แคร์ พลัส (Care Plus) | ค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรัง

  อายุรับประกันภัย : 30 วัน – 80 ปี   ระยะเวลาคุ้มครอง : ถึงอายุ 99 ปี   ระยะเวลาชำระเบี้ย : ชำระเบี้ยได้ถึงอายุ 98 ปี   เงื่อนไข : ต้องมีสัญญาหลักก่อน (ดูสัญญาหลัก) แคร์ พลัส (Care Plus) สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพที่จะมาช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับโรคมะเร็งและการล้างไต โดยแผนนี้จะช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรังทุกระยะ เข้าถึงนวัตกรรมการรักษาสมัยใหม่สำหรับการรักษาโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรัง และยังเสริมความคุ้มครองการบำบัดรักษาโรคทางจิตเวช จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกสูงสุด 5 ล้านบาทต่อปี ต่างจากสัญญาเพิ่มเติมโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรงที่จ่ายเป็นเงินก้อนตามเงื่อนไขของสัญญาตามทุนประกันชีวิตไว้ หรือที่หลายคสเรียกว่า “เจอ จ่าย จบ”   แผนนี้คุ้มครองอะไรบ้าง คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็งและไตวายเรื้อรังทุกระยะ ทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ครอบคลุมท้ังค่าหมอ ค่ายา ค่าผ่าตัด ค่ากายภาพบําบัด การตรวจวินิจฉัยขั้นสูง CT Scan, MRI, PET และ Gait scans เสริมความคุ้มครองการบําบัดรักษาโรคทางจิตเวช […]

3 วิธีวางแผน เตรียมตัวรับมือก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

หากพูดถึงความชราแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ตามมานั้นคือร่างกายหมดแรงไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างเดิมและอาจรุมเร้าด้วยปัญหามากมาย เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ และปัญหาด้านการเงิน จะดีกว่าไหมถ้าเราเริ่มวางแผนรับมือตั้งแต่ตอนนี้ และนี้คือ 3 วิธีวางแผน เตรียมตัวก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ 1. วางแผนสุขภาพ การไม่มีโรคเป็นลาภอัญประเสริฐแต่บางครั้งโรคร้ายก็มาอย่างไม่ทันตั้งตัว ยิ่งเมื่อเราแก่ตัวลงความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บเป็นถือเป็นเรื่องธรรมดามากที่อาจต้องเผชิญ ดังนั้นเราจึงควรวางแผนสุขภาพแต่เนิ่นๆ หันมาดูแลสุขภาพให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เริ่มจากรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย และฝึกสุขภาพจิต แต่ก็ควรทำประกันสุขภาพไว้ในกรณีฉุกเฉิน 2. วางแผนที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัยถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของวัยผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่มีลูกหลาน ดังนั้นแล้วจึงควรวางแผนก่อนล่วงหน้าว่าถ้าแก่แล้วจะอยู่ที่ไหน บ้านตนเอง หรือบ้านพักคนชรา หากเป็นบ้านของตนเองถ้าเป็นไปได้ควรออกแบบบ้านให้สามารถรองรับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมได้อย่างสะดวกสบายที่สุด แต่หากเป็นบ้านพักคนชราต้องมีการวางแผนการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากมีอยู่หลากหลายรูปแบบ ราคาก็จะขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตที่จะได้รับ 3. วางแผนการเก็บเงิน เมื่อเราแก่ตัวลงแน่นอนว่าทำให้มีแรงลดน้อยลงไปด้วย ไม่สามารถหาเงินได้เหมือนแต่ก่อน ดังนั้นการวางแผนการเงินหลังเกษียณจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด เพื่อที่จะสามารถดำเนินชีวิตได้ต่อหลังเกษียณและไม่เป็นภาระให้ลูกหลาน จึงต้องเริ่มวางแผนการเงินตั้งแต่เริ่มทำงาน รู้จักออมเงิน และศึกษาการลงทุน โดยแบ่งเงินได้ส่วนหนึ่งออกมาเพื่อลงทุนให้เงินงอกเงยเพื่อสู้กับค่าเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าการเงินนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตมากในทุกช่วงวัย ยิ่งผู้สูงอายุแล้วค่าใช้จ่ายอาจจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล นอกจากการวางแผนการเงินและการลงทุนแล้ว อีกหนึ่งทางที่จะป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จึงควรมองหาประกันออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีๆ อย่าง ‘เมืองไทยรีไทร์เมนท์ พลัส 60’ ที่จะได้รับเงินคืนทุกช่วงอายุ เมื่ออายุครบ 60 ปี […]

