4 แบบประกันสะสมทรัพย์แนะนำ ตัวช่วยออมเงินและลดหย่อนภาษี

สวัสดีครับทุกคน เมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านหลายบริษัทประกันทะยอยปิดแผนประกันสะสมทรัพย์ไปเกือบจะหมด นั่นก็เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้ต้องมีการปรับแผนอัตราผลตอบแทนเพื่อให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ แต่อย่างไรแล้วเมืองไทยประกันชีวิตก็ยังมีแผนประกันสมทรัพย์ที่ให้ลูกค้าได้เลือกอยู่อีกหลายแผนทั้งแผนเดิมและแผนที่เปิดใหม่ เพื่อนๆ หลายคนกำลังมองหาแผนประกันสะสมทรัพย์อยู่ แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกแผนไหนหรือแผนไหนดี ลองมาดูว่ามีแผนไหนบ้างที่เหมาะกับตัวเรากันนะครับ แผน 1 ออมสั้นครบไว้ รับเงินคืนทุกปี ตัวอย่างเบี้ยประกันเพศหญิง อายุ 30 ปีเบี้ยประกันปีละ 38,250 บาท จ่ายเบี้ย 5 ปีคุ้มครอง 15 ปี จ่ายเบี้ยรวมเป็นเงิน 191,250 บาท (เพศชายและเพศหญิง อายุ 0-50 ปีเบี้ยเท่ากัน) รับเงินคืน ตั้งแต่สิ้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 14 รับเงินคืนปีละ 1,500 บาท ( รวม 15,000 บาท ) ปีที่ 15 รับเงินก้อน 195,000 บาท รวมเงินคืนทั้งหมด 216,000 บาท ทุนประกัน […]

เปรียบเทียบประกันสุขภาพเหมาจ่าย Elite Health Plus และ D Health Plus

วันนี้เมืองไทยประกันชีวิต ได้อัพเกรดแผนประกันสุขภาพเดิมที่มีอยู่ Elite Health (อีลิท เฮลท์) เป็นแผน Elite Health Plus (อีลิท เฮลท์ พลัส)  และแผน D Health (ดีเฮลท์) เป็นแผน  D Health Plus (ดีเฮลท์ พลัส)  ใครกำลังมองหาประกันสุขภาพดีๆ แบบเหมาจ่ายสักแผนไว้คุ้มครองและช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่แสนจะแพงเมื่อเข้าโรงพยาบาล แต่ก็อาจจะยังตัดสินใจไม่ได้สักทีเพราะแผนไหนก็ดูคุ้มค่าไปหมด ลองมาดูความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นของทั้ง 2 แผนว่าจะเป็นแผนไหนดี ทั้งสองแผนเรียกได้ว่าเป็น Super Health ที่คุ้มครองนานสุดๆ ไปจนถึงอายุ 99 ปี ลองมาดูความแตกต่างว่าแผนไหนที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเรา โดยผมทำเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของทั้ง 2 แผนตามมาตรฐานใหม่ของประกันสุขภาพที่ คปภ. ได้กำหนด แบ่งเป็น 13 หมวด ดังต่อไปนี้ หมวด 1 ค่าห้อง และค่าอาหาร ค่าบริการในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) Elite Health Plus […]

การลงทุนแบบ DCA | ซีรี่ย์การลงทุน EP.8

หลายคนที่ติดตามเพจของผมอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องมานั่งแบงค์ 20 กับเหรียญที่หยอดกระปุกทุกเดือน ไม่รอให้ครบปีหรือครบตามเวลาที่ต้องการก่อนค่อยนับทีเดียว วันนี้จะมาเฉลยครับ จริงๆ ทุกคนสามารถรอนับตอนสิ้นปีทีเดียวเลยก็ได้จะได้รู้ว่าเราเก็บเงินได้เท่าไหร่แล้ว ค่อยเอาไปใช้ตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ตั้งแต่แรก แต่สำหรับผมที่ต้องนับทุกเดือนเพราะผมใช้หลักการ DCA หรือ “Dollar Cost Averaging” เพื่อลงทุนในกองทุนรวมครับ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่า DCA ที่ลงทุนในกองทุนรวมเป็นยังไงขอยกตัวอย่างบัญชีออมทรัพย์แบบทวีทรัพย์ละกันครับ บัญชีประเภทนี้คือเราเปิดบัญชีเท่าไหร่ เดือนต่อไปก็ต้องฝากเท่าๆ กันทุกเดือนจนครบสัญญา 12 เดือนหรือ 24 เดือน เพื่อฝึกนิสัยการออมของเรา สิ่งที่ได้เพิ่มมาคือดอกเบี้ยที่ฝากในแต่ละเดือน จากการที่เราฝากเงินเพิ่มขึ้นเพราะดอกเบี้ยคำนวณเป็นรายวัน DCA คืออะไร? สำหรับการ DCA ในกองทุนรวมคือการที่ซื้อกองทุกๆ เดือน ในยอดเงินที่เท่ากัน วันที่เดียวกัน ถ้ากองทุนนั้นมีมูลค่าหน่วยลงทุนสูง (NAV) ก็จะได้จำนวนหน่วยลงทุนน้อยลง แต่ถ้าเดือนไหนมูลค่าหน่วยลงต่ำ (NAV) ก็จะได้หน่วยลงทุนเยอะขึ้น เราก็จะได้มูลค่าที่เฉลี่ยๆ ครับ แต่สำหรับผมไม่ได้ DCA ตรงตามสูตรขนาดนั้น ผมซื้อทุกๆเดือน มีจำกัดว่าขั้นต่ำจะซื้อเท่าไหร่เช่น 1,000 บาท แต่ถ้าเดือนไหนมีเงินเพิ่มเยอะก็อาจจะซื้อเพิ่มมากขึ้นตามกำลังและอาจจะไม่ได้ซื้อวันที่เดิมของทุกเดือน ของเรียกของตัวเองว่า “DCA ประยุกต์” […]

