราจะเริ่มออมเงิน ซื้อประกัน หรือลงทุนคิดว่ารายจ่ายเยอะทำให้ไม่ได้เริ่มสักที และก็ผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ แต่พอถ้าเราได้ตัดสินใจเริ่มออมเงินหรือซื้อประกันแล้วจะรู้ว่ารายจ่ายก็ยังเยอะเหมือนเดิม บางคนเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ แต่เราก็สามารถบริการจัดการกับเงินเราได้ ซึ่งรายจ่ายในส่วนของการออมเงินหรือลงทุนนี้มันช่วยให้เรามีเงินเก็บมากขึ้นเหมือนมันเป็นเงินที่ถูกบังคับให้จ่าย พอเรามีรายได้เข้ามาก็จะคิดถึงส่วนนี้ก่อน ที่จะเอาไปใช้อย่างอื่น พอเริ่มทำไปสักพักแม้ว่ารายจ่ายเราจะยังเยอะอยู่แต่เราว่าก็มีเงินเก็บ เงินออมเพิ่มขึ้น โชคดีที่เพื่อนๆ หลายคนรวมถึงผมด้วยตัดสินใจทำประกันแบบเงินออมไปตั้งแต่ 2-3 ปีที่แล้ว เพราะถ้ามัวแต่คิดว่ารายจ่ายเยอะและไม่เริ่มสักที ตอนนี้ก็คงยังไม่มีเงินเก็บสักบาท ไม่มีเงินเหลือ หลายคนมักจะคิดว่าการออมเงิน ซื้อประกัน หรือลงทุนจะต้องนำเงินที่เหลือจากที่ใช้ก่อน ซึ่งผมก็เคยคิดแบบนั้นเหมือนกันเลยเป็นเหตุผลว่า ออมเงินไม่ได้สักที พอได้รู้เคล็ดลับว่า การออมเงินหรือลงทุนจะต้องหักจากรายได้เข้ามาเลย เหลือเท่าไหร่ค่อยเอาไปใช้ จะหักไปออมมาก ออมน้อยก็ขอให้ได้หักไว้ มันทำให้เริ่มเก็บเงินหรือลงทุนได้ เหมือนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในบริษัทก็มักจะหักเงินพนักงานก่อนที่จะโอนเข้าบัญชีให้ ถ้าเราทำตามวิธีนี้แล้ว เงินเดือนเข้าหักออมไว้ก่อนเหลือเท่าไหร่ค่อยใช้ รับรองว่ามีเงินเก็บเพิ่มขึ้นแน่นอน ยังไม่จำเป็น บางคนอาจจะคิดว่าการเริ่มออมเงิน ซื้อประกัน หรือลงทุนนั่นยังไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเพราะยังเริ่มต้นทำงาน เงินเดือนไม่เยอะ หรือยังมีเวลาอีกนาน แต่ผมอยากบอกว่า เพราะเมื่อถึงคราวจำเป็นอาจจะไม่ได้มีโอกาสแล้วก็ได้ […]

เริ่มต้นออมเงินเท่าไหร่ให้พอใช้หลังเกษียณ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่เราทำงานทุกวันนี้ก็เพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณใช่ไหมครับ ตอนนี้ใครยังทำงานใช้เดือนชนเดือนหรือใช้หนี้บัตรเครดิตอยู่จนไม่มีเงินเก็บอยู่ อาจจะต้องคิดหนักขึ้นเพราะระยะเวลาการทำงานที่น้อยลงไปทำให้เราต้องเก็บเงินเพื่อเกษียณในแต่ละเดือนมากขึ้น ทุกคนเคยคิดหรือวางแผนกันหรือไม่ว่าในวันที่เกษียณจะต้องมีเงินเท่าไหร่จะพอใช้และตอนนี้นี้มีเงินเท่าไหร่แล้ว ขาดอีกเท่าไหร่ที่จะต้องหาเพิ่ม ตัวอย่างคำนวณเงินออมแบบไม่คิดผลตอบแทน สมมติง่ายๆ คำนวณโดยไม่คิดเรื่องผลตอบแทนที่ควรได้ หรือการลงทุนนะครับ เมื่อ 30 ปีก่อนกินข้าวราดแกงจานละ 20 บาท ตอนนี้ขึ้นเป็นจานละ 50 บาท ราคาขึ้นมา 1.5 เท่า ฉะนั้นเมื่ออายุ 60 ปี ข้าวราดแกงน่าจะประมาณจานละ 75 บาท ( อาจจะสูงกว่านี้ได้) ฉะนั้นในวันที่เรามีอายุ 60 อยู่ไปจนถึง 85 ปี รวม 26 ปี กินข้าวปีละ 365 วัน วันละ 3 มื้อ มื้อละ 75 บาท รวมเป็นเงิน 2,135,250 บาท หู้วววววว เยอะอะไรขนาดนั้น นี่แค่ค่าอาหารธรรมดาๆ นะครับ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล […]

1 42 43 44 45 46 56