เริ่มต้นออมเงินวันละ 20 บาท

ออมเงินวันละ 20 บาท ทุกคนเคยเป็นกันไหมครับ อยากออมเงินแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง เห็นคนอื่นอวดเงินออมเป็นกองก็อยากทำได้บ้าง พอเริ่มทำไปได้สักพักก็ มีข้ออ้างนู่น ข้ออ้างนี่ทำให้ต้องเอามาใช้หมด แล้วก็เริ่มต้นออมใหม่ วนลูปเป็นแบบนี้จนไม่เคยออมให้ได้ถึงเป้าหมายหรือได้เงินก้อนสักที วันนี้ผมมาแชร์ไอเดียการออมเงินที่ตัวเองได้ทำตลอดหลายปีที่ผ่านมาว่าทำยังไงถึงออมเงินได้จนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ครับ จุดเริ่มต้นของการออมเงิน ผมเชื่อว่าการจะออมเงินได้หรือไม่ได้เป็นนิสัยอย่างนึงที่เราต้องฝึก พอเราชินกับการออมแล้วเราจะทำเป็นนิสัยโดยไม่ต้องฝืน จากนั้นก็จะทำเองได้โดยอัติโนมัติ ผมจำได้ว่าตอนเด็กๆ ยายสอนให้หยอดกระปุกทุกวัน ถ้าได้เงินจากน้าๆ ที่กลับจากกรุงเทพฯ ก็ให้แบ่งไปหยอดกระปุก ส่วนที่เหลืออยากได้อะไรก็เอาไปซื้อ พอโตขึ้นมาการออมเงินแบบหยอดกระปุกกับกก็ไม่ได้ทำเลย กลายเป็นการออมโดยหักจากเงินเดือน เงินพิเศษ หรือรายได้ที่เข้ามาตามที่เหมาะสมเช่น 500 บ้าง 1,000 บ้าง ตามแบบที่ผู้ใหญ่เค้าทำกัน จนเมื่อหลายปีก่อนอยู่ๆ เรื่องออมเงินเมื่อตอนเด็กของผมมันก็ผลุดขึ้นมาในหัว การออมเงินเล็กๆน้อยๆ จากการหยอดกระปุกที่ยายเคยสอนไว้ แม้จะไม่ได้เป็นเงินที่เยอะไรแต่ก็เป็นความสุขเล็กๆ ที่ทำให้คิดถึงตอนเป็นเด็ก แม้ว่าวันนี้ถึงจะทำงาน มีเงินเดือนแล้วจะหักเงินไว้ออมตามสัดส่วนที่ต้องการแล้ว ผมก็ยังกลับมาเก็บเศษแหรีญและออมแบงค์ 20 ควบคู่ไปด้วย ทำไมต้องวันละ 20 บาท หลังจากเรื่องออมเงินเมื่อตอนเด็กของผมมันก็ผลุดขึ้นมาในหัว ทำให้ผมอยากกลับมาออมเงินเหมือนตอนเด็กอีกครั้ง โดยได้ทดลองเริ่มจากเก็บเหรียญที่เหลือแต่ละวันมาใส่กระปุกที่เตรียมไว้ สิ้นเดือนก็เอามานับ รวมถึงลองวิธีอื่นๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็น เก็บแบงค์ 50 บาท แต่โอกาสที่จะได้แบงค์ […]