กองทุนรวม | ซีรี่ย์การลงทุน EP.6

กองทุนรวม คือ การระดมเงินทุนของคนจำนวนมากที่สนใจลงทุนหรือซื้อกองทุนไปลงทุนต่อในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามประเภทของกองทุนและนโยบายของกองทุนนั้นๆ โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารกองทุนให้ เมื่อกองทุนมีกำไรก็จะนำมาปันผลให้กับผู้ที่ถือกน่วยลงทุนหรือผู้ที่ซื้อกองทุน (กองที่มีนโยบายปันผล) แต่ถ้าเป็นกองทุนที่ไม่มีนโยบายปันผลก็จะสะสมกำไรไว้ทำให้เงินในกองทุนเพิ่มขึ้น ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวม สามารถลงทุนได้ด้วยเงินจำนวนน้อย เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องลงทุน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ มีมืออาชีพหรือผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ดูแลให้ มีการกระจายการลงทุนในหลากหลายบริษัทหรือหลายประเภทสินทรัพย์ ประเภทกองทุนรวม การลงทุนในกองทุนรวมมีข้อดีตรงที่สามารถกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายประเภทเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการขาดทุน โดยการแบ่งกองทุนรวมสามารถแบ่งได้ 2 แบบ ดังนี้ แบ่งตามการไถ่ถอนคืน กองทุนเปิด (Opened – End Fund) กองทุนรวมที่การกำหนดอายุโครงการไว้หรือไม่กำหนดก็ได้ เมื่อกองทุนมีการเสนอขายครั้งแรก (IPO) ไปแล้ว ก็ยังสามารถซื้อได้อยู่  การขายกองทุนก็สามารถทำได้ตามเงื่อนไขของกองทุนนั้นๆ เช่น ก่อนเวลา 15.30 น. จะได้เงินเมื่อผ่านไป T+1 วัน กองทุนปิด (Closed – End Fund) กองทุนรวมที่การกำหนดอายุไว้ ไม่สามารถซื้อระหว่างที่กองทุนยังดำเนินการอยู่ หรือว่าขายกองทุนก่อนครบกำหนดได้ แบ่งตามนโยบายการลงทุน กองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund) : ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นหรือเงินฝากอายุไม่เกิน 1 […]

แชร์ไอเดียอายุ 30+  ออมเงินแบบไหนดี

ถ้าวันนี้ทุกคนอายุ 30 แล้วเราคือเพื่อนกัน ถ้าเราเป็นเพื่อนกันเราก็คงอยากให้เพื่อนได้รับสิ่งๆ ดีเหมือนกับที่เราได้ จริงไหมครับ?? “ประโยคนี้คือคำพูดที่ผมได้บอกไว้กับเพื่อน ว่าพวกเมิง (ขออนุญาติใชคำหยาบเพื่อให้ได้อถรรถเหมือนตอนที่คุยกับเพื่อนครับ) ควรเริ่มเก็บเงินได้แล้วนะ ไม่ใช่มัวแต่ใช้เงินที่หาได้ไปจนหมด เนี่ย แป้บๆ ตอนนี้พวกเราก็อายุ 30 แล้ว เวลาผ่านมาไวมาก และเวลาไม่เคยรอ อีกไม่นานก็คง 35 40 45 50 55 60 แล้วก็เกษียณ ถ้าไม่เริ่มออมเงินวันนี้จะเริ่มเมื่อไหร่วะ อีกอย่างนึงอย่างน้อยตอนแก่ไป อยากไปเที่ยวไหนด้วยกันก็ยังมีเงินที่เราเก็บนี้ไปเที่ยวเดียวไง ถ้ามีแต่กุเก็บคนเดียว ไปเที่ยวคนเดียวมันก็เหงาสิว่ะ อยากให้เพื่อนไปด้วย ขนาดตอนนี้พวกเราทำงานมีเงินกัน บ้างครั้งจะเที่ยวทีก็ต้องวางแผนเก็บเงินกันก่อน แต่พอถึงตอนนั้นงานก็ไม่มีให้ทำแล้วไม่เริ่มเก็บตอนนี้จะไปเริ่มตอนไหน” เรื่องที่คุยกับเพื่อนตอนนี้กลายเป็นว่าเรื่องเก็บเงิน เรื่องสุขภาพ เรื่องครอบครัวเรื่องลูก เรื่องเก่าๆ ต่างจากเมื่อก่อนที่คุยเรื่องเรื่องเที่ยวกัน ตามทฤษฏีว่ากันว่าเราควรออมเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 10% ของรายได้ที่ได้ต่อเดือน ถ้ารายได้เยอะก็ออมเยอะ ถ้ารายได้น้อยก็ออมน้อย รายได้เฉลี่ยของคนอายุ 30 ปีทำงานบริษัทเอกชน ที่ได้ฟังมาส่วนใหญ่ก็มีรายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อเดือนหรือมากกว่า ฉะนั้นเงินที่เราควรออมก็อยู่ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน แต่จะว่าไปแล้วออม […]

1 2