uDesign ออกแบบความคุ้มครองของตัวคุณเองได้ตามไลฟ์สไตล์

มีใครเป็นเหมือนกันบ้างไหมครับ อยากได้ประกันที่ทำครั้งเดียวปรับเปลียนได้ตามความต้องการในแต่ละช่วงชีวิตอยากปรับเพิ่มความคุ้มครอง ลดความคุ้มครอง หยุดจ่ายเบี้ย หรือเอาเงินออกมาใช้ก็ทำได้ จากบทความเกี่ยวกับแบบประกันชีวิตควบการลงทุนโครงการ uDesign หลายคนน่าจะเห็นแล้วว่าแบบประกันชีวิตควบการลงทุนแผนมีหลายแบบ มีข้อดีอะไรบ้างและยืดหยุ่นกว่าแบบประกันแบบเดิมยังไง แต่อาจจะยังไม่เห็นภาพชัดเจนว่าจะเป็นยังไง uDesign คืออะไร แบบประกันชีวิตควบการลงทุนในโครงการ uDesign แบบประกันชีวิตควบการลงทุนแผน mDesign ตัวอย่างการออกแบบความคุ้มครองได้ตามไลฟ์สไตล์แต่ละคนด้วย uDesign บทความนี้ผมขอยกตัวอย่างโดยนำประกันชีวิตควบการลงทุนแผน mDesign มาออกแบบความคุ้มครองให้เห็นชัดเจนขึ้นโดยยกตัวอย่างบางส่วนจากที่เคยได้วางแผนให้ลูกค้า 3 รูปแบบตามไลฟ์สไตล์แต่ละคน ดังนี้ครับ คุณ A ออกแบบเพื่อสร้างความคุ้มครองเป็นมรดก/เก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณ คุณ B ออกแบบเพื่อออมเงินและการลงทุน คุณ C ออกแบบเพื่อกองทุนสุขภาพระยะยาว 1) Design เพื่อความสร้างคุ้มครองเป็นมรดก/เก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณ คุณ A อายุ 35 ปี เป็นหัวหน้าครอบครัวต้องการความคุ้มครองชีวิต 5,000,000 บาทเลือก mDesign เพื่อความคุ้มครองเป็นมรดก คุณ A สามารถจ่ายเบี้ยประกันไปจนถึงเกษียณ อายุ 60 ปี โดยจ่ายเบี้ยได้ไม่เกินปีละ 100,000 บาท […]

New Health Standard มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่

New Health Standard มาตรฐานประกันสุขภาพใหม่ เป็นการปรับปรุงเนื้อหาและเงื่อนไขของสัญญาเพิ่มเติมการประกันสุขภาพหรือค่ารักษาพยาบาลที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จัดทำขึ้นใหม่หรือปรับปรุงใหม่ในเรื่องของหมวดตารางความคุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองอื่นๆ ในกรมธรรม์มีใจความสำคัญสรุป ดังนี้ 1. คำนิยาม  บริบทของการคุ้มครอง ฉ้อฉลประกันภัย หมายถึง การเรียกร้องผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยโดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการเรียกร้อง รวมถึงการเจตนาทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ตัวอย่างเช่น การทำใบรับรองแพทย์ปลอมเกี่ยวกับโรคโควิค-19 ส่งใบรับรองแพทย์ดังกล่าวให้ผู้อื่นนำไปเคลมเงินประกันภัย  มีโทษจาคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ การบริการด้านการแพทย์ การเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งใดครั้งหนึ่ง (Per Confinement)การนับระยะเวลาการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในหรือการรักษาด้วยการผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery) ในโรงพยาบาลแต่ละครั้งและให้รวมถึงการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือการรักษาด้วยการผ่าตัดใหญ่ที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery) ในโรงพยาบาล ไม่ว่ากี่ครั้งก็ตาม จากการบาดเจ็บหรือการป่วยเดียวกัน และยังรักษาไม่หาย รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกัน ภายในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ออกจากโรงพยาบาล ครั้งสุดท้าย ก็ให้ถือว่าเป็นการเข้าพักรักษาตัวครั้งเดียวกันด้วย เช่น ก ผ่าตัดเต้านม แบบผู้ป่วยใน วันที่ 30 มี.ค. (ระยะเวลา […]

เปรียบเทียบประกันสุขภาพเหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า และ D Health Plus

วันนี้ใครกำลังมองหาประกันสุขภาพดีๆ สักแผนไว้คุ้มครองและช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่แสนจะแพงเมื่อเข้าโรงพยาบาล แต่ก็อาจจะยังตัดสินใจไม่ได้สักทีเพราะแผนไหนก็ดูคุ้มค่าไปหมด ลองมาดูประกันสุขภาพเหมาจ่ายแบบเบี้ยเบาๆ อย่างแผน “เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า” และแผนสุขภาพ D Health Plus (ดีเฮลท์ พลัส) ที่ได้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งผู้ป่วยในและแบบไม่นอนโรงพยาบาล โดยผมทำเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของทั้ง 2 แผนตามมาตรฐานใหม่ของประกันสุขภาพที่ คปภ. ได้กำหนด แบ่งเป็น 13 หมวด ดังต่อไปนี้ หมวด 1 ค่าห้อง และค่าอาหาร ค่าบริการในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า : หมวดค่าห้อง/ค่าอาหาร/ค่าบริการในโรงพยาบาล จะได้สูงสุด 4,000 บาท สูงสุด 120 วัน และห้องไอซียู 8,000 บาท สูงสุด 15 วัน (โดยวงเงินนี้แยกกับค่ารักษาเหมาจ่ายตามแผน) ว้าวๆ ไปเลย D Health :  หมวดค่าห้อง/ค่าอาหาร/ค่าบริการในโรงพยาบาล เหมาจ่ายตามจริงของห้องเดี่ยวมาตรฐานของโรงพยาบาลนั้นๆ สูงสุด 180 […]

ความรับผิดส่วนแรก (Deductible)

เวลาซื้อประกันสุขภาพหลายคนมักจะได้ยินคำว่า ความรับผิดชอบส่วนแรก บางคนยังไม่รู้ว่าความรับปิดส่วนแรกคืออะไร คือส่วนที่เราจะต้องจ่ายเองก่อนรึป่าว ซื้อแผนนี้แล้วจะคุ้มหรอ เพราะอยากได้ประกันสุขภาพที่ไม่ต้องมาจ่ายเองก่อนหรืออยากได้เป็นวงเงินความคุ้มครองเยอะๆ ที่เหมาจ่ายไม่ต้องมาจ่ายส่วนเกิน มาทำความรู้จักจักกับความหมายของ “ความรับผิดส่วนแรกกันครับ” ความรับผิดส่วนแรกคือค่าใช้บางส่วนที่เราจะต้องจ่ายก่อนเมื่อ รพ.เรียกเก็บ และส่วนที่เกินก็มาใช้จากประกันที่เป็นแบบมีความรับผิดส่วนแรก โดยความความรับส่วนแรกเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับแผนที่เลือกไม่เท่ากัน เช่น เข้ารักษาตัวตัวด้วยผ่าตัดไส้ติ่งหมดค่าใช้จ่าย 100,000 บาทลูกค้าเลือกทำแผนที่มีความรับส่วนแรก 30,000 บาทก็จะต้องจ่ายเงิน 30,000 บาทส่วนอีก 70,000 บาทบริษัทจะจ่ายให้ ไม่อยากจ่ายความรับผิดส่วนแรกก่อนต้องทำยังไง ส่วนใหญ่แล้วลูกค้าที่จะเลือกทำแผนแบบมีความรับผิดส่วนแรกจะมีแผนประกันสุขภาพอยู่ก่อนจะมีประกันกลุ่มหรือประกันสุขภาพส่วนตัวก็ได้ เมื่อเข้าโรงพยาบาลก็เลือกใช้ส่วนนั้นให้มาจ่ายในความรับผิดส่วนแรกก่อนและส่วนที่เกินก็มาใช้แผนที่ซื้อเพิ่มที่มีความรับปิดส่วนแรก ซึ่งตัวแทนมักจะถามกับลูกค้าเสมอว่ามีประกันสุขภาพอยู่บ้างหรือยัง ถ้ายังไม่มีก็จะไม่แนะนำให้ทำแบบมีความรับผิดส่วนแรกเพราะจะต้องมาส่วนก่อน เลือกเป็นแบบเหมาจ่ายตั้งแต่บาทแรกเลยจะดีกว่า เลือกแบบมีความรับผิดส่วนแรกดียังไง ข้อดีอย่างแรกเลยก็คือเบี้ยจะถูกกว่าแบบจ่ายเต็มตั้งแต่บาทแรก เหมาะสำหรับคนที่มีประกันอยู่ก่อนและไม่อยากยกเลิกแผนเดิมแต่ค่าห้อง ค่ารักษามีไม่พอ มาทำแผนตัวนี้เพิ่ม ข้อดีข้อที่ 2 คือแบบมีความรับผิดส่วนแรกได้ใช่คู่ได้ทั้งประกันกลุ่มของบริษัทหรือประกันส่วนตัวของบริษัทอื่นที่มีอยู่แล้วไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นของเมืองไทยประกันชีวิตเท่านั้น ข้อดีข้อที่ 3 คือทั้งตัวประกันชีวิตสัญญาหลักหรือสุขภาพก็สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ แผนแบบมีความรับผิดส่วนแรกมีแบบไหนบ้าง? ประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรกจะมีอยู่ 2 แผนคือ แผนเอ็กซ์ตร้าแคร์พลัส และ แผนดีเฮลท์ แบบมีคสามรับผืดส่วนแรก สองแผนนี้จะต่างกันที่ เอ็กซ์ตร้าแคร์ พลัส มีความรับผิดส่วนแรก 20,000 บาท ส่วนดีเฮลท์มีความรับส่วนแรกเริ่มต้นที่ […]