วิธีการกดเงินของคนรวย

ปัญหาอย่างหนึ่งของการใช้เงินคือเงินมักหมดจากกระเป๋าโดยที่ไม่รู้ว่าใช้ไปกับอะไรบ้างและต้องเดินหาตู้เอทีเอ็มเพื่อกดเงินอยู่บ่อยๆ จนรู้สึกหงุดหงิดที่เราไม่สามารถบริหารเงินที่กดมาได้ คนบางประเภทจะกดเงินที่ละน้อยๆ เพราะกลัวว่ากดมาเยอะอาจจะเผลอใช้ไปจนหมด แต่หารู้ไม่ว่าการกดเงินที่ละน้อยและหลายครั้ง ยิ่งทำให้ใช้เงินเยอะกว่าเดิม ปัญหาคือถ้าเราเงินมาครั้งเดียวตั้งแต่ต้นเดือนก็อาจเผลอใช้ไปจนหมดก่อนจะถึงสิ้นเดือนเพราะเห็นว่ามีเงินอยู่เยอะ บางคนไม่สามารถควบคุมตัวเองให้ใช้เงินและวางแผนเงินก้อนนั้นให้อยู่จนถึงสิ้นเดือนได้ มาดูทฤษฏี จากหนังสือ “ไม่ชอบประหยัด ไม่ถนัดตัวเลข ก็รวยได้” บอกว่า ถอนเงินเดือนละไม่เกิน 2 ครั้ง หนังสือ “สมองคนรวย สมองคนจน” ได้บอกไว้ว่า คนรวยมักจะกดเงินเป็นจำนวนเท่าเดิมในช่วงเวลาเท่ากัน ในหนังสือบอกไว้ว่า ให้วางแผนแต่จะเดือนสามารถใช้เงินได้เท่าไหร่และแบ่งครึ่ง เพื่อจะได้กดเงินมาใช้ 2 ครั้ง อาจจะเป็นวันที่ 1 และวันที่ 15 ในจำนวนที่เท่ากันจะช่วยให้เราควบคุมเงินก้อนนี้ภายใน 15 วันได้ แต่สำหรับผมที่เคยกดเงินบ่อยๆ การกดเดือนละสองครั้งยังรู้สึกว่านานเกินไป จึงเปลี่ยนมาเป็นกดเงินเดือนละ 3 ครั้ง ทุกวันที่ 1, 10 และ 20 ของทุกเดือน ในจำนวนเงินที่เท่ากัน หรือหากอาทิตย์ไหนที่มีรายจ่ายพิเศษเพิ่มเข้ามาก็เพิ่มจำนวนเงินในรอบนั้นๆ ทั้งนี้แต่ละคนอาจจะมีการใช้ชีวิตและการใช้เงินที่แตกต่างกันก็สามารถปรับวันที่และจำนวนได้ตามสไตล์ของตัวเอง วิธีนี้ทำให้ผมช่วยบริหารและใช้เงินตามจำนวนที่กำหนดในแต่ละครั้งได้ เมื่อครบรอบวันกดเงินและยังมีเงินเหลือในกระเป๋าแสดงว่าเราบริหารเงินได้ดีและไม่ใช้จ่ายเกินกำหนดแถมยังมีเงินเก็บเพิ่ม หากครั้งไหนใช้เงินหมดก่อนรอบที่กำหนดต้องทบทวนดูว่าเราใช้เงินไปกับค่าอะไรบ้างเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือไม่โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปดูบัญชีรายรับรายจ่ายของเดือนก่อน ลองนำวิธีกดเงินของคนรวยจะหนังสือทั้งสองเล่มนี้ไปใช้ดูนะครับ แล้วจะรู้ว่าการเกิดเงินทุกวันที่ที่เรากำหนดมันรู้สึกดีแค่ไหนและยิ่งมีเงินเหลือในวันที่ครบรอบมันยิ่งทำให้เรารู้สึกดีมากขึ้นที่สามารถบริหารการใช้เงินของตัวเองได้ =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา […]

เก็บเงินทิ้งไว้ในกระปุกทำไม  เปลี่ยนมาออมแบบอื่นกันเถอะ

“เงินเดือนออกออมก่อน” ตอน….เก็บเงินทิ้งไว้ในกระปุกทำไม  เปลี่ยนมาออมแบบอื่นกันเถอะ ทุกวันนี้การหยอดกระปุกออมสินถือเป็นสิ่งที่ดี และว่าการทิ้งเงินไว้เฉยๆ อาจจะทำให้มูลค่าของเงินลดลง เนื่องจากค่าเงินเฟ้อ ทำให้สินค้าปรับตัวสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อน บ้านหลังละ 2 ล้าน บาท แต่ตอนนี้ปรับขึ้นเป็น 3-5 ล้านบาท หากเรามีเงินเก็บ 2 ล้านบาทตั้งแต่ตอนนั้นแต่ทิ้งไว้เฉยๆ ก็ไม่เพียงพอที่จะซื้อในในสมัยนี้ได้แล้ว การลงทุนมีหลากช่องทางแตกต่างกันไป – ฝากธนาคารสะดวกต่อการถอนมาใช่ แต่อาจจะได้ดอกเบี้ยน้อย กว่าอัตราเงินเฟ้อ – ออมกับประกัน ได้ทั้งเงินคืนและความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต แต่อาจจะมีระยะเวลานานหรือสั่นตามแผนประกันที่เลือก – ซื้อกองทุนตราสารทุน/ หุ้น ได้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ แต่มีความเสี่ยงขาดทุนและผันผวนของตลาด – ซื้อกองทุนตราสารหนี้ /พันธบัตร มีความน่าเชื่อถือเพราะออกโดยรัฐบาล แต่อาจจะต้องถือไว้ให้ครบกำหนด – กองทุน RMF ได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี มีผลตอบแทนตามแบบกองทุนนั้นๆ วันนี้ทุกคนเลือกแผนการออมแบบไหนบ้างครับ? =============== ติดตามช่องทางอื่นของเรา Facebook :  Money and Insurance Line : https://lin.ee/cAyHd1Q Website : www.mtl-insure.com IG : www.instragram.com/mtl_insure […]

คุณพร้อมแค่ไหนถ้าเกษียณไปไม่อยาก “แก่และจน”

