วางแผนปกป้องความเสี่ยง | มีเรื่องมาเล่า

หนูยอมเสียเงิน 10% ของรายได้ทั้งปีจ่ายเบี้ยประกัน ดีกว่าเสียเงิน 100% ของรายได้ทั้งหมดให้กับค่ารักษา สวัสดีครับทุกคน มีเรื่องนึงมาเล่าวันนี้เป็นเรื่องเล่าหลังจากที่ได้ไปเจอน้องคนนึงมา ผมมีโอกาสได้ให้คำแนะนำแประกันสุขภาพกับลูกค้าในเพจที่ไม่รู้จักกันมาก่อนน้องเด็กกว่าอายุประมาณ 25 ปี สอบถามเข้ามาว่าอยากได้ประกันสุขภาพเหมาจ่าย รักษาอุบัติเหตุได้ มีค่าชดเชยรายวัน มีบัดเจทค่าเบี้ยประมาณ 25,000 บาทต่อปี ก็แนะนำให้เรียบร้อยตามความต้องการที่อยากได้ วันที่นัดทำเอกสารก็ให้น้องกรอกข้อมูลตามปกติ ด้วยความสงสัยว่าทำไมน้องถึงเลือกเป็นตัวประกันสุขภาพตัวนี้และจ่ายด้วยเบี้ยเกือบ 30,000 บาท ซึ่งน้องมีรายได้รายได้ประมาณ 360,000 บาท (ขออนุญาตน้องแลัว) ซึ่งคิดเป็นค่าเบี้ยที่จ่ายก็เกือบ 10% ของรายได้ทั้งปี จากที่ได้เจอลูกค้ามาหลากหลายส่วนใหญ่ลูกค้าก็จะไม่ค่อยอยากจ่ายเบี้ยเยอะ เพราะคิดว่าสุขภาพเป็นเบี้ยทิ้ง ไม่อยากเสียเงินไปป่าวๆ ผมเลยถามน้องไปว่า “โอเครไหมครับแผนนี้ เบี้ยสูงไปรึป่าว เท่ากับเงินเดือนๆนึงเลยนะ อยากปรับอะไรไหม” น้องตอบกลับว่า “เบี้ยสูงคะ แต่จ่ายได้ เพราะที่ได้ก็หลายอย่างอยู่เหมือนกันและที่ชอบเพราะเป็นตัวเหมาจ่ายค่าห้องตามจริง เคยซื้อประกันแบบเก่าๆ เหมาจ่ายก็จริงแต่ว่ายังจำกัดค่าห้อง ต้องจ่ายส่วยต่างเอง อีกอย่างจ่ายแม้ว่าเบี้ยจะสูงถึง 10% ของรายได้ แต่ก็รู้แน่ๆ ว่าปีนึงต้องเตรียมเงินไว้จ่ายเบี้ยเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่มีประกันเลยแล้วเกิดหนูป่วยขึ้นมา ค่าใช้จ่ายต้องสูงกว่า 30,000 บาทแน่ๆ เผลอๆ เงินเก็บอาจจะหมดหรือต้องเป็นหนี้เลยก็ได้” […]

Timeline นี้ ต้องรู้ทันวัคซีน Covid-19

Club Health : คลับของคนที่คลิกสุขภาพ ตอน…Timeline นี้ ต้องรู้ทันวัคซีน Covid-19 ก่อนที่จะไปอ่านบทความนี้ต้องขอเกริ่นก่อนว่า Club Health : คลับของคนที่คลิกสุขภาพ เป็นรายการที่ทางฝ่ายกลยุทธ์และบริหารงานฝึกอบรมของ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิตจัดบรรยายขึ้นเพื่อเป็นความรู้ให้กับพนักงานบริษัท ซึ่งผมก็ได้สรุปเนื้อหาจากที่ได้เข้าฟังมาแบ่งบันให้กับผู้ที่สนใจเรื่องสุขภาพด้วยครับ เนื้อหาในตอนนี้มี 2 หัวข้อได้แก่ ? รู้ข้อมูลไม่เท่ารู้จักป้องกัน โดย นพ.อธิป กมลเสรีรัตน์ ? วัคซีน Covid-19 จะฉีดหรือรอตัวใหม่ โดย นพ.วุฒิพงศ์ สมบุญเรืองศรี และคุณโกศล แซ่อุ่ย ? ดำเนินรายการโดยคุณณัฐภัทร กรณีย์ (อาจารย์แพทตี้) รู้ข้อมูลไม่เท่ารู้จักป้องกัน นพ.อธิป กมลเสรีรัตน์ Q : หน้ากากอนามัยที่เราได้ยินชื่อกันอยู่ มีทั้งหมดกี่ประเภท อย่างไรบ้าง A : หน้ากากมีอยู่ประมาณ 2-3 อย่าง แบ่งเป็น หน้ากากที่ใช้ครั้งเดียว ที่เป็นกระดาษ, หน้ากากผ้า […]