ลงทุนที่เดียว ครอบคลุมสินทรัพย์ทั่วโลก

รู้ไหมครับว่าตอนที่คุณกำลังอ่านบทความนี้เงินเฟ้อของประเทศไทยสูงสุดในรอบ 13 ปี! กล่าวคือมีเงินเท่าเดิมแต่ซื้อของได้น้อยลง ทำให้รู้สึกว่าข้าวของแพงขึ้นนั่นเอง … แล้วจะทำยังไงได้บ้างหละ ให้เงินของเรามีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามเงินเฟ้อ? คำตอบก็คือการลงทุนนั่นเอง… สำหรับมือใหม่ที่อยากเริ่มต้นแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร และกำลังตัดสินใจว่าจะลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ ทองคำ หรือทรัพย์สินไหนดี? จะเลือกทำไม ถ้าคุณสามารถลงทุนเพียงที่เดียว แต่ครอบคลุมสินทรัพย์หลากหลายประเภท ผ่าน ‘เมืองไทย สมาร์ท ลิงค์ 15/6’ เมืองไทย สมาร์ท ลิงค์ 15/6 คืออะไร? คือประกันชีวิตสะสมทรัพย์ นอกจากจะให้ความคุ้มครองตามประกันชีวิต ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ผ่านดัชนี GS Momentum Builder® Multi-Asset 5S ER ซึ่งมีการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์หลายประเภท เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน ทองคำ เป็นต้น และลงทุนทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป ญี่ปุ่น หรืออินเดีย เพื่อลดความผันผวนและกระจายความเสี่ยง หมดห่วงว่าจะต้องทำการซื้อ-ขายเอง เพราะมี Goldman Sachs สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาคอยดูแล […]

ทำไมต้องทำประกันบำนาญ?

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติบอกบอกว่าปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและนั่นหมายความว่า จำนวนประชากรของคนสูงอายุมากขึ้นแต่คนวัยทำงานน้อยลง และคนวัยทำงานรุ่นใหม่แต่งงานและมีลูกน้อยลงด้วย ข้อมูลนี้ทำให้คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินมากขึ้นโดยเฉพาะการวางแผนเก็บเงินไว้ใช้ตอนแก่หรือตอนเกษียณเพราะการรอพึ่งพาเงินผู้สูงอาหารจากรัฐบาลกับเงินประกับสังคมอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ จึงเป็นที่มาของประกันแบบบำนนาญ ซึ่งประกันแบบบำนาญ ไม่ใช่แค่การทำเพื่อการเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณเท่านั่น แต่ยังใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย เนื่องจากรัฐบาลอยากส่งเสริมให้คนออมเงิน และเก็บเงินไ้ว้ใช้ตอนแก่ ประกันบำนาญเหมาะกับใครบ้าง? คนที่ต้องการออมเงินไว้ใช้ตอนหลังเกษียณ คนที่รับความเสี่ยงในการลงทุนได้น้อยกว่าการลงทุนอื่นๆ คนที่ต้องการแผนการออมเงินที่มีการการันตีเงินคืนชัดเจน คนที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ทำไมต้องเป็นประกันบำนาญ? บางคนอาจจะมีประกันสังคมหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใช้ไว้ใช้หลังเกษียณแต่เงินก้อนนั้นอาจจะไม่พอต่อการใช้จ่ายที่จะมากขึ้นในอนาคต การทำประกันบำนาญไว้จะเป็นอีกตัวเช่นหนึ่ง ที่จะมาซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายให้เรา ซึ่งประกันบำนาญสามารถเลือกรับเป็นรายปีก้อนเดียว หรือรับเป็ยรายเดือนทุกๆ เดือนก็ได้ มีรายได้หลายช่องทางยังดีกว่าข่องทางเดียวครับ ประกันแบบบำนาญ เอาไปลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 200,000 บาทหรือไม่เกิน 15% ของเงินได้ นอกจากจะเป็นการเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณแล้ว ยังได้ภาษีคืนอีกด้วยครับ ประกันแบบบำนาญให้ผลตอบแทนน้อยกว่าการลงทุนแบบอื่นๆ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3% แต่ก็การันตีผลตอบแทนที่แต่นอน และยังเห็นตัวเลขเงินบำนาญที่ได้รับชัดเจนในแต่ละปีตามตารางเรียนผลประโยชน์ ประกันแบบบำนาญมีความคุ้มครองชีวิตสูงหากเสียชีวิตก่อนรับบำนาญ ผู้รับประโยชน์ยังจะได้เงินก้อนจากความคุ้มครองไป หากเสียชีวิตหลังเริ่มรับบำนาญยังมีการกรันตีเงินบำนาญและความความคุ้มค่องที่จะได้รับ ควรทำประกันแบบแบบบำนาญไหม? นอกจากประกันบำนาญแล้วยังมีผลิตภัณฑ์การเงินอื่นๆที่ ช่วยในเรื่องวางแผนเกษียณและลดหย่อนภาษีเช่น กองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม RMF ซึ่งก็มีทั้งข้อดี ข้อด้อย ถ้าใครที่ต้องการวางแผนสำหรับหารออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณและลดหย่อนภาษี แบบการันตีแน่นอนประกันแบบบำนาญก็ เป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเพราะมีข้อดีหลายๆ อย่างที่ผมได้อธิบายไปด้านบน ทั้งนี้แล้วก็ต้องดูว่าแผนประกันนั้นตอบโจท์หรือไม่ ทั้งในเรื่องของระยะเวลาการจ่ายเบี้ย ภาษีที่ได้คืน ที่สำคัญต้องดูเป้าหมายของตัวเราเองด้วยแล้วค่อยเลือกผลิตภัณฑ์การเงินมาเป็นตัวช่วยวางแผน […]