ช่วงนี้เห็นคนพูดถึงเรื่องเกษียณจนผมอยากหยิบยกประเด็นนี้มาพูดบ้างจะได้ไม่ตกเทรนด์ จากข่าวการยืดอายุเกษียณพนักงานราชการจากอายุ 60 ปี เป็น 70 ปี สาเหตุอาจมาจากปัจจุบันคนอายุ 60 ปียังสุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานได้และเทคโนโลยีทันสมัยใหม่ช่วยให้คนอายุยืน เจ็บป่วยน้อยลง รัฐบาลอาจจะกังวลว่าจะไม่มีคนทำงานต่อหรือเกษียณไปแล้วไม่มีรายได้เลยขยายเวลาออกไป ก่อนอื่นมาดูข้อมูลสถิติประชากรไทยก่อนดีกว่าครับ ข้อมูลสถิติประชากรไทย ข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน กราฟสีฟ้าแสดงจำนวนประชากรแบ่งตามช่วงอายุในปี 2551 (10 ปีที่แล้ว) ส่วนกราฟสีชมพูแสดงจำนวนประชากรแบ่งตามช่วงอายุปี 2561 (ปีปัจจุบัน) จะเห็นว่าสัดส่วนของประชากรแต่ละช่วงอายุเปลี่ยนไป จำนวนประชากรแรกเกิดและเด็ก ช่วงอายุ 0-29 ปี ในปี 2551 มีจำนวน 14% เหลือเพียง 11% จำนวนประชากรวัยกลางคนและวัยทำงานช่วงอายุ 30-59 ปี ปี 2551 มีจำนวน 44% เพิ่มขึ้นในปี 2561 เป็น 45% วัยสูงอายุ/วัยเกษียณเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากโดยช่วงอายุ 60-69 ปี ในปี 2551 มีจำนวน 6% เพิ่มขึ้นในปี 2561 เป็น […]

วางแผนเวลา ตอน…”ใช้เงินซื้อเวลา”

วางแผนเวลา ตอน…”ใช้เงินซื้อเวลา” เราอาจจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “คนเรามีเวลา 24 ชม.เท่ากัน” แต่ทำไมหลายคนถึงทำอะไรได้ไม่เท่ากัน ลองดูพฤติกรรมเหล่านี้กันครับ บางครั้งสิ่งที่เราต้องทำอาจจะต้องใช้พลังมากมาย จนหมดพลังงานที่จะไปทำอย่างอื่นต่อ เราจึงให้คนอื่นทำสิ่งนั้นๆ แทนเรา เช่น การซักรีดเสื้อผ้า การทำความสะอาดบ้าน การพิมพ์เอกสาร ถ้าเราส่งเสื้อผ้าให้ร้านซักรีดทำแทน เราก็จะมีเวลาเหลือเพิ่มขึ้น ถ้าเราจ้างแม่บ้านมาทำความสะอาด เราก็มีเวลาพักในวันหยุด ถ้าเราต้องมานั่งพิมพ์เอกสารกองโต ก็หาคนมาพิมพ์แทน อ่านดูแล้วคงคิดว่าเป็นพฤติกรรมทั่วไปที่ใครๆ ก็ทำกัน บริการพวกนี้มีมาเพื่อช่วยให้เราสะดวกสบายขึ้น ตอนแรกผมก็ไม่รู้ว่าวิธีการนี้เรียกว่าอะไร จนอ่านเจอให้หนังสือถึงว่ารู้ “การใช้เงินซื้อเวลา” การซื้อเวลาโดยใช้เงินคือการให้คนอื่นทำสิ่งนั้นแทนเรา แล้วเราเอาเวลาของเราไปทำอย่างอื่นที่ได้เงินมากกว่า เช่น ทำงานเสริมตามความถนัดของตัวเอง หรือมีงานพิเศษที่มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” ภาษาทั่วไปก็คือเราลือกทำสิ่งใดสิ่งแต่เสียอีกสิ่งหนึ่งไป โดยเปรียบเทียบสิ่งที่เราเลือกทำกับสิ่งที่เสีย ไปว่าสิ่งไหนมีค่ามากกว่ากัน เพราะเรามีเวลา มีพลังงานจำกัด จึงไม่สามารถทำหลายสิ่งพร้อมกันได้ ผมว่าทุกคนสามารถใช้เงินซื้อเวลาได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ซื้อเวลาแล้วจะคุ้มค่า ถ้าหากเรามีเวลาเพิ่มขึ้น แต่ใช้เวลาไม่เกิดประโยชน์ก็เสียทั้งเวลาเสียทั้งเงิน ถ้าหากเรามีเวลาเพิ่มขึ้นแล้วเอาเวลาที่เหลือไปทำสิ่งอื่น ที่ได้เงินมากกว่านอกจากจะมีเงินเหลือแล้ว ยังเป็นการช่วยกระจายเงินให้คนอื่นด้วย ในเมื่อเงินคือตัวกลางในการแลกเปลี่ยน เราแค่ใช้เงินแลกบางอย่างให้บางคนทำให้ แทนทีเราจะลงมือทำเอง เราก็จะมีเวลาของตัวเองเพิ่มขึ้นแล้วเวลาที่เราได้มา ไปทำในสิ่งที่ได้เงินมากกว่าจำนวนเงินที่เสียไป

1 49 50 51 52 53 58