เรื่องเล่าของคนชอบเปย์ | มีเรื่องมาเล่า

สวัสดีครับทุกคน #มีเรื่องมาเล่า วันนี้ขอนำเรื่องพี่สนิทของผมคนนึง เป็นคนเเฟรนลี่มาก ขอใช้นามสมมติว่าพี่บอยละกัน (เรื่องนี้ขออนุญาตแล้วครับ) ที่ผ่านมาพี่บอยก็มีแฟนมาหลายต่อหลายคน แต่ละคนก็ล้วนเด็กกว่าทั้งนั้น ไม่ใช้เด็กแบบ 2-3 ปี แต่ 6-10 ปี จนบางครั้งมาเจอกันเพื่อนๆ ต้องแซวว่าลูกคนใหม่หรอ “พอมีแฟนเด็กมันก็ดีนะเมิง ตื่นเต้น กระชุ่มกระชวยเหมือนเราเป็นเด็กอีกครั้ง” พี่บอยเล่า “เออมันก็จริงเน้อพี่ ว่าแต่เด็กคนนี้เปย์ไปเท่าไหร่ละ” ผมถาม “เมิงก็อย่าไปว่าอย่างนั้น ปง เปย์อะไร เด็กมันนิสัยดี น่ารัก ก็ให้ค่าขนมนิดหน่อย” พี่บอยบอก “ก็ใช่แหละพี่ คนคบกันเป็นแฟนกัน ก็ต้อมีช่วยเหลือแบ่งปันกัน” ผมบอก “แต่พี่เกินไป คบกับเด็กที่ไรก็เปย์หมด นี่ตั้งแต่รู้จักกันมา พี่มีแฟนเด็กมา 2-3 คนแล้วก็พูดแบบนี้ตลอด แล้วเป็นไงตอนเลิกกูเนี่นแหละต้องมานั่งฟังบ่น อุตสาเปย์ไป มันไม่เห็นรักดีเลย คบคนไหนก็พูดแบบนี้” ผมบ่น (พูดด้วยน่ำเสียงแข็ง เพราะสนิทกัน 55) “เออก็ถูกของเมิงนะ จำแม่นเชียวนะ” พี่บอยบ่น พร้อมยกแก้ว “เปย์อะเปย์ได้แต่ควรจะมีขอบเขตปะ รักตัวเองบ้างอย่ารักแต่คนอื่น เนี่ย […]

How to จัดพอร์ตกองทุนง่ายๆ ด้วยกองทุนรวมกองเดียว (K-FIT)