สรุป 21 ข้อคิดที่ได้จากหนังสือ “อยากรวยต้องคิดแบบที่คนรวยคิดก่อนที่เขาจะรวย”

สรุป 21 ข้อคิดที่ได้จากหนังสือ “อยากรวยต้องคิดแบบที่คนรวยคิดก่อนที่เขาจะรวย” สิ่งที่กำหนดชีวิตเราและกีดขวางสิ่งที่เราสามารถมีได้หรือมีไม่ได้คือ ความคิดของเราเอง อย่ายอมให้โชคชะตามากำหนดชีวิตว่าเราควรมีหรือไม่ควรมีอะไร อยากรวยเริ่มจากลองเปลี่ยนวิธีคิดและความเชื่อ เพราะความคิดและความเชื่อจะเป็นตัวกำหนดการกระทำ ทำให้ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา หยุดจินตนาการและลงมือทำ ให้หาว่าความรวยหรือความฝันหรือเป้าหมายที่ต้องการจริงๆ คืออะไร และหาวิธีการหรือแผนการที่จะทำให้ความฝันนั้นเป็นจริง ไม่พอใจหรือพยายามยอมรับกับสิ่งที่มีอยู่ แต่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองให้ดีขึ้น ไม่ใช่การพยายามอยากได้อยากมีจนเกิดความทุกข์แต่เชื่อว่าตัวเองสามารถมีมากกว่าที่มีอยู่ตอนนี้  ไม่บ่น ไม่สนใจปัญหาและความลำบาก ไม่โทษคนหรือสิ่งสิ่งแวดล้อม ไม่ยอมรับกับโชคชะตา แต่พยายามหาวิธีเปลี่ยนแปลงตัวเอง เชื่อในกฏแรงดึงดูด เชื่อว่าถ้าเราคิดถึงสิ่งใด เราจะพยามยามและหาวิธีทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้นให้ได้และจะดึงดูดคนที่คิดเหมือนกันเข้ามา  ไม่คิดว่าความรวยหรือความโชคดีเกิดจากโชคช่วย แต่จะพยาบามทุกทำอย่างด้วยตัวเอง ไม่มีสิ่งใดได้มาง่ายๆ โดยเฉพาะเงินทอง ทุกอย่างล้วนต้องลำบากและมีอุปสรรค มองถึงเป้าหมายระยะไกลมากกว่าเป้าหมายระยะสั้น และทำงานอย่างมีเป้าหมาย มองลึกลงไปว่างานนั้นได้เรียนรู้อะไรบ้างและจะเอาไปต่อยอดอะไรในอนาคตได้บ้าง ทำงานด้วยความทุ่มเท ทำงานอย่างหนักและทำแบบฉลาดด้วย คือรู้ว่างานไหนหรือที่ไหนที่ทำและจะเติบโต ถ้าคิดว่าตัวเองมีความสามารถและมีคุณค่า แต่ที่ทำงานนั้นไม่มีโอกาสให้ได้เติบโตก็ไปหางานใหม่ที่เหมาะสมดีกว่า พัฒนาตัวเองให้คู่ควรกับเงินและงานที่ควรได้รับ ไม่นั้งรอโชคหรือโอกาสที่คนอื่นจะมอบให้แบบเริ่มจากการขวนขวายด้วยตัวเอง ไม่กลัวความผิดพลาด ไม่กลัวความล้มเหลว แต่กล้าที่จะลองทำ  ไม่เชื่อเรื่องความมั่นคงในชีวิตว่ามีอยู่จริง ไม่ว่าจะเป็นงานที่มั่นคง สถานะการเงินที่มั่นคง เพราะทุกอย่างล้วนเปลี่ยนแปลงได้ วันนึงงานที่ทำอาจจะไม่ได้ทำเป็นที่ต้องการของตลาดหรือเงินที่มีอยู่หากใช้ไปเรื่อยๆ ก็อาจจะหมดได้ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างและมองความโอกาสต่างๆที่จะช่วยเหลือคนอื่น และขอความช่วยเหลือจากคนอื่นเมื่อจำเป็น ยิ่งเริ่มทำสิ่งที่ต้องการตอนอายุน้อย หรือยังไม่มีภาระทางครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ มีโอกาสมากกว่า เพราะถ้าทำแล้วผิดพลาด […]

1 6 7 8 9 10 59