ประกันสะสมทรัพย์สำหรับอาชีพฟรีแลนซ์หรือพนักงานบริษัท

สวัสดีครับทุกคน ถ้าพูดถึงอาชีพฟรีแลนซ์หรือพนักงานบริษัทที่ไม่ได้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ออมเงินหลายคนยังไม่รู้ว่าจะไปออมเงินยังไงดีเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ เพราะปกติแล้วพนักงานบริษัท ก็จะได้สวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทมีให้ ถ้าเราเป็นสมาชิกและให้บริษัทหักเงินเดือนไว้ออม บริษัทก็จะออมให้อีกเท่านึงเท่ากับเงินของเรามากกว่านั้น เท่ากับว่าผลตอบแทนที่เราได้นั้นคือ 100% เลยทีเดียว นี้ยังไม่รวมผลตอบแทนของการลงทุนจากเงินของเราและเงินของบริษัทอีกที่มีโอกาสได้มากกว่าเดิม ส่วนตัวเลือกการออมเงินของคนทำงานฟรีแลนซ์หรือพนักงานบริษัทที่อยากออมเพิ่มหรือไม่ได้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ เช่น กองทุนการออมแห่งชาติ ของกระทรวงการคลัง, กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือประกันแบบบำนาญ ซึ่งแต่ละตัวก็มีข้อดีที่ต่างกันออกไป “เมืองไทย รีไทร์เมนท์พลัส 60” ตัวช่วยการออมเพื่อการเกษียณ ลองฟังจากชื่อแผนแล้วหลายคนคงคิดว่าเป็นประกันแบบบำนาญเพราะมีคำว่า รีไทร์เมนท์ แต่จริงๆ แล้วแผนนี้เป็นแบบสะสมทรัพย์หรืออมทรัพย์ที่ช่วยวางแผนการออมเงินตั้งแต่วันนี้ และรับเงินคืนทั้งตอนที่จ่ายเบี้ยและหลังจากอายุ 60 ปีเป็นต้นไปจนถึงอายุ 90 ปี “เมืองไทย รีไทร์เมนท์พลัส 60” แผนนี้ดียังไง 1. ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับประกันสะสมทรัพย์ทั่วไป เพราะผมได้ลองคำนวณผลตอบแทน (IRR) ของ ผู้ชายตามช่วงอายุ ดังนี้ อายุ 30 ปีผลตอบแทนประมาณ 3.63% อายุ 35 ปีผลตอบแทนประมาณ 3.55% อายุ 40 ปีผลตอบแทนประมาณ […]

1 3 4 5 6 7 13