สวัสดีนัก (อยาก) ลงทุนทุกคนครับ ตั้งแต่ที่ผมได้เล่าเรื่องกองทุน 2-3 กองที่ผมได้ลงไป ก็มีหลายๆ คนสอบถามเข้ามาคำถามส่วนใหญ่จะบอกว่าอยากลงทุนช่วยให้แนะนำว่า กองทุนไหนดี แต่…. การลงทุนไม่เหมือนเงินฝาก เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง กองทุนนึงเหมาะกับคนนึง แต่อาจะไม่เหมาะกับอีกคนนึง มันต้องดูปัจจัยหลายๆ ด้วยครับ เช่น เป้าหมายการลงทุน ความเสี่ยงที่รับได้ ผลตอบแทนที่ต้องการ ระยะเวลาที่ลงทุน ถึงจะบอกได้ว่ากองไหนจะเหมาะสม สำหรับคนที่ยังไม่มีความรู้เรื่องการลงทุนในกองทุนรวมเลย ผมได้เขียนบทความซีรีย์การลงทุนรวบรวมไว้แล้วตั้งแต่เริ่มทำความรู้จักว่ากองทุนรวมคืออะไร มีกี่ประเภท ความเสี่ยงแบบไหน ลงทุนยังไงดี ลอเข้าไปอ่านกันได้นะครับ ปัญหาอีกอย่างหนึงที่เจอคือหลายคนอยากลงทุนแต่ยังไม่เข้ารู้ว่าจะจัดพอร์ตการลงทุนยังไงเพราะไม่มีผู้แนะนำการลงทุนให้คำปรึกษา ต้องซื้อกองทุนไหนบางที่ได้ผลตอบแทนดี เงินลงทุนไม่เยอะแต่อยากลงหลายกองจะทำยังไงถ้าเป็นประกันชีวิตควบการลงทุนของเมืองไทยประกันชีวิตนั้น เรามีพอร์ตสำเร็จรูปที่ทางผู้เชียวชาญได้จัดไว้ให้ลูกค้าเลือกและมีกองทุนเด่นแนะนำอยู่แล้ว แต่ใครที่จะซื้อกองทุนเองข้างนอกยังไม่มีความรู้เรื่องการจัดพอร์ต บทความนี้มีคำตอบครับ ลงทุนในกองทุนรวม ปกติแล้วการลงทุนในกองทุนรวมเราเลือกได้เลยว่าต้องการลงทุนในประเภทกองทุนแบบไหนตามความเสี่ยงที่เรารับได้ (จากการทำแบบประเมินความเสี่ยง) เช่น ความเสี่ยงต่ำ 1-2 ก็อาจจะลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินหรือตราสารหนี้ แต่ไม่ใช้ว่าเราจะลงทุนในกองทุนรวมผสม กองทุนรวมตราสารทุน หรือกองทุนรวมต่างประเทศไม่ได้นะครับ อาจจะลงทุนได้ในสัดส่วนที่น้อยลง หรือถ้าอยากลงทุนในต่างประเทศก็อาจจะแบ่งมาลงทุนแบบแหละครับเรียกว่าการจัดพอร์ต การจัดพอร์ตการลงทุนก็คือการกระจายการลงทุนในกองทุนรวมประเภทต่างๆ ตามความเสี่ยงที่เรารับได้นั่นเอง ปัญหาการจัดพอร์ตการลงทุน ถ้าเราเป็นลูกค้ารายย่อยมากๆๆๆ ไม่ได้มีเงินเยอะหลักแสน หลักล้านก็อาจจะไม่มีผู้แนะนำการลงทุนมาช่วยวางแผนการลงทุนและจัดพอร์ตให้ เราต้องจัดพอร์ตของตัวเองว่ากองทุนที่เราลงไปนั้นเป็นสัดส่วนเท่าไหร่แล้ว แต่ไม่ต้องกลัวเพราะในแอพของ บลจ. […]

How to จำลองการลงทุนในกองทุนรวม K-CHANGE-A(A)

มีเพื่อนๆ หลายคนได้เข้ามาอ่านบทความ “How to ลงทุนใน “Tesla” ผ่านกองทุนรวม K-CHANGE-A(A)” และบทความ “Dollar Cost Averaging (DCA) – การลงทุนแบบเฉลี่ยทุกๆเดือน” แล้วสนใจการลงทุนแบบนี้แล้วเกิดคำถามมากมายเช่น ตอนนี้มูลค่าหน่วยลงทุนราคาขึ้นแล้วเริ่มลงทุนตอนนี้จะทันไหม หรือ อยากลงทุนแต่ยังไม่กล้าจะทำยังไงดี ผมเลยเขียนบทความนี้ขึ้น เพื่อมาเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ถ้าในอดีตย้อนหลังไป 1-2 ปี หรือมากกว่านั้น เราเริ่มทุนลงในกองทุนรวมอะไรสักกองอย่างสม่ำเสนอ ตามหลักการ DCA อย่างสม่ำเสมอ ในนี้วันนี้กองทุนที่เราลงทุนนั้นจะเป็นยังไง เรียกวิธีการนี้ว่า การทำลองการลงทุน หรือ Backtesting ครับ การจำลองการลงทุนหรือ Backtesting คือการจำลองการลงทุนแบบ DCA ทั้งในกองทุนรวมและหุ้น โดยใช้ข้อมูลจริงจากมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ในอดีตมาคิดว่าถ้าเราลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กันทุกเดือนแล้วจะได้ผลตอบแทนเป็นยังไง โดยผมจะเลือกกองทุนรวม K-CHANGE-A(A) ที่เคยได้เขียนไปมาทำแบบจำลองครับ อยากรู้ว่ากองทุนรวม K-CHANGE-A(A) ลงทุนในอะไรและที่ผมได้ลงทุนไปจริงๆ ผลตอบแทนเป็นยังไงติดตามได้ที่ลิงค์นี้ครับ (อ่านบทความลงทุนใน K-CHANG-A(A)) DCA คืออะไร […]

1 15 16 17 18 19 59